กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการธรรมะในใจ เพื่อผู้สูงอายุหมู่ที่ 4

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโหนด

คณะกรรมการวัดนาม่วง

หมู่ที่ 4 บ้านนาม่วง ตำบลบ้านโหนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

บ้านนาม่วง หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนาจึงได้นำหลักคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิตทำให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข นับตั้งแต่บรรพชนโดยมีวัดเป็นเป็นศูนย์กลางในการจัดงานต่างๆทั้งทางด้านสังคมศิลปวัฒนธรรมประเพณี และกิจกรรมอื่นๆ วัดจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน และมีผลต่อวิถีชีวิตของคนไทยในอดีต จากสภาพการณ์ในปัจจุบันปัญหาต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมได้ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจากสังคมที่สงบมีความโอบอ้อมอารีเป็นสังคมที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันกลับกลายเป็นสังคมที่วุ่นวายแก่งแย่งแข่งกัน ที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนในสังคมที่เห็นได้ชัดเจนคือกลุ่มผู้สูงอายุเนื่องจากเป็นวัยที่พ้นจากวัยแรงงานจึงมักถูกทิ้งให้อยู่บ้านตามลำพังผู้สูงอายุหลายคนขาดความสุขทางใจ เกิดเป็นโรคซึมเศร้าจากภาพปัญหาผู้สูงอายุดังกล่าว จึงได้มีแนวทางจัดทำโครงการธรรมะในใจเพื่อวัยผู้สูงอายุหมู่ที่ 4 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้นำหลักธรรมของศาสนามาปรับใช้ในวิถีชีวิตด้วยการเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิตด้วย ความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และมีความรอบคอบเพื่อให้เกิดความสมดุลและพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมอบรมได้รักษาศีล เข้าวัดฟังธรรม ฝึกสมาธิ กล่อมเกลาจิตใจ

ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมอบรมได้รักษาศีล เข้าวัดฟังธรรม ฝึกสมาธิ กล่อมเกลาจิตใจ

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับ    เรื่องสุขภาพและวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมอบรมมีความสุขอย่างยั่งยืน โดยใช้มิติทางศาสนาหล่อหลอมและฝึกฝนให้มีแนวทางการดำเนินชีวิตที่เป็นสุข ตลอดทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับลูกหลานต่อไป

ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมอบรมมีความสุขอย่างยั่งยืน โดยใช้มิติทางศาสนาหล่อหลอมและฝึกฝนให้มีแนวทางการดำเนินชีวิตที่เป็นสุข ตลอดทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับลูกหลานต่อไป

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/06/2023

กำหนดเสร็จ 16/06/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ส่งเสริมพัฒนาทักษะทางกายและใจ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ส่งเสริมพัฒนาทักษะทางกายและใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มิถุนายน 2566 ถึง 16 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26047.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,047.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1) ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง
2) ผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ และสังคม
3) ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อดำรงในสังคมอย่างมีคุณค่า
4) ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นทัศนะต่างๆ ร่วมกัน


>