กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาตอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหญิงวัยเจริญพันธ์สุขภาพดี ตั้งครรภ์เมื่อพร้อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาตอง

ชมรมสายใยรักตำบลกาตอง

หอประชุมโรงเรียนบ้านกาตอง..ตำบลกาตอง..อำเภอยะหา..จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

 

40.00
2 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย

 

40.00
3 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด

 

40.00
4 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

 

40.00

ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่น อายุ 10-14 ปี และอายุ 15-19 ปี เป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกัน ให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัยที่นานาชาติต้องการบรรลุให้ได้ ภายในปี พ.ศ. 2573
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่งผลกระทบเชิงลบทางสุขภาพต่อตัวแม่วัยรุ่นและทารก เนื่องจากวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า เช่น การเสียชีวิตของมารดา การเสียชีวิตของทารก ทารกน้าหนักต่ำกว่าเกณฑ์ โดยสถิติพบว่าในปี 2555 เด็กแรกเกิดน้ำหนัก ต่ำกว่าเกณฑ์ (ต่ำกว่า 2,500 กรัม ) ในกลุ่มมารดาวัยรุ่นอายุ 15 ปี และ 15-19 ปี มีถึงร้อยละ 18.2 และ 13.7 ตามลำดับ (ไม่เกินร้อยละ 7) ยิ่งไปกว่านั้น แม่วัยรุ่นยังมีความเสี่ยงต่อการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ยังส่งผลต่อโอกาสทางการศึกษา หน้าที่การงาน รวมทั้งรายได้ในอนาคต ความไม่พร้อมในการเลี้ยงดูบุตรของแม่วัยรุ่นยังทำให้เด็กจำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้ง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กไทย ดังนั้น การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นด้วยมาตรการที่มีประสิทธิภาพจะช่วยตัดวงจรการเป็นแม่วัยรุ่น ไม่ให้เกิดขึ้นกับประชากรรุ่นต่อๆไป ทำให้วัยรุ่นมีสุขภาวะทางเพศที่ดี มีโอกาสทางการศึกษา และสามารถใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะเติบโตมีคุณภาพต่อไป
จากกการดำเนินงาน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาตอง ในปี 2565 นั้น พบว่า แม่อายุต่ำกว่า 20 ปี คลอดบุตร ร้อยละ 13.25 (ไม่เกินร้อยละ 27) จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น คาดว่าปัญหาต่างๆในวัยรุ่นอาจจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ดำเนินการป้องกันอย่างจริงจัง ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิต ให้กับวัยรุ่น ก้าวพ้นสิ่งยั่วยุต่างๆไปได้อย่างปลอดภัย สามารถเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

40.00 40.00
2 เพื่อป้องกันโรคทาลัสซีเมีย

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่ ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย เพิ่มขึ้น

40.00 40.00
3 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์

ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด ลดลง

40.00 40.00

1.เพื่อให้กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ มีความรู้ที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ หลังคลอด และการวางแผนครอบครัวอย่างมีคุณภาพ
2.เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์ ที่ตั้งครรภ์ ไม่มีภาวะซีดในขณะตั้งครรภ์
3.เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์ ที่ตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 40
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชาสัมพันธ์โครงการจัดทำสื่อ และ เตรียมอุปกรณ์           2.สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลหญิงวัยเจริญพันธ์ และครอบครัว           3.ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก่หญิงวัยเจริญพันธ์ และครอบครัว รวมทั้ง อสม. เพื่อให้มีความรู้ที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์, หลังคลอด และมีความรู้การวางแผนครอบครัวที่มีคุณภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง เพื่อสุขภาพดี ตั้งครรภ์เมื่อพร้อม
  2. อัตราเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์ลดลง
  3. กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและตรวจรักษาที่ถูกต้อง
  4. ประชาชนทุกเพศทุกวัย ทุกกลุ่มในตำบลกาตองมีความรู้ในการป้องกันตนเองและสมาชิกในครอบครัว
  5. เกิดภาคีเครือข่ายในการร่วมรณรงค์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในกลุ่มวัยเจริญพันธ์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง เพื่อสุขภาพดี ตั้งครรภ์เมื่อพร้อม
2. อัตราเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์ลดลง
3. กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและตรวจรักษาที่ถูกต้อง
4. ประชาชนทุกเพศทุกวัย ทุกกลุ่มในตำบลกาตองมีความรู้ในการป้องกันตนเองและสมาชิกในครอบครัว
5. เกิดภาคีเครือข่ายในการร่วมรณรงค์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในกลุ่มวัยเจริญพันธ์


>