กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะโด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการใส่ใจสุขภาพห่างไกลเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและหัวใจตำบลปะโด ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะโด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะโด

ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะโด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
หลักการเหตุผล ปัจจุบันปัญหาสาธารณสุขได้เปลี่ยนแปลงไปโรคติดเชื้อซึ่งเคยเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในอดีตได้ลดระดับความสำคัญลงในขณะที่โรคไม่ติดต่อกลับเป็นปัญหาที่สำคัญเพิ่มขึ้น จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยโรคเบาหวาน มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งโรคเบาหวานพบได้ในประชากรไทยตั้งแต่ร้อยละ 3 ถึง 10 แล้วแต่พื้นที่และภาวะโภชนาการ โรคนี้พบได้ทั้งสองเพศ มักพบในวัยกลางคนแต่สามารถพบได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้เข้าสู่วัยทอง สำหรับในอดีตที่ประเทศไทยยังเป็นประเทศด้อยพัฒนา โรคเบาหวานจะพบได้ ประมาณร้อยละ 1 - 4 เท่านั้น และในปัจจุบันเป็นปัญหาสำคัญของกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วนและเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งมักจะเกิดในคนอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปมารับการตรวจรักษาเมื่อมีอาการรุนแรง และเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งนี้เนื่องจากการขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพร่างกาย พฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสม การเกิดภาวะเครียดในชีวิตประจำวัน ขาดการออกกำลังกายซึ่งส่งผลก่อให้เกิดโรคดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น การลดปัญหากลุ่มโรคเบาหวานต้องดูแลป้องกันร่วมกันอย่างมีระบบและคุณภาพอย่างต่อเนื่องโดยการสำรวจกลุ่มเป้าหมายคัดกรอง วินิจฉัยโรคตั้งแต่ระยะเริ่มแรกซึ่งจะมีผลต่อการรักษา ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและการฟื้นฟูสภาพ จึงจะสามารถลดปัญหากลุ่มโรคดังกล่าวลงได้
สำหรับในปี 2561โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะโดมีประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน ๑,502 คนจากการสำรวจพบว่ากลุ่มประชากรอายุ 35ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองจำนวน1,493คนคิดเป็นร้อยละ 95.81พบว่าที่มีภาวะเสี่ยงความดันโลหิตสูงจำนวน 350 คนคิดเป็นร้อยละ 23.44 พบผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 249 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67 และมีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 224 คน คิดเป็นร้อยละ 15.00พบผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน74 คน คิดเป็นร้อยละ 4.95
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะโดได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวของโรค จึงได้จัดทำ “โครงการการเฝ้าระวังโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหัวใจตำบลปะโด ปี 2566”เพื่อกลุ่มเสี่ยงกลับมาเป็นเป็นกลุ่มปกติหรือไม่ให้เป็นโรคเรื้อรังและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการตรวจสุขภาพ และประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหัวใจ
2.ผู้เข้าร่วมโครงการมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพ และประเมินความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหัวใจ
3.ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจสุขภาพ และประเมินความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหัวใจ
4. ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหัวใจได้รับการส่งต่อและดูแลอย่างต่อเนื่อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ค้นหา และคัดดกรองประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ค้นหา และคัดดกรองประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมย่อย  การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง      ค้นหา และคัดดกรองประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป
    2.  กิจกรรมย่อย อบรมผู้ที่ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง       อบรมกลุ่มเป้าหมายจำนวน 200 คน (แบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 100 คน)
          -ค่าอาหารกลางวัน 60 บาทต่อ 1 มื้อต่อวัน จำนวน 200 คน เป็นเงิน  12,000 บาท       -ค่าอาหารว่าง 30 บาทต่อมื้อ 2 มื้อต่อวัน จำนวน 200 คน เป็นเงิน  12,000 บาท      ค่าวัสดุสำนักงาน
          -ปากกาลูกลื่น จำนวน 200 ด้าม ราคาด้ามละ 10 บาท  2,000 บาท       -สมุดปกอ่อนขนาด 60แกรมจำนวน 200 เล่มราคาเล่มละ 10 บาท เป็นเงิน  2,000 บาท
          -ปากกาเคมี ตราม้า จำนวน 10 ด้าม ราคาด้ามละ 15 บาท เป็นเงิน  150 บาท       -กระดาษดับเบิล A4  จำนวน 1 รีม ราคารีมละ 130 บาท เป็นเงิน  130 บาท       ค่าวิทยากรชั่งโมงละ 300 บาท จำนวน 8 ชั่วโมง จำนวน 1 คน เป็นเงิน  2,400 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 30,680 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ข้อมูลพื้นฐานด้านสุขภาพ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชน 2.วัยผู้ใหญ่มีความรู้ ทัศนคติ และการตรวจสุขภาพ 3.ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่ลุกลามหรือมีภาวะแทรกซ้อน 4.เกิดความร่วมมือที่ดีระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน และองค์ภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30680.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,680.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ข้อมูลพื้นฐานด้านสุขภาพ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชน
2.วัยผู้ใหญ่มีความรู้ ทัศนคติ และการตรวจสุขภาพ
3.ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่ลุกลามหรือมีภาวะแทรกซ้อน
4.เกิดความร่วมมือที่ดีระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน และองค์ภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น


>