กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ(ต่ำกว่าเกณฑ์)ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ประจำปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ(ต่ำกว่าเกณฑ์)ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

โรงเรียนดารุลรอห์มาฮ์

1. นายมามัด อับดุลวาริษ
2. นางสาวนีลวาณีย์ บินมะ
3. นางสาวอัสมะห์ สะแปอิง
4. นางสาวนัสริน มะแซ
5. นางสาวนูรอีซะห์ วาย

โรงเรียนดารุลรอห์มาฮ์ หมู่7 ตำบลสากอ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ระบุความหมายของการจัดการศึกษาว่าต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ดังนั้นการดูแลสุขภาพของเด็กในวัยเรียน จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่โรงเรียนต้องดำเนินการทั้งในแง่การให้ความรู้ การฝึกปฏิบัติ การเสริมสร้างและการแก้ปัญหาด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับผู้เรียน จากการประเมินภาวะการเจริญเติบโตของนักเรียน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ผลปรากฏว่านักเรียนมีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน 60 คน ภาวะทุพโภชนาการเป็นปัญหาที่มักก่อให้เกิดโรคภัยต่างๆมากมาย จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของนักเรียน
โรงเรียนเล็งเห็นถึงความสำคัญด้านโภชนาการสำหรับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย มีสุขภาพอนามัยที่สมบรูณ์ แข็งแรง โรงเรียนดารุลรอห์มาฮ์ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 7 - 12 ปี 2. เพื่อให้นักเรียนมีความตระหนักถึงผลกระทบจากปัญหาภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์และเกินเกณฑ์ 3 เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วน 2.4 เพื่อให้นักเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามวัย
  1. นักเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามวัย
1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/06/2023

กำหนดเสร็จ 25/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้วยกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้วยกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โดยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเสริมสร้างทักษะการออกกำลังกายที่ถูกวิธีคือนักเรียนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องสำหรับการลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนที่มีน้าหนักต่อส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอม) (ผอมหมายถึงนักเรียนที่มีน้าหนักต่อส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานน้อยกว่าหรือเท่ากับ -2S.D.)

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มิถุนายน 2566 ถึง 9 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเพิ่มอาหารเช้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเพิ่มอาหารเช้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นตอนดำเนินการ
1. จัดอาหารเช้าให้นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์
จำนวน 60 คน คนละ 15 บาทเป็นเวลา 70 วันรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 63,000 บาท • วันจันทร์ : ข้าวต้มไก่ 1 ถ้วย, ไข่ 1 ฟอง, นมสด 1 กล่อง • วันอังคาร แซนวิช 1 ชิ้น, นมสด 1 กล่อง, กล้วย 1 ผล • วันพุธ : ข้าวมันไก่ 1 ห่อ, นมสด 1 กล่อง • วันพฤหัส : ขนมจีบ 1 กล่อง, นมสด 1 กล่อง • วันศุกร์ : ข้าวหมกไก่ 1 ห่อ, นมสด 1 กล่อง, ส้ม 1 ผล 2. ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงนักเรียนก่อนเข้าร่วมโครงการและเสร็จสิ้นโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มิถุนายน 2566 ถึง 25 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
63000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 66,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 7 - 12 ปีร้อยละ 100
2. นักเรียนมีความตระหนักถึงผลกระทบจากปัญหาภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์และเกินเกณฑ์
ร้อยละ 100
3. นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วนและเพียงพอ ร้อยละ 100
4. นักเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามวัยร้อยละ 95


>