กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเสริมพลังผู้ป่วยเบาหวานเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองตะลุบัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมพลังผู้ป่วยเบาหวานเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองตะลุบัน

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี

นางคอลีเยาะ เจะแว

เทศบาลเมืองตะลุบัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคเรื้อรังถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะโรคเบาหวานที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทั้งในประชากรทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ข้อมูลล่าสุดจากการสำรวจสุขภาพคนไทย พบความชุกของโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.9 หรือมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานประมาณ 5 ล้านคน โดยที่การควบคุมหรือป้องกันของโรคเบาหวานหรือการรักษาของผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถทำได้เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากการขาดความร่วมมือ การปฏิเสธการตรวจติดตาม การรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า หลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจตามมา
จากการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของอำเภอสายบุรีพบว่า ปี 2565 มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน 2,813 คน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ 16.03 และในตำบลตะลุบันมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 651 คน ผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระกับน้ำตาลในเลือดได้(HbA1C < 7) จำนวน 118 คน คิดเป็นร้อยละ 18.12 ปัญหาส่วนใหญ่จากการควบคุมโรคได้ไม่ดี เกิดจากผู้ป่วยเบาหวานมีระยะเวลาในการเจ็บป่วยมากกว่า 10 ปี มีภาวะแทรกซ้อนทางไตและหลอดเลือด ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพตนเอง พบว่ารู้สึกกลัวไม่กล้าเจาะน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเอง ทั้งยังมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ครอบครัว ไม่มีเครื่องตรวจน้ำตาลปลายนิ้วเนื่องจากมีราคาค่อนข้างสูง จึงทำให้ไม่สามารถตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อสังเกตอาการของตนเองว่าเป็นภาวะน้ำตาลสูงหรือน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ในแต่ละวันโดยปกติจะมีพยาบาลประจำครอบครัวลงเยี่ยมบ้าน เจาะติดตามให้ทุกเดือน
ดังนั้นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรีเล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน ให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความสามารถในการจัดการตนเองและควบคุมระดับน้ำตาลได้ด้วยตนเอง รวมถึงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงได้จัดทำโครงการเสริมพลังผู้ป่วยเบาหวานเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. มีความเชื่อในความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการควบคุมโรคเบาหวานได้อย่างถูกต้อง 2. มีพฤติกรรมการดูแลตนเองในเรื่องการรับประทาน อาหาร การมีกิจกรรมทางกาย การจัดการความเครียด การรับประทานยยาหรือฉีดยา การดูแลและเฝ้าระวัง ภาวะแทรกซ้อน (เท้า/น้ำตาลในเลือดต่ำ) ได้อย่าง เหมาะสม 3. มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงหลังจากการเข้าร่วม โครงการครบ 4 เดือน (ในรายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เกินเกณฑ์) 4. มีความพึ่งพอใจในการเข้าร่วมโครงการในระดับมาก ขึ้นไป

1.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความเชื่อความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการควบคุมโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น 2.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการดูแลตนเองในเรื่องการรับประทานอาหาร การมีกิจกรรมทางกาย การจัดการความเครียด รับประทานยาหรือฉีดยา ดูแลและเผ้าระวังภาวะแทรกซ้อน (เท้า/น้ำตาลในเลือดต่ำ) ได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น 3.ร้อยละ 80 ขอผู้เข้าร่วมโครงการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์ มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงกลังจากเข้าร่วมโครงการครบ 4 เดือน 4.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในกิจกรรมของโครงการระดับมากขึ้นไป

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/05/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเพื่อชี้แจงโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเพื่อชี้แจงโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ประชุมเพื่อชี้แจงโครงการและติดตามผลการดำเนินงานแก่กลุ่มเป้าหมายและผู้ดูแลหลัก
งบประมาณ
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ x 70 คน x 25 บาท x 3 ครั้ง  เป็นเงิน 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 2 จัดโปรแกรมการดูแล โดยให้กลุ่มเป้าหมายมีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเองที่บ้าน (SMBG)

ชื่อกิจกรรม
จัดโปรแกรมการดูแล โดยให้กลุ่มเป้าหมายมีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเองที่บ้าน (SMBG)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2 จัดโปรแกรมการดูแล โดยให้กลุ่มเป้าหมายมีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเองที่บ้าน (SMBG)
งบประมาณ ค่าแผ่นตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน  6,000 แผ่นๆละ 7 บาท เป็นเงิน  42,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
42000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการควบคุมโรคเบาหวานได้อย่างถูกต้อง
2 ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ


>