กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกกลาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครการอบรมส่งเสริมความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุทางถนน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกกลาง

สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลโคกกลาง

1.นายชยานันต์ พิมพ์บุญญามาศ
2.นางสุกัญญาอภัยจิตต์
3.นายสมหมายดำดี

ตำบลโคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละผู้ขับขี่รถที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

3.13
2 จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

35.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

35.00 25.00
2 เพื่อลดผู้ขับขี่รถที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ร้อยละผู้ขับขี่รถที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3.13 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/10/2022

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ในการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัยในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ในการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัยในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ความรู้เรื่องกฎจราจรสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนน ให้ความรู้การใช้รถใช้ถนนอย่างให้ปลอดภัย ให้กับเด็กนักเรียนและผู้ปกครอง 2) ฝึกปฏิบัติการใช้สัญญาณมือและป้ายจราจร เพื่อให้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัยถูกกฏจราจร บริเวณหน้าโรงเรียน ในโรงเรียน และตลาดชุมชน
กลุ่มเป้าหมาย
1) เด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 80 คน
2) ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา อปพร. (อาสาจราจรชุมชน) จำนวน 50 คน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1) ทีมวิทยากรบรรยายให้ความรู้กฎจราจรและการใช้รถใช้ถนนที่ปลอดภัย 3 คนๆ ละ 1 ชั่วโมง และสาธิตการใช้สัญญาณมือในควบคุมการจราจร 2) เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา อปพร. จำนวน 130 คน รับฟังคำบรรยายจากวิทยากร และร่วมสาธิตการใช้สัญญาณมือ 3) รับสมัครและคัดเลือกอาสาจราจรโรงเรียน อาสาจราจรชุมชน และวางแผนการจัดจราจร 4) สรุปผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กนักเรียนเข้าใจสัญลักษณ์จราจรและแสดงออกถึงพฤติกรรมเคารพกฎจราจรบริเวณหน้าโรงเรียน และในชุมชน
  2. มีอปพร. (อาสาจราจร) และนักเรียนจราจร ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกและจัดการจราจรหน้าโรงเรียนทุกเช้า
  3. มี อปพร. (อาสาจราจร) ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกและจัดการจราจรบริเวณตลาดชุมชน
  4. ระบบการสนับสนุนการจัดการจราจรที่ปลอดภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกกลาง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

กิจกรรมที่ 2 กำจัดจุดเสี่ยงอุบัติเหตุในชุมชน สร้างความปลอดภัยในการสัญจรทางถนน

ชื่อกิจกรรม
กำจัดจุดเสี่ยงอุบัติเหตุในชุมชน สร้างความปลอดภัยในการสัญจรทางถนน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วัตถุประสงค์
1) เพื่อสำรวจจุดเสี่ยงที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุในชุมชน ทั้งสภาพถนน ป้ายจราจร และสภาพแวดล้อมข้างถนนต่างๆ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไข
2) ดำเนินการแก้ไขจุดเสี่ยงงต่างๆ ในชุมชน
กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมดำเนินงาน
1) กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
2) อปพร.
3) ส.อบต. ผู้นำชุมชน และกรรมการทุกหมู่บ้าน ขั้นตอนการดำเนินงาน
1) สำรวจถนนเส้นในชุมชนที่คาดว่าจะจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ และนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไข ตามงบประมาณที่มี 2) ดำเนินการกำจัดจุดเสี่ยงที่สามารถดำเนินการได้ ได้แก่ การตัดต้นไม้ กิ่งไม้ที่บดบังสายตา จำทำป้ายจราจรจากวัสดุเหลือใช้ ทำสัญลักษณ์แจ้งเตือนจุดเสี่ยงให้เด่นชัด เป็นต้น
3) ประสานส่งแผนงาน/โครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจัดการจราจรชุมชน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อบจ. ทางหลวงชนบท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. หน่วยงานท้องถิ่น ผู้นำชุมชน เห็นความสำคัญและตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองในการมีสว่นร่วมดูแลความเป็นอยู่ความปลอดภัยของคนในชุมชน
  2. จุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุในชุมชนได้รับการแก้ไข มีการทำสัญลักษณ์แจ้งเตือนให้ผู้ใช้รถใช้ถนนมองเห็น
  3. มีการเสนอแผนงาน/โครงการกำจัดจุดเสี่ยง อบต.โคกกลาง ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการสนับสนุนงบประมาณ
  4. ชุมชนมีส่วนร่วมกำจัดจุดเสี่ยงในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ใช้รถใช้ถนนมีความปลอดภัยสามารถลดอุบัติเหตุทางถนนในเขตพื้นที่ได้
2. มีอาสาจราจรในชุมชน ในโรงเรียน ช่วยจัดการให้เกิดความปลอดภัยบริเวณหน้าโรงเรียน ตลาดชุมชน และเป็นแบบอย่างผู้ที่ใช้รถใช้ถนนที่ปลอดภัย
3. จุดเสี่ยงจุดที่เป็นอันตรายในการใช้รถใช้ถนนได้รับการแก้ไข ปรับปรุง หรือ ทำสัญลักษณ์แจ้งเตือนให้ผู้ใช้รถใช้ถนนมองเห็น ให้เกิดความปลอดภัย
4. มีการจัดทำแผนงาน/โครงการสร้างความปลอดภัยทางถนนในตำบลอย่างต่อเนื่อง


>