กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 ปี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านหนองหว้า

นายวิชัยกังเจริญกุล
นางนิตยา ดิเส็ม
นายสุธน เกตุดำ
นางสาวสุภาวดี ผดุงกีรติยศ

ตำบลทุ่งยาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม การเลี้ยงดูที่เหมาะสมและมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน พัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย การสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กแรกเกิด – 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ ๓๐ หรือประมาณ ๔ ล้านคน จากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็กแรกเกิด– 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหว้า พบเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ ๓๓ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองเด็กแรกเกิด – 5 ปี ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมิน ส่งเสริม และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ ในการนี้ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหว้า ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปีขึ้นโดย บูรณาการร่วมกับชุมชนด้วยการพัฒนาศักยภาพให้แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กช่วยเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุเพื่อช่วยค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติด้านต่างๆ เร็วขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กแรกเกิด – 5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย โดยบูรณาการร่วมกับชุมชน

เด็กแรกเกิด – ๕ ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ

0.00
2 เพื่อให้เด็กแรกเกิด – 5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม

เด็กแรกเกิด – ๕ ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม

0.00
3 เพื่อให้เด็กแรกเกิด – 5 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการส่งต่อรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติ

เด็กแรกเกิด – ๕ ปี ที่ทีพัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย

0.00
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขและคุณครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับทักษะการตรวจพัฒนาการและการส่งเสริมพัฒนาการ เด็กแรกเกิด – 5 ปี

แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและคุณครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับทักษะการตรวจพัฒนาการและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแกนนำ 50 คนๆละ 2 มื้อ มื้อละ 30 บาท    เป็นเงิน 3,000  บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 คนๆละ 70 บาท                  เป็นเงิน 3,500  บาท
  • ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการ 1 ป้าย ขนาด 1 x 3 เมตร ป้ายละ 450 บาท    เป็นเงิน   450   บาท
  • ค่าจัดทำคู่มือในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก จำนวน 5๐ ชุด x 3๐ บาท เป็นเงิน    1,500  บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท        เป็นเงิน 1,800  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10250.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจพัฒนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจพัฒนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าชุดประเมินพัฒนาการDSPMเด็กแรกเกิด – 5 ปี ชุดละ 3,000 บาท      เป็นเงิน 3,000    บาท
  • ค่าโต๊ะตรวจพัฒนาการสกรีนDSPMขนาด 60 x 60 x 33 ซม. จำนวน 1 ตัว     เป็นเงิน 1,490    บาท
  • ค่าเสื่อรองคลานเพื่อใช้ในการประเมินพัฒนาการขนาด 6 ฟุตจำนวน 1 ผืน  เป็นเงิน  200  บาท
  • ค่าของเล่นส่งเสริมพัฒนาการ ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 30 ชิ้น x 150 บาท     เป็นเงิน 4,500  บาท
  • ค่าหนังสือนิทานส่งเสริมพัฒนาการ ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 30 ชิ้น x 50 บาท     เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10690.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,940.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- เด็กแรกเกิด – ๕ ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ
- เด็กแรกเกิด – ๕ ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม
- เด็กแรกเกิด – ๕ ปี ที่ทีพัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย
- แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและคุณครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับทักษะการตรวจพัฒนาการและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก


>