กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงเพื่อประชาชน สุขภาพกายดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

ชมรมอสม.รพ.สต.บ้านหนองหว้า

นายวิชัยกังเจริญกุล
นางนิตยา ดิเส็ม
นายสุธน เกตุดำ
นางสาวกุสุมาแข็งแรง

ตำบลทุ่งยาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันนี้ แม้การแพทย์จะสามารถเอาชนะโรคร้ายต่างๆมากมาย ทำให้ประชากรโลกรอดพ้นจากการเจ็บป่วยและมีอายุยืนยาวขึ้น แต่จำนวนคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมัน โรคหัวใจและหลอดเลือด กลับมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจัยสำคัญที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังเหล่านี้คือพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของบุคคลขาดความสมดุล เช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารรสหวานจัดและเค็มจัด ไม่รับประทานผัก ผลไม้ ไม่ออกกำลังกาย การใช้ชีวิตที่สะดวกสบายเกินไป และการใช้สารเสพติด เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการระบุว่าความเครียดในชีวิต ยังเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังได้ คนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังคือ ผู้มีภาวะอ้วน ผู้มีคลอเรสเตอรอลสูง ผู้มีอายุเกิน ๓๕ ปี ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย และผู้ที่มีภาวะความเครียดสูง (พนิดา วสุธาพิทักษ์,๒๕๕๕)
จากข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหว้า ปี ๒๕๖๕ ในประชากร ๓๕ ปี ขึ้นไป จำนวน ๑,๒๔๒ คน พบว่ามีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน ๑๖๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๖o กลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน ๕ คน คิดเป็นร้อยละ o.๔o มีภาวะเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง จำนวน ๗o คน คิดเป็นร้อยละ ๕.๖๓ กลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน ๒๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๘.o๕
จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหว้า จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เพื่อประชาชน
สุขภาพกายดี กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจในแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจในแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๐

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อชะลอภาวะการเกิดโรค

กลุ่มเสี่ยงเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อชะลอภาวะการเกิดโรค

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่อง 3อ 2ส

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่อง 3อ 2ส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 วันๆ ละ 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน3,600บาท

2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 คนๆ ละ 2 มื้อๆละ 30 บาทเป็นเงิน3,000 บาท

3.ค่าอาหารกลางวันในการจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500บาท

4.ค่าไวนิลโครงการ 1ป้ายขนาด 1 × 3 เมตรป้ายละ 450บาท เป็นเงิน450บาท

5.ค่าจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต สำหรับ อสม. ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน จำนวน 3 เครื่อง
ราคาเครื่องละ 2,500 บาท เป็นเงิน7,500บาท

6.ค่าจัดซื้อเครื่องเจาะน้ำตาลในเลือดสำหรับ อสม.ติดตามเจาะระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้าน จำนวน 3 เครื่อง ราคาเครื่องละ 1,500 บาท เป็นเงิน 4,500บาท

7.ค่าจัดทำสมุดบันทึกพฤติกรรมสุขภาพจำนวน 50 ชุดๆละ 40 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

8.ค่าวัสดุโครงการ
- กระดาษเขียนแบบ จำนวน 30 แผ่น แผ่นละ 4 บาทเป็นเงิน 120 บาท

  • ปากกาเคมี 2 หัว สีน้ำเงิน 5 ด้าม สีแดง 5 ด้าม ด้ามละ 20 บาทเป็นเงิน200 บาท

  • แฟ้มซองกระดุม จำนวน 50 ซอง ซองละ 25 บาทเป็นเงิน 1,250 บาท

  • กระดาษA4 จำนวน 2 รีม รีมละ 150 บาทเป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26420.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,420.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ มีทักษะที่เหมาสม และเป็นแบบอย่างในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนในการป้องกันและควบคุมไม่ให้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง และโรคอ้วนลงพุงได้


>