กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาพร่างกายผู้สูงอายุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)

1. นายสวัสดิ์ฤทธิศักดิ์ ประธานชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)
2. นายถนอมตุลยนิษก์
3. นางอารมณ์บุญวงศ์
4. นางร่วมกลิ่นวัยรัตน์
5. นางชัชศรีคงมาก

ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตำบลบ้านนามีประชากรทั้งหมด 7,454 คน เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 1,479 คน คิดเป็นร้อยละ 19.84 ของจำนวนประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจาก HDC ปีงบประมาณ 2565) จะเห็นได้ว่า ตำบลบ้านนามีผู้สูงอายุเกินกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด แสดงว่าตำบลบ้านนากลายเป็นพื้นที่ที่เป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุมีเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัญหาผู้สูงอายุขาดการจัดการและกลไกการจัดการดูแลผู้สูงอายุที่ไม่ครอบคลุมไม่ทั่วถึง ขาดลูกหลานดูแล ทั้งยังส่งผลให้ในกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยที่พักอาศัยอยู่ที่บ้านเกิดวิตกกังวล ซึ่งมีแนวโน้มเกิดโรคเครียดเพิ่มขึ้น
ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องของผู้สูงอายุและลูกหลานหรือผู้ดูแล มีสาเหตุมาจากส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ทำให้กินอาหารที่ไม่เหมาะสม หวานมันเค็มเกิน ร้อยละ 60 ของกลุ่มผู้สูงวัย มีการกินผักและอาหารเพื่อสุขภาพที่เหมาะสมกับวัยน้อยลง ขาดการเอาใจใส่ดูแลจากลูกหลาน เมื่ออายุที่มากขึ้น ร่างกายเสื่อมถอยลง ประสิทธิภาพในการทำงานหรือทำกิจวัตรประจำวันลดลง ทำให้ถูกมองว่าขาดคุณค่า และเมื่อบุคคลอันเป็นที่รักอย่างเช่นคู่ครองหรือบุคคลในครอบครัวเสียชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุยิ่งรู้สึกโดดเดี่ยว
จากปัญหาสุขภาพดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) เห็นความสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงขอเสนอโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาพกายใจ ผู้สูงอายุ ประจำปี 2566 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจวิธีการดูแลสุขภาพจิต สุขภาพใจเบื้องต้นอย่างถูกต้อง เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสเรียนรู้การจัดการสุขภาพนอกสถานที่ และพัฒนาศักยภาพของตนเอง นำความรู้ที่ได้รับมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม และเพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมอย่างมีความสุข สร้างความรักความสามัคคี สามารถพึ่งพาอาศัย และเอื้ออาทรต่อกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น

 

10.00 12.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจวิธีการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพใจเบื้องต้นอย่างถูกต้อง

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสเรียนรู้การจัดการสุขภาพนอกสถานที่ และพัฒนาศักยภาพของตนเอง นำความรู้ที่ได้รับมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 45
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 เวทีสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 เวทีสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สร้างความเข้าใจโครงการและการขับเคลื่อนการจัดการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกับตัวแทน อสม.ผู้ดูแล รพ.ท้องถิ่นและภาคีพัฒนาอื่น
- ไม่ใช้งบประมาณ -

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กรกฎาคม 2566 ถึง 28 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แกนนำผู้สูงอายุ จำนวน 45 คน
แกนนำผู้สูงอายุเข้าใจการขับเคลื่อนโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้การขับเคลื่อนการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุนอกสถานที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้การขับเคลื่อนการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุนอกสถานที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แกนนำผู้สูงอายุและเจ้าหน้าที่ จำนวน 45 คน เรียนรู้จากพื้นที่ต้นแบบการขับเคลื่อนการส่งเสริมการกลไกการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และเสริมศักยภาพให้ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะ การดูแลสุขภาพและการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ มีกิจกรรมและพื้นที่สร้างสรรค์สร้างสุขให้กับผู้สูงอายุ
งบประมาณ
วันที่ 1
- ค่าอาหาร (ไม่ครบมื้อ) จำนวน 45 คน x 300 บาท เป็นเงิน 13,500 บาท
วันที่ 2
- ค่าอาหาร (ครบมื้อ) จำนวน 45 คน x 400 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท
วันที่ 3
- ค่าอาหาร (ไม่ครบมื้อ) จำนวน 45 คน x 200 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 สิงหาคม 2566 ถึง 10 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แกนนำผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจการจัดการสุขภาพ พัฒนาศักยภาพของตนเอง และนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวมได้
  2. สร้างเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุให้เข้มแข็งและมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ประชุมติดตามประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ประชุมติดตามประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาการดำเนินงานโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการ
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 45 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 สิงหาคม 2566 ถึง 17 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชมรมผู้สูงอายุมีความเข้มแข็ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1125.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,625.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
2. ผู้สูงอายุได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นหมู่คณะก่อให้เกิดความสามัคคี มีขวัญและกำลังใจดี รู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และในกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกัน
3. ชมรมผู้สูงอายุมีความเข้มแข็งและมีกิจกรรมทำร่วมกันอย่างต่อเนื่อง


>