กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ย่านซื่อ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนตำบลย่านซื่อ ในปีงบประมาณ2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ย่านซื่อ

ชมรมเยาวชนรักษ์เขาน้อย

1. นายฮากีมสลีมิน ประธานชมรม
2. นายไฟชอล สาดอาหลี รองประธาน
3. นายนัสรีย์สลีหมีน กรรมการ
4. นางสาวนัสรีนสาดอาหลี กรรมการ
5. นางสาวนุชญาณาบากาโชติ กรรมการ

บ้านเขาน้อยเหนือตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดนจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

 

70.00

ยาสูบเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญลำดับต้นของปัญหาสุขภาพของโลกในปัจจุบันเป็นเหตุให้คนตายทั่วโลกปีละ 6 ล้านคนและทำให้เกิดการตายสูงเป็นอันดับที่ 2 รองจากความดันโลหิตสูงทำให้เกิดภาระโรคเป็นอันดับ 4 รองจากเด็กน้ำหนักต่ำกว่ารับในประเทศไทยทำให้เกิดภาระโรคสูงเป็นอันดับ 2 รองจากปัจจัยเสี่ยงจากการดื่มแอลกอฮอล์มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจาก 45,136 คนต่อปี (2004) เป็น 50,710 คนต่อปี ( 2009) จากโรคที่เนื่องมาจากการสูบบุหรี่เช่นและ สามารถลด ละเลิก บุหรี่ต่อไป สถานการณ์การบริโภคยาสูบของประชากรไทยในปี พ.ศ. 2552-2557 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติอัตราสูบบุหรี่มีแนวโน้มลดลงในช่วง 10 ปีแต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี พ.ศ.2554 และกลับลดลงอีกในปี พ.ศ.2556 แล้วมาเพิ่มขึ้นอีกในปี พ.ศ.2557โดยอัตราการสูบบุหรี่ภาพรวม ในปี พ.ศ. 2550,2552, 2554, 2556, 2557 คือร้อยละ 21.2,20.7, 21.4, 19.9,และ 20.7 จำนวนผู้ที่สูบบุหรี่ ปีพ.ศ. 2550, 2552, 2554, 2556 และ 2557 คือ 10.8, 10.9, 11.5, 10.8 และ 11.4 ล้านคนผู้สูบบุหรี่มวนเองลดลงจาก 5.3 ล้านคนเหลือไม่ถึง 4 ล้านคนแต่สูบบุหรี่ซองเพิ่มจาก 6.1 เป็น 6.5 ล้านคน)ส่วนอัตราและจำนวนผู้สูบเยาวชน (15-24 ปี)ในปี 2552, 2554, 2556, 2557คือร้อยละ 15.2,16.6,15.07และ 14.7 (1.67, 1.70, 1.44 และ 1.41 ล้านคน)ในปี 2557 อัตราการสูบบุหรี่ของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 18.4 เท่า (ร้อยละ40.5 และ 2.2 ตามลำดับในขณะที่จังหวัดสตูล อัตราการสูบบุหรี่ในประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปในปี พ.ศ. 2550, 2554และ 2557ร้อยละ23.32, 24.01 และ 23.2 ส่วนในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-18 ปีในปี พ.ศ. 2550 และ 2554 ร้อยละ 10.07 และ 9.09 ตามลำดับซึ่งอัตราการสูบบุหรี่ในภาพรวมในเขตสุขภาพที่ 12 ของตำบลย่านซื่อ และบ้านเขาน้อย อัตราการสูบบุหรี่ทั้งในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป และในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-18 ปี ยังสูงกว่าในระดับประเทศ เมื่อพิจารณาสถานที่สาธารณะที่พบเห็นการสูบบุหรี่ในตำบลย่านซื่อ ศาสนสถาน ร้อยละ 72.9 สนามกีฬาหมู่บ้าน ร้อยละ 34.9 ถนนสาธารณะร้อยละ 21.8 และร้านน้ำชายามเช้า นอกจากนั้น จากการวิเคราะห์ระบบรายงานระบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด (บสต.1-5)ของจังหวัดสตูล พบว่า การสูบบุหรี่เป็นจุดเริ่มต้นของการนำไปสู่การเสพย์ยาเสพติดประเภทอื่นๆจากสภาพปัญหาดังกล่าวในปี 2559สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูลได้ประกาศเป็นนโยบายของจังหวัดในการขับเคลื่อนจังหวัดสตูลปลอดบุหรี่โดยขอความร่วมมือในการขับเคลื่อนจังหวัดปลอดบุหรี่ระหว่างหน่วยงานระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ซึ่งในระยะแรกกำหนดให้ชุมชนต้นแบบปลอดบุหรี่อำเภอละ 1 ชุมชน ศาสนสถาน (วัด มัสยิดและสถาบันศึกษาปอเนาะ) ต้นแบบปลอดบุหรี่ประเภทละ 1 แห่ง/อำเภอสถานศึกษาต้นแบบปลอดบุหรี่อำเภอละ 1 แห่ง สถานที่ราชการต้นแบบปลอดบุหรี่ อำเภอละ 1 แห่ง บุคคลต้นแบบตำบลละ 1 คน นอกจากการสร้างสิ่งแวดล้อมสถานที่สาธารณะปลอดบุหรี่ตามกฎหมายแล้วยังมีการบริการช่วยเลิกบุหรี่ โดยให้โรงพยาบาลทุกแห่งเปิดบริการคลินิกเลิกบุหรี่ (คลินิกฟ้าใส) เพื่อรองรับผู้ที่ต้องการลด ละ เลิกบุหรี่ ชมรมเยาวชนรักษ์เขาน้อย ม.3 ต.ย่านซื่อ ได้เล็งเห็นความสำคัญถึงโทษ พิษภัยของบุหรี่ที่ผลกระทบต่อตนเองและคนรอบข้าง ได้จัดทำโครงการโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนและสร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่ในที่สาธารณะ เพื่อให้สัปบุรุษมัสยิดดารุลนาอีม และประชาชนในชุมชนบ้านเขาน้อย มีความรู้ โทษ พิษภัยของบุหรี่ และ สามารถลด ละเลิก บุหรี่และมัสยิดดารุลนาอีม และพื้นที่สาธารณในชุมชนเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

70.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 28/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม อบรมสัมมนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมสัมมนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม อบรมสัมมนา ลด ละ เลิก และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ กิจกรรม รณรงค์และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ กิจกรรม สร้างกติการ่วมกับผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา กลุ่มเยาวชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกิดผู้นำต้นแบบ จำนวน 2๐ คน
  2. กลุ่มเสี่ยงจำนวน 60 คนได้รับการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>