กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการฝากครรภ์คุณภาพเพื่อมารดาและทารกสุขภาพดี ครอบครัวสุขภาพตำบลปะโด ปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะโด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝากครรภ์คุณภาพเพื่อมารดาและทารกสุขภาพดี ครอบครัวสุขภาพตำบลปะโด ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะโด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะโด

ณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะโด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงต่อเนื่องถึงการให้การดูแลเด็กในช่วงปฐมวัย ซึ่งเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ ควรให้การเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัยทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์สังคม และสติปัญญาการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พัฒนาชุมชนและสังคมให้สนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากการวิเคราะห์สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะโด
จากข้อมูลแสดงถึงสภาพปัญหาของงานอนามัยแม่และเด็กในปี 2565 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะโด พบว่าหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 98 คน มีภาวะเสี่ยงในการตั้งครรภ์ ภาวะซีดจำนวน42รายคิดเป็นร้อยละ 42.85ซึ่งเกณฑ์ต้องไม่เกินร้อยละ 10มาฝากครรภ์ก่อน 3 เดือน จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 69.38 ซึ่งเกณฑ์ต้องเกินร้อยละ 90 และหญิงหลังคลอด จำนวน 92 คน คลอดทารกน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.17 มาฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง จำนวน 85 คนคิดเป็นร้อยละ 92.39 สาเหตุเกิดจากการที่ขณะตั้งครรภ์มารดามีน้ำหนักตัวตลอดการตั้งครรภ์ต่ำกว่าเกณฑ์ แนวทางการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวคือต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพและเสริมทักษะการดูแลหลังคลอด และทารกควรได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย6 เดือน ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ตอบสนองความต้องการของเด็กทุกด้านตามวัย การมีส่วนร่วมของชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง งานอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะโด ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพจึงได้จัดทำ “โครงการฝากครรภ์คุณภาพเพื่อมารดาและทารกสุขภาพดีครอบครัวสุขภาพตำบลปะโด ปี 2566” ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลตนเองในช่วง 3 เดือนแรก
2.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และการดูแลตนเองหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง
3.เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้กับหญิงตั้งครรภ์เพื่อการเตรียมตัวเป็นคุณแม่ที่ดีในอนาคต
4.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองและลูกน้อยในครรภ์ตลอดจนการดูแลตนเองหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง
5. เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของหญิงขณะตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอด

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์/สามี ในเรื่องความพร้อมของหญิงตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรกและหลังคลอด

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์/สามี ในเรื่องความพร้อมของหญิงตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรกและหลังคลอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์/สามี ในเรื่องความพร้อมของหญิงตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรกและหลังคลอด จำนวน 100 คน
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาทต่อ 1 มื้อต่อวัน จำนวน 100 คน  เป็นเงิน  6,000 บาท - ค่าอาหารว่าง 30 บาทต่อมื้อ 2 มื้อต่อวัน จำนวน 100 คน  เป็นเงิน  6,000 บาท ค่าวัสดุสำนักงาน
     - สมุดปกอ่อน ขนาด 60 แกรม จำนวน 100 เล่ม ราคาเล่มละ 10 บาท เป็นเงิน  1,000 บาท     - ปากกาลูกลื่น จำนวน 100 ด้าม ด้ามละ 10 บาท เป็นเงิน  1,000 บาท     - แฟ้มซองพลาสติกA4 1กระดุม  จำนวน 100 แฟ้มราคาแฟ้มละ 30 บาท   เป็นเงิน  3,000 บาท ค่าวิทยากรชั่งโมงละ 300 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง จำนวน 1 คน      เป็นเงิน  1,800 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 18,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.หญิงตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก มีสุขภาพอนามัยที่ดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อน 2.หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรก ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก มีสุขภาพอนามัยที่ดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
2.หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรก ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์


>