กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยาวชนวัยใส ห่างไกลยาเสพติด ม.8

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

กลุ่มตาดีกาม.8

นายฆูซัยฟะห์ สาเมาะ โทรศัพท์ 080-4480954

ณ ตาดีกาโรงเรียนชุมชนบ้านยูโยม.8

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องด้วยชุมชนบ้านยูโย หมู่ที่ 8 ตำบลบานา เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่มีภาวะเสี่ยง ที่จะเผชิญกับปัญหา ยาเสพติด เด็กติดเกมส์ออนไลน์ และเด็กหยุดเรียนก่อนที่จะจบการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาการรับสื่อจากสื่อโซเชียวมีเดีย เกิดการอยากรู้ อยากเห็น อยากลอง ความคึกคะนอง และการขาดความรู้ความเข้าใจและขาดการชี้แนะจากผู้ปกครองถึงโทษภัยที่จะเกิดขึ้นเมื่อติดยาเสพติดและอบายมุขเหล่านั้นขึ้นมา
ดังนั้น ทางคณะกรรมการหมู่บ้านและกลุ่มตาดีกา ม.8 จึงเล็งเห็นความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดกิจกรรมเสริมความรู้ให้กับกลุ่มเด็กตารีกา ม.8 ในพื้นที่เพื่อเป็นการเสริมสร้างเกราะภูมิคุ้มกัน เพื่อเสริมความรู้ทางด้านสุขภาวะ ทางปัญญา โดยให้มีการฝึกอบรมรับฟังการบรรยายเกี่ยวกับโทษภัยของยาเสพติดและอบายมุขจากวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถเพื่อให้กลุ่มเด็กตาดีกาหมู่ที่ 8 มีสุขภาพที่ดีทางด้านจิตใจ ทางด้านร่างกาย และทางด้านสติปัญญา และเพื่อให้กลุ่มเด็กและเยาวชนได้ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุขในพื้นที่ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของยาเสพติด

 

0.00
2 เพื่อลดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษา

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 136
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/07/2023

กำหนดเสร็จ 16/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดจำนวน 2 รุ่นทั้งหมด 136 คนโดยแบ่งเป็นรุ่นอายุ 6-8 ปี รุ่นที่ 1 และอายุ 9-12รุ่นที่ 2

1.1. ให้ความรู้เรื่องยาเสพติดและวิธีหลีกเลี่ยงยาเสพติดและอบายมุข

1.2. ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยาเสพติด

1.3. สันทนาการเกี่ยวกับยาเสพติด

1.4. เดินรงณรงค์ต่อต้านยาเสพติด

ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 60 บาท x 136 คน x 1 มื้อเป็นเงิน 8,160.-บาท

ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 35 บาท x 136คน x 2 มื้อเป็นเงิน9,520.- บาท

ค่าตอบแทนวิทยากร 300 บาท x 6 ชั่วโมง x 2 วัน เป็นเงิน 3,600.- บาท

ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1 x 3 เมตร 1ผืน เป็นเงิน 1,000.-บาท

ค่าป้ายไวนิลเดินรงณรงค์ต่อต้านยาเสพติด1 x 3 เมตร 4ผืน X750 บาท เป็นเงิน 3,000.- บาท

ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 3,400.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กรกฎาคม 2566 ถึง 23 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28680.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,680.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกายและสุขภาพ

2.สร้างความเข้มแข็งในการเอาชนะปัญหายาเสพติดให้กับเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.แกนนำนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดไปยังเพื่อนนักเรียนและคนใบครอบครัว

4.การขยายตัวของปัญหายาเสพติด และการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษาลดลง


>