กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพใส่ใจผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสและคนพิการ ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

อบต.เกาะสะบ้า (กองสวัสดิการสังคม)

ตำบลเกาะสะบ้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้พิการ

 

0.10

ตามนโยบายรัฐบาลด้านสาธารณสุขของประชาชน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแลและส่งเสริมให้มีการดูแลสุขภาพของประชาชน กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ตามชุดสิทธิประโยชน์ให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านเสริมสร้างสุขภาพ ด้านการป้องกันโรค ด้านการรักษาพยาบาล และด้านการฟื้นฟูสภาพแบบองค์รวมและต่อเนื่อง โดยเน้นด้านสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ ให้ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจตระหนักที่จะดูแลสุขภาพของตนเองร่วมด้วย
ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า โดยกองสวัสดิการสังคม ได้เล็งเห็นความสำคัญของกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวฯ จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพใส่ใจผู้สูงอายุ ผู้ด้อยดอกาสและคนพิการ ประจำปี 2566 เพื่อสนองตอบนโยบายรับบาล และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสและคนพิการในพื้นที่ตำบลเกาะสะบ้าต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อเยี่ยมบ้าน ตรวจสุขภาพ และติดตามดูแลผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการในพื้นที่
2.เพื่อแนะนำเรื่องการดูแลที่ถูกสุขภาวะแก่กลุ่มเป้าหมาย แก่ญาติและผู้ดูแล เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน
3.เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือการจัดการสุขภาพที่บ้านของกลุ่มเป้าหมายแก่ญาติและผู้ดูแล

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 10
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมสุขภาพใส่ใจผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพใส่ใจผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ลงพื้นที่เยี่ยมกลุ่มเป้าหมายแต่ละครัวเรือนครบทั้ง 8 หมู่บ้าน 2.ตรวจสุขภาพ 3.ให้คำปรึกษา คำแนะนำต่าง ๆ แก่กลุ่มเป้าหมาย และผู้ดูแล 4.มอบอาหารเสริม (นม) เพื่อสุขภาพและคุรภาพชีวิตที่ดีขึ้นแก่กลุ่มเป้าหมาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการได้รับการแนะนำที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิต 2.ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการได้รับการตรวจสุขภาพและติดตามตลอดทุกปี 3.สร้างขวัญกำลังใจแก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ว่าจะไม่ถูกรัฐทอดทิ้ง และได้รับการดูแลสม่ำเสมอจากหน่วยงานภาครัฐ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,600.00 บาท

หมายเหตุ :
1.ค่าอาหารเสริม (นม) เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ ชุดละ 680 บาท x 50 คน เป็นเงิน34,000 บ.
2.ค่าวัสดุอุปกรณ์ใช้เพื่อดูแลสุขภาพสำหรับเป้าหมายโครงการ เช่น แอลกอฮอร์ฆ่าเชื้อ สำลี ผ้ายาง และวัสดุอื่น ๆ200 x 50 คนเป็นเงิน10,000 บ.
3.ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1 ผืน ขนาด 1*3 เมตรเป็นเงิน600 บ.

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ ได้รับความรู้ด้านสุขอนามัยที่ถูกต้อง และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องแบบองค์รวม
2.ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ ไม่เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน
3.เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับ กลุ่มเป้าหมายให้มีจิตใจพร้อมที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข


>