กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลศรีสาคร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการบุหรี่ สุรา ภัยร้ายใกล้ตัว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลศรีสาคร

โรงพยาบาลศรีสาคร

ห้องประชุมโรงพยาบาลศรีสาคร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน

 

5.00
2 ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

 

10.00

ปัจจุบันประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือโรควิถีชีวิต ได้แก่ โรคเบาหวาน
ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพและสถานการณ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จากพฤติกรรมดังกล่าว ส่งผลก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ การสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จากการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. ๒๕๕๔ พบว่า ประชากรไทยอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปจำนวน ๕๓.๙ ล้านคน มีอัตราการสูบบุหรี่ร้อยละ ๒๑.๔ โดยเป็นผู้ที่สูบเป็นประจำร้อยละ ๑๘.๔ สูบนานๆ ครั้งร้อยละ ๒.๙ ผู้ชายสูบมากกว่าผู้หญิง ๒๐ เท่า สำหรับพฤติกรรมการดื่มสุราในรอบ ๑๒ เดือน ก่อนวันสัมภาษณ์ของประชากรอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปพบผู้ดื่มสุราร้อยละ ๓๑.๕ โดยผู้ชายมีอัตราการดื่มสูงกว่าผู้หญิงประมาณ ๕ เท่า การดำเนินงานเชิงรุก ได้แก่ การเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุม ลดปัญหาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมุ่งเน้นกระตุ้น เตือนให้นักเรียนแลเยาวชน ตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนำไปสู่สุขภาพดี และสนับสนุนให้นักเรียนและเยาวชนเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ มีความรู้ ความเข้าใจ มีการตัดสินใจที่ดี รวมถึงการจัดการตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังพบเด็กอายุต่ำกว่า15ปีในพื้นที่ใช้บุหรี่ สุรา ซึ่งเป็นต้นเหตุของการใช้ยาเสพติดประเภทอื่นๆต่อไป
ดังนั้น กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด ( คลินิกบุหรี่สุรา ) โรงพยาบาลศรีสาคร จึงได้จัดทำ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการบุหรี่ สุรา ภัยร้ายใกล้ตัวเทศบาลตำบลศรีสาครประจำปี ๒๕๖6 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาของเทศบาลตำบล
ศรีสาครโดยส่งเสริมให้นักเรียนและเยาวชน ตระหนักถึงความสำคัญ เรื่องบุหรี่ และสุราป้องกันนักสูบ และนักดื่มหน้าใหม่ ที่จะส่งผลกระทบต่อตนเอง ผู้อื่น สังคมและประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน

ร้อยละการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน

5.00 5.00
2 เพื่อลดการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

10.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 130
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะสามารถดูแลสุขภาพหลีกเลี่ยงป้องกันภัยจากบุหรี่และสุราได้
2.ผู้เข้าอบรม มีความตระหนักสนใจและมีส่วนร่วม ในการควบคุมการบริโภคยาสูบและสุรา ร่วมรณรงค์เพื่อการลด/ละ/เลิกการ
สูบบุหรี่และสุรา
3. มีแกนนำในการขับเคลื่อนการดำเนินงานปลอดบุหรี่และสุราในโรงเรียนเขตเทศบาลตำบลศรีสาคร


>