กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 5

นางสาวต่วนซากีรา กูมูดอ

เขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 5

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันจากสถิติการป่วยและเสียชีวิตของคนไทย พบว่า ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นอันดับต้นๆ เช่น โรคมะเร็งทุกชนิด โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งมาจากการใช้และบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย เช่นการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อน อาหารที่ไม่มีมาตรฐาน และการใช้ยาที่ไม่ปลอดภัย เครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ยา อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายในบ้านเรือนและ วัตถุเสพติด เป็นสิ่งที่ประชาชนบริโภคตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน การบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพหรือบริโภคไม่ถูกต้องเหมาะสม ล้วนนำมาซึ่งความเจ็บป่วยและที่ร้ายแรงอาจนำมาถึงขั้นเสียชีวิต เช่นอาหารปนเปื้อนสารห้ามใช้หรือมีจุลินทรีที่ทำให้เกิดโรค เครื่องสำอางที่มีสารห้ามใช้ การใช้ยาผิดหรือใช้ยาที่ไม่มีคุณภาพ มาตรฐาน ยาปลอม การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ขณะเดียวกันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้า ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทางอินเตอร์เน็ต การโฆษณาทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์และสิ่งพิมพ์ต่างๆ ทำให้เกิดความเสี่ยงจากการบริโภคยาที่ไม่มีทะเบียน ยาปลอม รวมถึงการบริโภคยาโดยไม่อยู่ในการดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร นอกจากนี้ยังพบว่าร้านชำในชุมชนมีการจำหน่ายยาชุดยาอันตรายและยาลูกกลอนที่มีการนำสเตียรอยด์มาผสม เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นยาที่ดี รักษาโรคได้หายทันใจ ทำให้ประชาชนได้รับพิษจากเสตียรอยด์รวมถึงปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูงในทางการค้าทำให้มีการโฆษณาในลักษณะที่โอ้อวดเกินความจริงหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ ผลที่ตามมาคือเกิดการบริโภคที่ไม่เหมาะสมเช่นคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพที่ต้องได้รับการรักษาดูแลต่อเนื่องเมื่อหลงเชื่อโฆษณาหันมาบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีการโฆษณาแล้วละเลยวิธีการรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้โรคมีความรุนแรงขึ้นจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ปัญหาที่กล่าวมาแล้วข้างต้นส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากการบริโภคทั้งสิ้น หากผู้บริโภคขาดความรู้เกี่ยวกับการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม ปลอดภัยหรือขาดความตระหนักในสิทธิของผู้บริโภค
ในการนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 5 ได้เล็งเห็นถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคในชุมชนและลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภค ได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ปี2566 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้ประชาชนและกลุ่มเครือข่ายต่างๆในชุมชนได้มีความรู้ และมีส่วนร่วมในการติดตามเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ประชาชนต้องบริโภคและใช้ในชีวิตประจำวัน จนเกิดความตระหนักในสิทธิของผู้บริโภค สามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ผู้บริโภคมีความปลอดภัยไม่เกิดการเจ็บป่วยด้วยสาเหตุจากการบริโภค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่ให้มีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมร้อยละ 80 มีทักษะในการเลือกสินค้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ
2. ผู้จำหน่ายร้านชำมีความรู้ด้านผลิตภัณฑ์ 3 ข้อ
ข้อที่ 2 พัฒนาศักยภาพและสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. มีทะเบียนชมรมสมาชิกเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค
2. มีแผนที่ชุมชน
3. มีแผนการ/โครงการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค
ข้อที่ 3 เพื่อเฝ้าระวังการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพใน สถานประกอบการ ร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอย โรงอาหารในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครัวเรือนให้มีการจำหน่ายและใช้สินค้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. มีการตรวจสารปนเปื้อนอาหารอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
2. ร้อยละร้านอาหาร แผงลอย โรงอาหารในโรงเรียน ใน ศพด. ได้รับการตรวจตามเกณฑ์มาตรฐาน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 121
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
1. ผู้ประกอบการร้านขายของชำ 15
2. ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย และจำหน่ายอาหาร 5
3. อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) 51
4. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เพื่อสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพของชุมชน สามารถสอดส่องดูแลและเฝ้าระวังการจำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยในชุมชน (แกนนำชุมชน แกนนำนักเรียน)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เพื่อสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพของชุมชน สามารถสอดส่องดูแลและเฝ้าระวังการจำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยในชุมชน (แกนนำชุมชน แกนนำนักเรียน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 52 คน x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,600 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 72 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน x 6 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 4.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,550 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10550.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพและเก็บตัวอย่างพร้อมตรวจสอบตัวอย่างและสารปนเปื้อนอาหารภายในชุมชนเชิงปฏิบัติการ โดยกลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพของชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพและเก็บตัวอย่างพร้อมตรวจสอบตัวอย่างและสารปนเปื้อนอาหารภายในชุมชนเชิงปฏิบัติการ โดยกลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพของชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง อ.11 (กรมอนามัย) จำนวน 1 กล่อง x 800 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  2. ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียพร้อมอุปกรณ์ SI-2 (อ.13) จำนวน 1 กล่อง x 1,300 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท
  3. ชุดทดสอบสารอาหารเบื้องต้น 5 ตัวอย่าง จำนวน 1 กล่อง x 1,600 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
  4. ชุดทดสอบยาฆ่าแมลง ( OC KIT) จำนวน 1 กล่อง x 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  5. ชุดทดสอบไอโอดีน (IODINE TEST KIT) จำนวน 2 กล่อง x 150 บาท เป็นเงิน 300 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประชาสัมพันธ์และรณรงค์การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์และรณรงค์การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน ขนาด 1 x 2 เมตร จำนวน 3 ป้าย x 500 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  2. ค่าป้ายสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาดอร่อย (CFGT) จำนวน 10 ป้าย x 150 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  3. ค่าป้ายสัญลักษณ์ร้านชำติดดาว จำนวน 15 ป้าย x 150 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
  4. ค่าสื่อแผ่นพับความรู้การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยในชุมชน จำนวน 200 ชุด x 30 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 11,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบการมีการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานมากขึ้น
2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจผลิตภัณฑ์สุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องไม่หลงเชื่อโฆษณาที่มีลักษณะโอ้อวบเกินจริง
3. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภคอาหาร การขายยาอันตรายในชุมชนและไม่พบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายด้านคุ้งครองผู้บริโภค


>