กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอุปกรณ์พร้อมใช้ อสม.ร่วมใจ ห่วงใยประชาชน คัดกรองความดัน เบาหวาน ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะรัง

รพ.สต จะรัง

นางสาวนียานีขารี

หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6 และ 7 ตำบลจะรัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคความดันโลหิตสูงประชากรในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป อำเภอยะหริ่ง คัดกรองได้ร้อยละ 94.81, 96.61 และ 97.33 ตามลำดับ พบกลุ่มเสี่ยงคิดเป็นร้อยละ 6.74, 6.99 และ 4.38 ตามลำดับ สำหรับตำบลจะรัง มีการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงประชากรในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป คัดกรองได้ร

โรคความดันโลหิตสูงประชากรในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป อำเภอยะหริ่ง คัดกรองได้ร้อยละ 94.81, 96.61 และ 97.33 ตามลำดับ พบกลุ่มเสี่ยงคิดเป็นร้อยละ 6.74, 6.99 และ 4.38 ตามลำดับ สำหรับตำบลจะรัง มีการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงประชากรในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป คัดกรองได้ร้อยละ 97.97, 97.03 และ 97.27 ตามลำดับ พบกลุ่มเสี่ยงคิดเป็นร้อยละ 3.72, 11.91 และ 4.03 ตามลำดับ จากสถานการณ์ของปัญหาข้างต้น จึงเห็นได้ว่า แนวโน้มของประชากรที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และสงสัยป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้น รวมถึงการควบคุมรักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานก็ยังเป็นปัญหาหลักๆที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ บวกกับขนบธรรมเนียมประเพณี การรับประทานอาหารของประชาชนในตำบลจะรัง ซึ่งค่อนข้างเป็นชุมชนวัยทำงาน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุวัยทำงาน มักซื้ออาหารนอกบ้านรับประทาน และถ้าปรุงอาหารกินเองก็มักจะเป็นอาหารที่เป็นจำพวกมัน หวาน และอาหารรสจัด ดังนั้น ตำบลจะรัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีมีจำนวนประชากรที่มีอายุ35ปีขึ้นไป ปีงบประมาณ 2566 ที่ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ทั้งหมด 1,727 คน ดังนั้น ชมรมสร้างเสริมสุขภาพตำบลจะรัง ร่วมกับอาสาสมัครประจำหมู่บ้านตำบลจะรัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จึงต้องดำเนินงานเน้นนโยบายเชิงรุก เร่งการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจึงได้จัดทำโครงการอุปกรณ์พร้อมใช้
อสม.ร่วมใจ ห่วงใยประชาชน คัดกรองความดัน เบาหวาน ปีงบประมาณ 2566 เพื่อให้สะดวกในการคัดกรองโรคต่างๆเบื้องต้น เพื่อประชาชนมีความสะดวกในการรับบริการตรวจสุขภาพเบื้องต้นในหมู่บ้านที่ประชาชนอาศัยอยู่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการที่จะเข้าถึงบริการในกรณีที่จำเป็น โดยที่บางครั้งไม่จำเป็นที่จะต้องไปรับบริการที่ รพ.สต. เป็นการประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายให้กับผู้รับบริการ และเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อีกทางหนึ่งด้วยการวัดความดันโลหิต ตรวจคัดกรองเบาหวาน ชั่งน้ำหนัก รวมถึงการให้บริการช่วงเวลาที่มีการรณรงค์ตรวจสุขภาพในพื้นที่ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมขั้นพื้นฐานที่สามารถดำเนินการในหมู่บ้านได้โดย อสม.

