กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหว้า ด้านการจัดการสุขภาพชุมชนแบบองค์รวม

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหว้า ด้านการจัดการสุขภาพชุมชนแบบองค์รวม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านหนองหว้า

นายวิชัยกังเจริญกุล
นางนิตยาดิเส็ม
นายสุธนเกตุดำ
นายเรวัฒน์เส็นหละ

ตำบลทุ่งยาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบล (รพ.สต.) มีแนวคิดมุ่งเน้นการบริการสาธารณสุขแบบผสมผสานเชิงรุกในระดับบุคคล ครอบครัวชุมชน และสังคม และให้บริการอย่างต่อเนื่อง ค้นหาปัญหา เสนอแนะให้คำปรึกษาและส่งต่อผู้ป่วยได้ตลอดเวลา มีความเชื่อมโยงและมีส่วนร่วมอย่างเข็มแข็งในการบริการสุขภาพของประชาชนชุมชนและท้องถิ่น โดยมีชุมชนเป็นโรงพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านคือเตียง โดยมีทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและภาคีเครือข่ายสุขภาพเป็นพี่เลี้ยง และมีนโยบายส่งเสริมสุขภาพระดับอำเภอ ( DHS;District Health System ) โดยมีแนวคิดระบบสุขภาพอำเภอต้องการให้เกิดการรับรู้และร่วมสร้างสุขภาพที่ดีของประชาชนในอำเภอ โดยมีกลไกทีมหมอครอบครัวทั่วไทย คนไทยแข็งแรง ทุกครัวเรือนมีแพทย์ที่ปรึกษา หมอครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุข จิตอาสา มีบทบาทให้บริการสุขภาพ ร่วมรับรู้และทำงานด้วยกัน เพื่อตอบสนองต่อสภาวะสุขภาพของประชาชน และสภาวะที่เปลี่ยนแปลงของชุมชนตลอดเวลา การบริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายให้สอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ ลดการส่งต่อโรงพยาบาล ส่งผลให้ประชาชน และชุมชนพึ่งตนเองมีขีดความสามารถในการจัดการปัญหาและภัยสุขภาพของชุมชนให้ลดลงได้ ดังคำกล่าวที่ว่า “ มีญาติเป็นหมอ มีอสมเป็นเพื่อน ” เป้าหมายหลัก มี 2 ประการคือการส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็นอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม ( Essentail Care ) และการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้โดยลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค ( Self Care ) โดยมีกลไกการดำเนินงานคือทีมหมอครอบครัว อสม ( Family Care Team )
ปัจจุบันพบว่าการพึ่งตนเองด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชนลดลง การเพิ่มศักยภาพของหมอครอบครัว เพื่อเข้าไปจัดการดูแลสุขภาพเชิงรุกให้กับบุคคลครอบครัว ชุมชนและสังคม รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาสุขภาพการแก้ไขปัญหาในชุมชน เพื่อความรู้ด้านสุขภาพแก่ครัวเรือนสามารถช่วยเหลือตนเองเบื้องต้น รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพการควบคุมป้องกันโรคการรักษาพยาบาลเบื้องต้นการคุมครองผู้บริโภค และการฟื้นฟูสภาพตลอดจนพัฒนาบ้านอสม.ให้เป็นต้มแบบ เพื่อปรังเปลี่ยนพฤติกรรม ให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่
ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหว้า เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพทีมหมอครอบครัวอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จึงได้จัดทำโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหว้า ด้านการจัดการสุขภาพชุมชนแบบองค์รวมขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำหน้าที่ในบทบาททีมหมอครอบครัว โดยใช้รูปแบบในการดูแลกลุ่มเป้าหมายที่จำเป็นต้องดูแล และจัดบริการ เพื่อให้การบริการมีขีดความสามารถและครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขด้านการจัดการสุขภาพชุมชนแบบองค์รวม ให้มีความเชี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขมีศักยภาพในการจัดการสุขภาพชุมชนแบบองค์รวม   ให้มีความเชี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชน

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง กลุ่มผู้พิการ ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง กลุ่มผู้พิการ ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการอบรมพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขด้านการดูแลสุขภาพชุมชนแบบองค์รวม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการอบรมพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขด้านการดูแลสุขภาพชุมชนแบบองค์รวม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม จำนวน 60 คนๆละ 70บาทจำนวน 1 มื้อต่อวันเป็นเงิน 12,600.-บาท

2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 30 บาทจำนวน 2 มื้อ 3 วัน เป็นเงิน 10,800.-บาท

3.ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท 3 วัน 7,200.-บาท เป็นเงิน 10,800.-บาท

4.ค่าจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.2 x 2.5 เมตรเป็นเงิน 450.- บาท

5.ค่าวัสดุการจัดกิจกรรมโครงการ แฟ้มเก็บแบบบันทึกสุขภาพ จำนวน 60 แฟ้มๆละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท สมุดบันทึกการประชุม จำนวน 60 เล่มๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท กระดาษ A4 จำนวน 1 ดรีมๆละ 150 บาท เป็นเงิน 150บาท ปากกาเคมี จำนวน 2 ด้ามๆละ 25 บาท เป็นเงิน50 บาท

6.ค่าจัดทำเอกสารการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน 60 เล่มๆละ 100 บาท เป็นเงิน 6,000.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,150.00 บาท

หมายเหตุ :
จัดอบรม 3 ครั้ง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขมีศักยภาพในการจัดการสุขภาพชุมชนแบบองค์รวม
ให้มีความเชี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชน
2.กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง กลุ่มผู้พิการ ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่อง


>