กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

การประเมินภาวะโภชนาการ และแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะรัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะรัง

นางสาวสุรีดาสาและ, นายกามาลูดิงเจ๊ะมิง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะรัง หมู่ที่ 5 ตำบลจะรัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตำบลจะรัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี พบว่าปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กเป็นหนึ่งปัญหาด้านอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่ที่จะต้องรีบดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างนักจัดการแก้ไขปัญหาและพัฒนาภาวะโภชนาการในตำบลจะรัง อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ให้มีศักยภาพในการทำงานร่วมกับการเชื่อมโยงเครือข่ายในพื้นที่ 2.เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการจัดการแก้ไขปัญหาภาวะการกินยากของเด็ก ให้กับผู้ปกครองที่บุตรมีภาวะทุพโภชนาการ 3.เพื่อปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก อายุ1-5 ปี ในตำบลจะรัง 4.เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการแก้ไข้ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กในระดับชุมชน

เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนมีภาวะโภชนาการปกติร้อยละ 90

80.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 32
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลจะรัง 2
ผู้ดูแลเด็ก 30
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 14

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การประเมินภาวะโภชนาการและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
การประเมินภาวะโภชนาการและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจข้อมูลเด็ก อายุ 1-5 ปี ที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ 1.2 ประชุมคณะทำงาน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ 1.3 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล 2ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. ครูศพด.และผู้ดูแลเด็ก ประเด็นโภชนาการในเด็ก มีเนื้อหาดังนี้ 2.1.1 ความรู้โภชนศาสตร์ในเด็กเล็ก 2.1.2 เมนูอาหารเพื่อพัฒนาโภชนาการ 2.1.3 สำหรับการกระตุ้นโภชนาการโดยใช้ความรู้การแพทย์แผนไทยเบื้องต้น 2.1.4หลักใช้หลักการพฤติกรรมบำบัด สำหรับแก้ไขปัญหาเด็กที่มีภาวะกินยาก 2.2 สนับสนุนอาหารเสริมที่อุดมด้วยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตคุณภาพสูงแก่เด็กที่เข้าร่วมโครงการ 2.3 ปฏิบัติการการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 1-5 ปี 2.4 การายงานผลการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ การปฏิบัติและทัศนคติด้านโภชนาการของผู้ปกครอง และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเด็ก 2.5 ติดตามและประเมินการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กอายุ 1-5 ปี โดยติดตามเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหาร คุณภาพของอาหาร น้ำหนัก ส่วนสูงของเด็กที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีการติดตามทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยมีการติดตามดังนี้ 2.5.1 ติดตามโดย อสม. ทุก 2 สัปดาห์ ใน 1 เดือนแรก 2.5.2 ติดตามโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ใน ทุก 2 เดือนหลัง 2.6 เก็บข้อมูลพื้นฐานสภาพแวดล้อมภายในชุมชน และข้อมูลส่วนตัวของเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการที่เข้าร่วมโครงการ ติดตามข้อมูลระหว่างการดำเนินการ เพื่อเป็นตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพของการการดำเนินงาน 2.7 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนมีภาวะโภชนาการปกติร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
101140.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 101,140.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กได้รับการตรวจการประเมินภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ และเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาได้รับการแก้ไขทุกคน


>