80.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชากรที่มีอายุ 35ปีขึ้นไป ที่ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิต สูงได้รับการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตอย่างน้อยร้อยละ 90 2. เพื่อจัดระบบฐานข้อมูลแยกประเภทผู้ที่ได้รับการตรวจคัดกรองค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิต เป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่สงสัยเป็นผู้ป่วยรายใหม่ 3. ประชากรกลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและเปลี่ยนเป็นประชากรกลุ่มปกติเพิ่มขึ้น 4. ประชากรกลุ่มที่สงสัยป่วยรายใหม่ ของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้รับการประเมินซ้ำ และส่งต่อเพื่อรับการรักษาต่อไป 5. เพื่อให้ อสม.ในหมู่บ้านมีอุปกรณ์ที่เพียงพอ และพร้อมใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้บริการประชาชน 6. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้น

1 ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงพร้อมรับทราบภาวะสุขภาพของตนเองว่าอยู่ในกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มสงสัยป่วยรายใหม่ 2 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเหมาะสมและยั่งยืนตามบริบท ลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 3 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มสงสัยป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อทันที 4 ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ตรวจสุขภาพเบื้องต้นกับ อสม.ในพื้นที่ได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,057
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
1 ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติและขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลจะรัง อำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี 1.2. รวบรวมรายชื่อประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจากฐานข้อมูลประชากร 1.3. ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบเพื่อรับบริการตามวันและเวลาที่กำหนด 2 ขั้นดำเนินงาน 2.1. จัดซื้ออุปกรณ์พร้อมใช้ให้ อสม. เพื่อใช้ในการตรวจคัดกรอง ประเมินสุขภาพให้แก่ประชาชน 2.2. ปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติงานดำเนินการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิต โดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงวัดรอบเอว ประเมินดัชนีมวลกาย และวัดอุณหภูมิร่างกาย พร้อมคืนข้อมูลผลการตรวจคัดกรองให้กับกลุ่มเป้าหมายรับทราบสภาวะสุขภาพของตนเองเป็นรายบุคคล 2.3. บันทึกข้อมูลผลการตรวจคัดกรอง ลงในโปรแกรมJHCIS เพื่อแยกประเภทผู้ที่ได้รับการ ตรวจคัดกรองค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิต  เป็นกลุ่มปกติ  กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่สงสัยเป็นผู้ป่วยรายใหม่ โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2.4. รวบรวมข้อมูลรายชื่อประชากรกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองเพื่อติดตามและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและกลุ่มสงสัยป่วยรายใหม่เพื่อดำเนินการส่งต่อทันที 2.5. ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยง โดยอาสาสมัครประจำหมู่บ้านในละแวกของตนเองภายในระยะเวลา 3-6 เดือน พร้อมคืนข้อมูลผลการตรวจคัดกรองซ้ำให้กับกลุ่มเป้าหมายรับทราบสภาวะสุขภาพของตนเองเป็นรายบุคคลโดยอาสาสมัครประจำหมู่บ้านติดตามวัดความดันโลหิต (Home BP) และตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 2.6. ประชากรกลุ่มเป้าหมายสงสัยป่วยรายใหม่ที่ได้รับการส่งต่อและวินิจฉัยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยรายใหม่ ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล 3.1. สรุปผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พร้อมการส่งต่อและประเมินโครงการเมื่อดำเนินโครงการเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด 3.2. วิเคราะห์ ติดตามและประเมินผล ติดตามกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วยทุก 3 เดือน 3.3. รายงานผลการดำเนินงานให้กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงพร้อมรับทราบภาวะสุขภาพของตนเองว่าอยู่ในกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มสงสัยป่วยรายใหม่ 2 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเหมาะสมและยั่งยืนตามบริบท ลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 3 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มสงสัยป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อทันที 4 ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ตรวจสุขภาพเบื้องต้นกับ อสม.ในพื้นที่ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
46678.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,678.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงพร้อมรับทราบภาวะสุขภาพของตนเองว่าอยู่ในกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มสงสัยป่วยรายใหม่
2 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเหมาะสมและยั่งยืนตามบริบท ลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
3 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มสงสัยป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อทันที
4 ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ตรวจสุขภาพเบื้องต้นกับ อสม.ในพื้นที่ได้


>