กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโล๊ะหะลอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างแกนนำส่งเสริมสุขภาวะเยาวชนป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโล๊ะหะลอ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอบต.ตะโละหะลอ

อบต.ตะโละหะลอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

“การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” กรมอนามัยได้กำหนดนิยาม หมายถึง จำนวนการคลอดบุตรมีชีวิตของหญิงอายุ 15-19 ปี หรือ 10-14 ปี ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี (Adolescent birth rate) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่นานาชาติต้องบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ.2573 โดยได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี และอายุ 15-19 ปี เป็นหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่เพียงแต่เป็นปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังเป็นปัญหาด้านประชากรที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย
สำหรับตำบลตะโละหะลอมีจำนวนการคลอดในหญิงอายุ 15 - 19 ปี ในปี 2565 - 2566 จำนวน 8 และ 6 คน ซึ่งมีทั้งการคลอดก่อนและหลังการสมรส โดยส่วนหนึ่งเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น ทั้งนี้เกิดจากวัยรุ่นบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องเพศศึกษาประกอบกับขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสมจากครอบครัว รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยการขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ทางเพศของตนเอง จึงอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นผลให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆตามมา ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จากเหตุผลดังกล่าวกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละหะลอได้ตระหนักและความจำเป็นต่อการจัดการแก้ไขปัญหาสภาวะสุขภาพของเยาวชนตำบลตะโละหะลอเพื่อให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการสร้างแกนนำส่งเสริมสุขภาวะเยาวชนป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรให้แก่เยาวชน ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (โรคเอดส์)และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรให้แก่เยาวชนและผู้ปกคร

ผู้เข้ารับการอบรมมีองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (โรคเอดส์) และ การป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรให้แก่เยาวชนและผู้ปกครอง

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มวัยรุ่นมีทักษะชีวิตในการป้องกัน ตัวเอง ทักษะการคิด การวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะการปฏิเสธ และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันท้องไม่พร้อม

กลุ่มเป้าหมายมีทักษะชีวิตในการป้องกัน ตัวเอง ทักษะการคิด การวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะการปฏิเสธ และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันท้องไม่พร้อม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/07/2023

กำหนดเสร็จ 27/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหาร50 บาท X 50 คน X 1มื้อ เป็นเงิน 2,500.00 บาท

  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 35 บาท X 50 คน X 1 มื้อ เป็นเงิน 1,750.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 กรกฎาคม 2566 ถึง 26 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4250.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เยาวชนในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (โรคเอดส์)

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เยาวชนในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (โรคเอดส์)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหาร  50 บาท X 100 คน X 1  มื้อ เป็นเงิน 5,000.00 บาท
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 35 บาท X 100 คน X 2 มื้อ เป็นเงิน7,000.00 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน  6,900.00 บาท
  • ค่าวิทยากร 600  บาท X 5 ชม. เป็นเงิน3,000.00 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด  1× 3  เมตร   1  ผืน เป็นเงิน  900.00 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กรกฎาคม 2566 ถึง 27 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (โรคเอดส์) และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

2.การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น ตำบลตะโละหะลอมีจำนวนลดลง

3.เยาวชนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์(โรคเอดส์) และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

4.เยาวชนและผู้ปกครองเกิดความเข้าใจ สามารถปรับตัว ปรับเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน


>