กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนร่วมใจ ผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพช่องปาก ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา

รพ.สต.บ้านบันนังดามา ชุมชน ม.1, ม.2 และ ม.8

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผู้สูงอายุเป็นอีกวัยหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าควรส่งเสริมสุขภาพช่องปากในวัยเด็กเท่านั้น แต่ความจริงแล้ววัยสูงอายุก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันเพราะเมื่อร่างกายมีอายุมากขึ้น ระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกายต่างๆ ก็จะเสื่อมสภาพ รวมทั้งเหงือกและฟันที่อยู่ในช่องปากด้วย
เป้าหมายทันตสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2564 (กองทันตสาธารณสุข,2549) ในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป คือ ร้อยละ 40 ของผู้สูงอายุมีฟันแท้อยู่ในสภาพใช้งานได้ อย่างน้อย 20 ซี่ขึ้นไป จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพจังหวัดยะลาในปี 2564ผู้สูงอายุมีฟันแท้อยู่ในสภาพใช้งานได้20 ซี่ขึ้นไป ร้อยละ 21.42 แต่จากกการสำรวจสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านบันนังดามา ในเดือน ตุลาคม 2565จำนวน 180 คนพบว่า ผู้สูงอายุมีฟันแท้อยู่ในสภาพใช้งานได้ 20 ซี่ขึ้นไป จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 7.22เมื่อเปรียบเทียบกับ รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพจังหวัดยะลาถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำ อาจส่งผลต่อสุขภาวะในช่องปากของผู้สูงอายุในอนาคต
ดังนั้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุ อสม รวมทั้งคนในชุมชน ให้ความสำคัญของทันตสุขภาพของตนเองมากขึ้น และเป็นการส่งเสริม ป้องกัน ไม่ให้โรคในช่องปากลุกลามและทวีความรุนแรงมากกว่าเดิม อีกทั้งเป็นการสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดวางแผนแก้ไขปัญหาโดยใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชนมาประยุกต์ใช้ตามภูมิปัญญาชาวบ้านโดยการจัดทำน้ำยาบ้วนปากจากสมุนไพร เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อจากท้องตลาดและสามารถทำใช้ในครัวเรือนได้ พร้อมทั้งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดีต่อไป จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนารูปแบบเกี่ยวกับการดูแลการดูแลสุขภาพช่องปากโดยมีคนในชุมชนเป็นแกนนำ 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในชุมชน 3. เพื่อพัฒนาทักษะในการทำความสะอาดช่องปากของผู้สูงอายุ

1 แกนนำมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นและสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชุมชนได้ 2 ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มมากขึ้น 3 ผู้สูงอายุได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก 4 เกิดความมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพผู้สูงอายุ 5 ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมสามารถทำน้ำยาบ้วนปากจากสมุนไพรได้ด้วยตนเอง

4.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 15
กลุ่มผู้สูงอายุ 300
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 กิจกรรมพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย - ค่าอาหารว่างสำหรับแกนนำจำนวน 15 คนX 25บาท X 2 มื้อ X 1 วัน เป็นเงิน750บาท - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 15 คนX 50บาท X 1 มื้อ X 1 วัน เป็นเงิน750บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง x 300 บาท X 1 วันเป็นเงิน1,200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 แกนนำมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นและสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชุมชนได้ 2 ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพัฒนาทักษะส่วนบุคคลให้สอดคลองกับวีถีชุมชนให้กับผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาทักษะส่วนบุคคลให้สอดคลองกับวีถีชุมชนให้กับผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2 กิจกกรม พัฒนาทักษะส่วนบุคคลให้สอดคลองกับวีถีชุมชนให้กับผู้สูงอายุ - ค่าอาหารว่างสำหรับผู้สูงอายุ ในการลงดำเนินการตรวจสุขภาพช่องปาก ในพื้นที่              จำนวน 300 คนX 25 บาท X 1 มื้อ                               เป็นเงิน   7,500บาท -ค่าตอบแทนแกนนำในการลงพื้นที่ให้ความรู้ ตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ        จำนวน 100 บาท X 15 คน X 3 หมู่บ้าน  X 2 ครั้ง                   เป็นเงิน  9,000บาท -อุปกรณ์ทำน้ำยาบ้วนปาก                                        เป็นเงิน  2,500บาท ( ประกอบด้วย กานพลู,อบเชย,มินท์,ขวดใส่น้ำยา) -ค่าจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.2 *2.5 เมตร           เป็นเงิน  750บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 ผู้สูงอายุได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก 2 เกิดความมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพผู้สูงอายุ 3 ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมสามารถทำน้ำยาบ้วนปากจากสมุนไพรได้ด้วยตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,950.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 แกนนำมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นและสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชุมชนได้
2 ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มมากขึ้น
3 ผู้สูงอายุได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก
4 เกิดความมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพผู้สูงอายุ
5 ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมสามารถทำน้ำยาบ้วนปากจากสมุนไพรได้ด้วยตนเอง


>