กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมของชุมชนในการควบคุมโรคติดต่อ เทศบาลตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมของชุมชนในการควบคุมโรคติดต่อ เทศบาลตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

กองสาธารณสุขเทศบาลตำบลบางปูร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางปู

ในเขตเทศบาลตำบลบางปูอำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปเพิ่มจำนวนในร่างกาย อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเป็นจากตัวเชื้อโรคเอง หรือพิษที่เชื้อโรคนั้นปล่อยออกมา เชื้อโรคจะติดต่อถ่ายทอดจากผู้ป่วยโดยตรงหรือโดยอ้อมไปสู่คนปกติ บางครั้งเรียกว่า โรคติดเชื้อแทนคำว่า โรคติดต่อ สำหรับในเขตร้อน อากาศอบอุ่นจนถึงร้อนจัดตลอดปี และมีฝนตกชุก มีความชื้นสูง เป็นผลให้เชื้อโรคต่างๆ ชุกชุม เมื่อมีการติดต่อถ่ายทอดไปยังผู้อื่น ก็จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคมากขึ้น จึงจะต้องมีมาตรการควบคุมที่เคร่งครัด ชัดเจน และมีมาตรฐาน ในแต่ละปีรัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาเกี่ยวกับโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ไข้หวัดนก โรคซาร์ส โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอื่นที่อุบัติใหม่ ฯลฯ เป็นต้น ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขถึงฉบับที่ 13 พ.ศ.2552มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้
(4) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง
(19) การสาธารณสุขการอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
ดังนั้น เพื่อให้การป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังโรคระบาดประจำท้องถิ่น ได้แก่ โรคไข้เลือดออก,โรคไข้หวัดนก , โรคซาร์ส , โรคไข้หวัดใหญ่ , โรคมือเท้าปาก และโรคติดต่ออื่นๆ ในพื้นที่ตำบลบางปูเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ เทศบาลตำบลบางปูร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางปู ได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมของชุมชนในการควบคุมโรคติดต่อ เทศบาลตำบลบางปูอำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานีปี 2566
เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนได้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง เป็นการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดต่อ ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุม และเฝ้าระวังโรคติดต่อในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำชุมชนมีความรู้และความเข้าใจในการควบคุมโรคติดต่อ

แกนนำชุมชนมีความรู้และความเข้าใจในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อเพิ่มทักษะในการควบคุมโรคติดต่อในชุมชน

ชุมชนสามารถควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญในพื้นที่ได้รวดเร็วไม่เกิดการระบาด ร้อยละ80

0.00
3 เพื่อสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน

 

0.00
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (ในการควบคุมป้องกัน โรคระดับตำบล) (SRRT)

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 164
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ ๑ อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมในการควบคุมโรคติดต่อ และฝึกปฏิบัติงานในพื้นที่และแกนนำสร้างสุขภาพ (อสม.) จำนวน 80 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๑ อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมในการควบคุมโรคติดต่อ และฝึกปฏิบัติงานในพื้นที่และแกนนำสร้างสุขภาพ (อสม.) จำนวน 80 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรมและทีมงานวิทยากร 80 คน X 50 บาท x 2 มื้อ    เป็นเงิน  8,000  บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  80  คน ๆ ละ 25  บาท  X  4  มื้อ         เป็นเงิน  8,000  บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร                                       เป็นเงิน  6,000  บาท
    • ค่าวัสดุในการจัดอบรม                                    เป็นเงิน  2,500  บาท
    • ค่าป้ายไวนิล                                    เป็นเงิน  450     บาท รวมเป็นเงิน  24,950 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24950.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ ๒ อบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้และพัฒนาทักษะในการควบคุมโรคติดต่อ แก่ นักเรียนโรงเรียนมุสลิมพัฒนศาสตร์ จำนวน 164 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๒ อบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้และพัฒนาทักษะในการควบคุมโรคติดต่อ แก่ นักเรียนโรงเรียนมุสลิมพัฒนศาสตร์ จำนวน 164 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม164 คน ๆ ละ๒๕ บาทX๒มื้อเป็นเงิน8,200บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 164คน X 50 บาท x ๑ มื้อเป็นเงิน8,200บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากรเป็นเงิน3,000 บาท
    • ค่าวัสดุในการจัดอบรมเป็นเงิน2,500บาท รวมเป็นเงิน21,900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.แกนนำชุมชนมีความรู้และความเข้าใจในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ
2.ชุมชนสามารถควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญในพื้นที่ได้รวดเร็วไม่เกิดการระบาด
3.ชุมชนมีเครือข่ายในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อชุมชนละ 1 เครือข่าย


>