กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ส่งเสริมสุขภาพชุมชน อารมณ์ดี ทุกชีวีมีสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอน

กลุ่มรักสุขภาพ หมู่ที่ 5

1.นางถนอมพรหมจันทร์
2.นางสุลีแก้วลายพรหม
3.นางอำไพศรีเพ็ชรสัย
4.นางสาววิลัยชมพิบูลย์
5.นางอำไพสมหวาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพสุขภาพของประชาชนบ้านยางงามพบว่าปัญหาสุขภาพ การมีดัชนีมวลกายสูง เช่น จำพวกเบาหวาน ความดัน ไขมัน ละเลยต่อการตรวจสุขภาพปัญหาสำคัญ คือ
1. บกพร่องความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง
2. ขาดแรงจูงใจและการสนับสนุนจากผู้นำชุมชน
3. ปัญหาในเรื่องอุปสรรคและวัฒนธรรมจึงต้องมีการเสริมสร้างพลังอำนาจในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นการให้ความรู้กับการดูแลสุขภาพร่วมกับการทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพในหมู่บ้าน
องค์ประกอบพื้นฐานได้แก่ความเจ็บป่วยเรื้อรังป้องกันได้โดยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม การออกกำลังกายการพักผ่อนหย่อนใจเพื่อคลายเครียดการกินอาหารที่มีประโยชน์การตรวจโรคด้วยตนเองเป็นต้นการออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่นอารมณ์ดี ลดความตึงเครียดนอนหลับได้ดีและมีผลต่อสังคม คือ ช่วยให้มีสัมพันธภาพและมิตรไมตรีต่อกันมีความเอื้ออาทรต่อกันในชุมชนและประชาชนมีสุขภาพที่ดีและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อนำไปสู่การส่งเสริมด้วยตนเองอย่างยั่งยืนจึงได้มีแนวคิดในการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพประชาชนที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการให้ความรู้ ส่งเสริมการตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพร่างกายของประชาชน

ร้อยละ 60 ของประชากรในหมู่ 5 ที่เข้าร่วมโครงการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง

0.00
2 2. เพื่อส่งเสริมประชาชนตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพและการป้องกันโรค

ร้อยละ 60 ของประชากรหมู่ 5 เข้าร่วมโครงการ โดยการร่วมกันออกกำลังกายเดือนละ 1 ครั้ง

0.00
3 3. เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา

อัตราการเจ็บป่วยลดลงหรือผู้เป็นไขมัน ความดัน เบาหวาน มีผลการตรวจอยู่ในระดับดี

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 5
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 15
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/03/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหาร  จำนวน 60 คนๆละ 50 บาท    เป็นเงิน  3,000  บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 25 บาท  จำนวน 2 มื้อ  เป็นเงิน  3,000  บาท 3.  ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน 6 ชม.ๆละ 600 บาท  เป็นเงิน  3,600  บาท 4.  ค่าป้ายไวนิล   เป็นเงิน   720  บาท 5.  ค่าเครื่องเสียง  เป็นเงิน   500  บาท 6.  ค่าจัดซื้อเครื่องเขียน (สมุด,ปากกา)  จำนวน 60 ชุดๆ 30 บาท เป็นเงิน  1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มีนาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12620.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,620.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพและการจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่างๆ
2. ประชาชนมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคมากขึ้น
3. ประชาชนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้


>