กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมการเฝ้าระวังให้ความรู้โรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม ปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะโด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมการเฝ้าระวังให้ความรู้โรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะโด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะโด

ณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะโด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ ปีหนึ่งมีคนไทยเสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็งทุกชนิด ปีละ 4,500 ราย โดยมีอัตราตายเป็นอับดับ 2 รองจากโรคหัวใจและหลอดเลือดและยังมีแนวโน้มที่สูงขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง 8 คน ในประชากรหนึ่งแสนคนแต่ละปีจะมีผู้หญิงป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ปีละประมาณ 10,000 ราย หรือวันละ 27 ราย เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 5,200 ราย หรือวันละ 14 ราย โดยกลุ่มที่พบสูงสุดคืออายุ 45-55 ปี องค์การอนามัยโลกประมาณการณ์ว่า ขณะนี้ทั่วโลกในทุก 2 นาทีจะมีผู้หญิงเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก 1 รายและจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าสตรีไทยมีแนวโน้มการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้นจากปี 2558ซึ่งมีอัตราตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก 3ต่อแสนประชากร และเพิ่มเป็น๓.๑ต่อแสนประชากรในปี 2558ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ 4,500 ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 30 - 50 ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smearและหากทำทุก 2 ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ 92 % ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่ายสะดวกราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ PapSmear สตรีที่เป็นมะเร็งส่วนใหญ่มักจะมี สถานะทางเศรษฐกิจต่ำมีความรู้น้อยมีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ความรู้ความเชื่อด้านสุขภาพปัญหาในการมาตรวจความอายความรู้สึกเจ็บไม่สบายความวิตกกังวลถึงผลการตรวจและความรุนแรงของโรค (สริตา, 2538)
สำหรับสถานการณ์โรคมะเร็งของจังหวัดปัตตานีส่วนโรคมะเร็งปากมดลูกของจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2564 – 2565 พบว่า มีอัตราป่วย 59.10 และ 60.15 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 - 60 ปี ของตำบลปะโด พบว่ากลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกปี ๒๕65ร้อยละ 34.65(โปรแกรมHosXP_PCU รพ.สต.ปะโด มกราคม 2566) ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้กำหนดในปี 2566 ตำบลปะโดได้จัดทำโครงการรณรงค์ตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกเชิงรุกทุกรูปแบบในกลุ่มเป้าหมาย ทำให้มีผู้มารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก คิดเป็นร้อยละ 26.88 ซึ่งถือว่ามีปริมาณที่น้อยอยู่และต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำกำหนด การให้ความรู้ที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องร่วมกับการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง จะทำให้สตรีกลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในความรุนแรงของโรคและมีความเชื่อด้านสุขภาพที่ถูกต้องดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะโด จึงได้จัดทำ “โครงการอบรมการเฝ้าระวังให้ความรู้โรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม ปี 2566”เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกแบบยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อเสริมสร้างความรู้ เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย
2.เพื่อเสริมสร้างทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย
3. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเฝ้าระวังและป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย
4. เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะแรก
๕.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมสตรีที่มีอายุ ๓๐ – 60 ปี

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมสตรีที่มีอายุ ๓๐ – 60 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรมสตรีที่มีอายุ 30 – 60 ปี             จำนวน  100  คน     -ค่าอาหารกลางวัน 60 บาทต่อ 1 มื้อต่อวัน จำนวน 100 คน เป็นเงิน 6,000 บาท     -ค่าอาหารว่าง 30 บาทต่อมื้อ 2 มื้อต่อวัน จำนวน 100 คน    เป็นเงิน 6,000 บาท     ค่าวัสดุสำนักงาน
    -แฟ้มซองพลาสติกA4 1กระดุม  จำนวน 100 แฟ้ม ราคาแฟ้มละ 30บาท  เป็นเงิน 3,000 บาท     -กระดาษสร้างแบบ  จำนวน 20 แผ่น  ราคาแผ่นละ 5 บาท เป็นเงิน 100 บาท     - ปากกาเคมี ตราม้า จำนวน 10 ด้าม ราคาด้ามละ 15 บาท เป็นเงิน 150 บาท     - กระดาษดับเบิล A4  จำนวน 1 รีม ราคารีมละ 130 บาท เป็นเงิน 130 บาท 3.ค่าวิทยากรชั่งโมงละ 300 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง จำนวน 1 คน    เป็นเงิน 1,800 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  17,180 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการบริการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม  ตามเกณฑ์มาตรฐาน
2.สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไปสามารถตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง เดือนละ 1 ครั้ง 3.จำนวนผู้ป่วยที่ค้นพบเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ได้รับการรักษาพยาบาลในระยะขั้นแรก ของการเป็นโรคมะเร็ง 4.ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของภาครัฐ
5.ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก 6. ลดอัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร็งปากมดลูก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17180.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,180.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.จำนวนสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการบริการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามเกณฑ์มาตรฐาน
2.สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไปสามารถตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง เดือนละ 1 ครั้ง
3.จำนวนผู้ป่วยที่ค้นพบเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ได้รับการรักษาพยาบาลในระยะขั้นแรก ของการเป็นโรคมะเร็ง
4.ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของภาครัฐ
5.ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก
6. ลดอัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร็งปากมดลูก


>