กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

การคัดแยกขยะภายในหมู่บ้าน ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

กลุ่มรักสุขภาพหมู่ที่ 5

หมู่ 5 ตำบลศาลาใหม่อำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันคนในหมู่บ้านไม่ค่อยมีความตราหนักถึงการจัดแยกขยะและทิ้งขยะให้เป็นที่เรียบร้อย เนื่องจากภายในหมู่บ้านได้มีขยะเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆและอาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายในหมู่บ้าน โดยขยะบางชนิดอาจจะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ขยะบางชนิดอาจทำให้เกิดอันตรายได้ การที่ชาวบ้านในหมู่บ้านยังทิ้งขยะในแบบรวมๆเพราะยังขาดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งเพื่อลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่มาเก็บขยะ จากสภาวะดังกล่าว จึงควรส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเพื่อลดปัญหาขยะในหมู่บ้าน
ดังนั้นทางกลุ่มจึงมีแนวคิดและเห็นถึงความสำคัญในการกำจัดขยะในหมู่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการการคัดแยกขยะภายในหมู่บ้าน ประจำปี 2566เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะ กำจัดขยะอย่างถูกต้องและปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้ วิธีการ ขั้นตอนในการคัดแยกขยะให้ ถูกต้องและสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำได้

1.  สมาชิกกลุ่ม  ร้อยละ 75 ได้รับความรู้ วิธีการ ขั้นตอนในการคัดแยกขยะให้ ถูกต้องและสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำได้

1.00
2 2. เพื่อได้รับความรู้ความเข้าใจมีผลกระทบจากขยะต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา

2.  สมาชิกกลุ่ม  ร้อยละ 75 ได้รับความรู้ความเข้าใจมีผลกระทบจากขยะต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 65
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดการฝึกอบรมให้ความรู้/ความเข้าใจ ปลูกฝั่งจิตสำนึก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดการฝึกอบรมให้ความรู้/ความเข้าใจ ปลูกฝั่งจิตสำนึก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 65 คนx70 บาทx 1 มื้อ เป็นเงิน 4,550.- บาท
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คน x 25 บาท x 2 มื้อ  เป็นเงิน 3,250.- บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คนๆ ละ 3 ชม.ๆ ละ 500 บาท  เป็นเงิน 3,000.- บาท
  • ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2× เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 2,000.- บาท
  • ค่าวัสดุและเอกสารประกอบการบรรยาย  ประกอบด้วย
  • ค่าเอกสารประกอบการอบรม 65x32 = 2,080.- บาท
    • ค่าแฟ้มเอกสาร 65x45 = 2,925.- บาท
    • ค่าสมุดปกอ่อน 65x15 =975.- บาท
    • ค่าปากกา 65x10 = 650.- บาท
    • ค่ากระดาษ A4  1  ริม = 150.- บาท
    • ค่าปากกาเคมีสีน้ำเงิน   1 โหล = 180.- บาท
    • ค่าปากกาเคมีสีแดง   1 โหล = 180.- บาท
  • ค่ากระดาษขาว-เทา  20  แผ่นๆละ 12 บาท.- = 240.- บาท
  • ค่าเช่าเครื่องเสียง เป็นเงิน 1,000.- บาท รวมเป็นเงิน  21,180  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เยาวชนสามารถคัดแยกขยะได้อน่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21180.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,180.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ทำให้เยาวชนได้รับความรู้ วิธีการ ขั้นตอนในการคัดแยกขยะให้ถูกต้องและสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำได้
2.ทำให้การกำจัดขยะกำจัดง่ายถูกต้องและปลอดภัยไม่กระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา


>