กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาตอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านปาแดรู อ.ยะหา ปี 66

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาตอง

ชมรม SRRT รพ.สต.บ้านปาแดรู

เขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต. บ้านปาแดรู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

200.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยพื้นที่ในจังหวัดยะลา มีแนวโน้มในการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้น โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นกลวิธีในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก คือ การควบคุมยุงพาหะนำโรคไม่ให้มี หรือมีน้อยที่สุด โดยมุ่งเน้น ให้ชุมชนและโรงเรียนในพื้นที่ มีความตื่นตัวในการเฝ้าระวังโรคนี้ หากมีการระบาดเกิดขึ้นในชุมชน จะต้องรู้อย่างรวดเร็ว และลงมือควบคุมโรคทันที โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และทำลายลูกน้ำยุงลายทั้งในชุมชน ในโรงเรียน ให้ได้ครอบคลุมจากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในทุกกลุ่มอายุ ของ รพ.สต.บ้านปาแดรู พบว่า ปี 2565 (ณ. 30 ธ.ค.65)มีผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกจำนวน 0 รายแต่โอกาสที่จะเกิดการระบาด ปี 2566 จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการรณรงค์ควบคุมและป้องกันไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องดังนั้น รพ.สต.บ้านปาแดรู ได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนและด้านอื่นๆ จึงได้ดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกทั้งในชุมชน และในโรงเรียน ตามนโยบาย แนวทางของจังหวัดยะลา มาโดยตลอด แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีปัญหาอยู่มาก ทั้งด้านความจำกัดในทรัพยากร ลักษณะทางภูมิศาสตร์ วิธีการจัดการ การรับรู้และมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นผลให้การควบคุมโรคไข้เลือดออก ไม่ได้ประสิทธิผลเป็นที่น่าพอใจ การแก้ไขต้องกระทำทั้งภาครัฐ ประชาชน รวมทั้งภาคเอกชนควบคู่กันไป ที่สำคัญที่สุดให้ประชาชนและเยาวชนมีบทบาทอย่างเต็มที่ในการควบคุมโรคไข้เลือดออก ด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านนี้ปลอดลูกน้ำยุงลาย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

200.00 200.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สร้างแกนนำครอบครัว

ชื่อกิจกรรม
สร้างแกนนำครอบครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การสร้างแกนนำครอบครัว และการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจและ ตระหนักถึงอันตรายและภาวะแทรกซ้อนของโรคติดต่อนำโดยยุง
    1. การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในชุมชน และโรงเรียน
    2. ค้นหาผู้ป่วยโดยเร็ว ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคในพื้นที่ ทุกราย
    3. การควบคุมกำกับ และการประเมินผล
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก จนสามารถดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกได้เองอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ ไปถ่ายทอดและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>