กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจสุขภาพประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน

หมู่ที่ 3บ้านในบ้าน
1.นางสาวยุภาหีมปอง
2.นางสาวน้องสร้อยลาทัพ
3.นางอัชรี มานนะกล้า
4.นางสาวปราณีหยีปอง
5.นางสาวรัฐสิมาควนข้อง

หมู่ที่ 3บ้านในบ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันผักที่นำมาใช้ปรุงอาหารในครัวเรือนเป็นผักที่จัดซื้อตามท้องตลาดนัด ซึงผักส่วนใหญ่มีการปนเปื้อนสารเคมี โดยปกติก่อนการปรุง ล้างทำความสะอาดอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถชะล้างสารตกค้างออกได้ทั้งหมด ส่งผลให้ผู้บริโภคอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง หากเยาวชนรับประทานอาหารผักที่มีสารเคมีปนเปื้อน จะมีสะสมในร่างกายทำให้มีปัญหาด้านสุขภาพที่ในช่วงที่มีอายุยังน้อย แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการรณรงค์ในเรื่องการลดละเลี่ยงการใช้สารพิษในการเกษตร แต่ส่วนใหญ่ยังคงทำในรูปแบบเดิม ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยทางด้านสุขภาพของผู้บริโภค ทางชุมชนในบ้าน จึงเล็งเห็นความสำคัญตรงนี้ จัดโครงการเยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจสุขภาพ ขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากสารเคมีสะสมในร่างกาย เพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง จากการได้รับประทานผักปลอดสารพิษในปริมาณที่เพียงพอ และเป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน และนำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ในเรื่องผักปลอดสารพิษ

ข้อที่ 1 เยาวชนมีความรู้ในเรื่องของผักปลอดสารพิษ ร้อยละ 100

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้เยาวชนมีสุขภาพดีด้วยการกินผักปลอดสารพิษ

ข้อที่ 2.เยาวชนมีสุขภาพดี ด้วยการกินผักปลอดสารพิษ
ร้อยละ 100

0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษ

ข้อที่ 3. เยาวชนมีจิตสำนึกของการปลูกผักปลอดสารพิษ
ร้อยละ  100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 31/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1. ช่วงเช้า 1.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีในผัก และการปลูกผักแบบปลอดสารเคมี กิจกรรมที่ 2. ช่วงบ่าย 1.การสาธิตพร้อมปฏิบัติจริงในการปลูกผักสวนครัวแบบง่าย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1. ช่วงเช้า 1.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีในผัก และการปลูกผักแบบปลอดสารเคมี กิจกรรมที่ 2. ช่วงบ่าย 1.การสาธิตพร้อมปฏิบัติจริงในการปลูกผักสวนครัวแบบง่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดงบประมาณ กิจกรรมที่ 1 ช่วงเช้า อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีในผัก และการปลูกผักแบบปลอดสารเคมี 1.ค่าอาหารว่างเช้า จำนวน 50 คนๆละ35.-บาท เป็นเงิน 1,750.-บาท 2.ค่าอาหารเที่ยง จำนวน 50 คน ๆละ70.-บาท เป็นเงิน 3,500.-บาท 3.ค่าแฟ้ม สมุด ดินสอ ไม้บรรทัด   จำนวน 50 ชุด ๆละ 35.-บาท เป็นเงิน 1,750.-บาท
4.ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมง ๆละ 600.-บาท เป็นเงิน 1,800.-บาท
รวมเป็นเงิน 8,800.-บาท กิจกรรมที่ 2 (ช่วงบ่าย) การสาธิตพร้อมปฏิบัติจริงในการปลูกผักสวนครัวแบบง่าย 1.ค่าอาหารว่างบ่าย จำนวน 50 คน ๆละ 35.-บาทเป็นเงิน 1,750.-บาท 2.ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมง ๆละ 600.-บาท เป็นเงิน 1,800.-บาท
3.กระถางจำนวน 100 ใบๆละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500.-บาท 4.ดินปลูก 50 ถุง ๆละ 39 บาท เป็นเงิน 1,950.-บาท 5.เมล็ดพันธ์ผัก  จำนวน 35x100 เป็นเงิน 3,500.-บาท
6.ถาดหลุมเพาะต้นกล้าผัก 25x50 เป็นเงิน1,250.-บาท 7.ถุงมือ 2 กล่อง ๆละ 350.-บาท  เป็นเงิน 700.-บาท
8 ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500.-บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 23,750.-บาท  หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เยาวชนมีความรู้เรื่องผักปลอดสารพิษ 2.เยาวชนมีสุขภาพดีด้วยการกินผักปลอดสารพิษ
3.เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เยาวชนมีความรู้เรื่องผักปลอดสารพิษ
2.เยาวชนมีสุขภาพดีด้วยการกินผักปลอดสารพิษ
3.เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษ


>