กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ ส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรและแพทย์แผนไทย ประจำปี ๒๕๖๖ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ รพ.สต.บองอ

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรและแพทย์แผนไทย ประจำปี ๒๕๖๖ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ รพ.สต.บองอ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ รพ.สต.บองออำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

1. นางสาวรอซื้อนะห์ เจ๊ะมะ
2. นางสาวรอพียะห์ สาและ
3. นางอารือนิง สะมะแอ
4. นางสาวนาปีซะห์ เปาะจิ
5. นางอวยพร เม่งอำพัน

พื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองออำเภอระแงะจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การส่งเสริมสุขภาพ เป็นมิติหนึ่งทางสุขภาพที่มีความสำคัญมากที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุข ในการส่งเสริมสุขภาพจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของมิติสุขภาพ เข้าใจหลักและวิธีปฏิบัติใน การส่งเสริมสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง การที่ประชาชนจะหันมาใส่ใจดูแล สุขภาพของตนเองนั้นจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีความเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับตนเองแล้วเท่านั้น ซึ่งการปฏิบัติตัวแบบนี้เป็นการ รักษาตนเองที่ปลายเหตุไม่มีทางที่จะใช้ชีวิตโดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆได้ การจัดการกับปัญหาด้านสุขภาพที่ ต้นเหตุของปัญหาต่างหากที่จะสามารถรักษาร่างกายของมนุษย์ให้ดำรงชีวิตอยู่แบบปราศจากโรคภัย สาเหตุที่ทำให้ ประชาชนเกิดปัญหาทางสุขภาพมากที่สุด คือการดำรงชีวิตในปัจจุบันที่ไม่รู้จักความเป็นอยู่ที่พอเพียง ทำให้ร่างกายเกิดความเครียด วิตกกังวล การบริโภคอาหารที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ รวมไปถึงการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอและปัญหา ต่าง ๆที่ตามมาอีกมากมาย การหันกลับมาสนใจการใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ การพึ่งพาธรรมชาติตามแนวคิดทฤษฏี การแพทย์แผนไทยที่มุ่งดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยมองมิติทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสิ่งแวดล้อม สิ่ง เหล่านี้ช่วยเพิ่มความสมดุลให้กับชีวิตมนุษย์ ดังนั้นการเพิ่มพูนความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมให้แกประชาชนและชุมชนให้สามารถดูแลตัวเองได้จึงนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพห่างไกลโรค ที่แท้จริง
การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยอาศัยการนำเอาองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์ พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกรวมถึงการนำเอาธรรมชาติรอบตัวมาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ เช่นการรักษาโรคด้วย สมุนไพร การออกกำลังกายด้วยกายบริหารฤๅษีดัดตน การนวด อบ และประคบด้วยสมุนไพร การรับประทาน อาหารตามหลักธรรมชาติบำบัด การทำสมาธิบำบัด เป็นต้น เมื่อมีการนำองค์ความรู้ เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้วน่าจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถ พึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาสุขภาพเองได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรักษาสุขภาพของประชาชนอีกด้วย ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ รพ.สต.บองอจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรและแพทย์แผนไทย เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ร้อยละ ๘๐

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ร้อยละ ๘๐

50.00 80.00
2 ๒. เพื่อให้เกิดนวัตกรรมจากสมุนไพร อย่างน้อย ๑ ชิ้น

เกิดนวัตกรรมจากสมุนไพร อย่างน้อย ๒ ชิ้น

0.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 210
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๑. กิจกรรม ให้ความรู้การดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน ๓ รุ่น

ชื่อกิจกรรม
๑. กิจกรรม ให้ความรู้การดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน ๓ รุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าไวนิลป้ายโครงการ ๑ แผ่น ขนาด ๑x๓ เมตร เป็นเงิน๗๕๐บาท -ค่าอาหารกลางวัน๒๓๗ คน x ๕๐ บาท x ๓ รุ่นๆละ ๗๙ คน เป็นเงิน๑๑,๘๕๐บาท -ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม๒๓๗ คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ x ๓ รุ่นๆละ ๗๙ คน เป็นเงิน๑๑,๘๕๐บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร ๖ ชม.ๆละ ๖๐๐ บาทx ๓ รุ่น เป็นเงิน๑๐,๘๐๐บาท รวมเป็น๓๕,๒๕๐บาท

กำหนดการอบรมให้ความรู้ ตาม โครงการ ส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรและแพทย์แผนไทย ประจำปี ๒๕๖๖ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ อำเภอระแงะจังหวัดนราธิวาส

กิจกรรม ให้ความรู้การดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นจำนวน ๓ รุ่น

เวลา กิจกรรม 08.30 น. – 08.45 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 08.45 น. - 10.30 น. อบรมเรื่อง สมุนไพร รอบตัว รักษาโรค โดยนางสาวมนาลหะมะ
10.30 น. - 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
10.45 น. - 12.00 น. อบรมเรื่อง สมุนไพร รอบตัว รักษาโรค โดยนางสาวนางสาวมนาลหะมะ
12.00 น. - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 14.45 น. อบรมเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยนางสาวนางสาวมนาลหะมะ
14.45 น. – 15.00 น. รับประทานอาหารว่าง
15.00 น. - 16.15 น. จัดกิจกรรมกลุ่มแลกเปลียนเรียนรู้ โดยนางสาวนางสาวมนาลหะมะ
16.15 น. – 16.30 น. ปิดการอบรม

หมายเหตุ : วันและเวลาดังกล่าว อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวแทนครัวเรือน มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องสมุนไพรใกล้ตัว  ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35250.00

กิจกรรมที่ 2 ๓. กิจกรรม การพัฒนาสมุนไพรสู่นวัตกรรมแพทย์แผนไทย

ชื่อกิจกรรม
๓. กิจกรรม การพัฒนาสมุนไพรสู่นวัตกรรมแพทย์แผนไทย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวัสดุอุปกรณ์เป็นเงินยาพอกเข่าสมุนไพรรวมเป็นเงิน 9,372 บาท 1. ไพลบด 2 กิโลกรัมเป็นเงิน 496 บาท 2. พยายอบด 2 กิโลกรัมเป็นเงิน 250 บาท 3. ปูนแดง 2 กิโลกรัม เป็นเงิน 336 บาท 4. ดองดึงบด 2 กิโลกรัม เป็นเงิน 890 บาท 5. กะละมัง เป็นเงิน 200 บาท 6. แป้งข้าวเจ้า เป็นเงิน 980 บาท 7. ไม้คน เป็นเงิน 200 บาท 8. แอลกอฮอล์ 70% เป็นเงิน 3,920 บาท 9. ถุงซิบล็อก เป็นเงิน 1050 บาท 10. สติ้กเกอร์ยาเป็นเงิน 1,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร  อย่างน้อย 2 ชิ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9372.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,622.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น
๒. เกิดนวัตกรรมจากสมุนไพร อย่างน้อย ๑ ชิ้น


>