กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนหนองสาหร่าย ห่างไกลไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าม่วง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.ตาแปด

1.นางพรรณี ดวงมะลิ
2.นางอามีเนาะ กูแมเร๊าะ
3.นางอำนวย ศิระจิตร
4.นางมาลี พูลแก้ว
5.นางหวน สุวรรณบรรดิษ

ม.8 ต.ท่าม่วง อ.เทพา จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่คุกคามสุขภาพอนามัยของประชาชน ทั้งในระดับประเทศ จังหวัด และระดับพื้นที่ ซึ่งจากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา มักจะมีการะบาดของโรค ลักษณะปี เว้นสองปี โดยมีอัตราผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น และมีอัตราการตายสูงขึ้นด้วย จึงนับเป็นภัยคุกคามทางสุขภาพที่มีความสำคัญและยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องมีแนวทาง กลวิธีหรือกิจกรรมในการป้องกันและควบคุมโรค ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิ์ผล ซึ่งต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอโดยอาศัยความร่วมมือ การมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรในชุมชนที่มีบทบาทที่สำคัญในการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชน ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)
จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออก5ปีย้อนหลังของตำบลท่าม่วงอำเภอเทพาในปี 2560 จำนวน31รายปี 2561 จำนวน13ราย ปี 2562 จำนวน 54 ราย ปี 2563 มีจำนวน 33 ราย และในปี 2564 ไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดออก ในส่วนของบ้านหนองสาหร่าย ในปี 2559จำนวน14ราย ปี 2560จำนวน5ราย ปี 2561จำนวน1ราย ปี 2562จำนวน4ราย ปี 2563จำนวน2ราย และในปี 2564ไม่พบผู้ป่วยในพื้นที่ จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือกออกมีการพัฒนาขึ้นไม่ระบาดปี เว้น 2 ปี แบบเมื่อก่อนโดยในขณะนี้มีการระบาดที่ต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอาจมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศความใส่ใจและพฤติกรรมสุขภาพในเรื่องโรคไข้เลือดออก เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดต้องมีการควบคุมต่อเนื่อง ทั้งทางกายภาพ ชีวภาพและเคมีในพื้นที่อย่างเป็นระบบครบวงจร โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนด้วยความรวดเร็ว ในรัศมีวงกว้างภายใต้ทรัพยากรที่พอเพียง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกบ้านหนองสาหร่าย ปีงบประมาณ2566เพื่อประชาชนมีสุขภาพดีปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกและมีระบบสุขภาพที่ยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในเรื่องโรคไข้เลือดออก สามารถดูแลตนเองครอบครัว และชุมชนให้ปลอดภัยจากไข้เลือดออกได้
2.เพื่อลดต้นเหตุของการเกิดโรค โดยสำรวจ กำจัด และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลานทั้งทางกายภาพ เคมี
และชีวภาพ ลดค่า HI ,CI
3.เพื่อกำจัดยุงตัวแก่และปรับปรุงด้านสุขาภิบาลให้เหมาะสม
4.เพื่อลดอัตราป่วย อัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสนับสนุนเวชภัณฑ์ในการกำจัดยุงลายและลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสนับสนุนเวชภัณฑ์ในการกำจัดยุงลายและลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าทรายอะเบสซองละ 10 บ.x 500ซอง  =5,000บ. 2.ค่าสเปรย์พ่นกระป๋องละ 65 บ.x60กระป๋อง =3,900บ. 3.ค่าโลชั่นทากันยุงขวดละ 60บ.x60 ขวด = 3,600 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12500.00

กิจกรรมที่ 2 การจัดประชุมติดตามสถานการณ์และการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
การจัดประชุมติดตามสถานการณ์และการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างคนละ 25 บx 30x5ครั้ง = 3,750 บ. 2.ค่าสำรวจและแบบสรุปดัชนีลูกน้ำยุงลาย แก่ ชุมชนบ้านหนองสาหร่าย สำรวจทำลายทุก 7 วัน แผ่นละ1บ.x500แผ่น = 500 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4250.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมพ่นหมอกควันในชุมชนและในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพ่นหมอกควันในชุมชนและในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าน้ำยาพ่นหมอกควันขวดละ 1,700 บ.x2 ขวด = 3,400  บ. 2.ค่าน้ำมันดีเซลในการพ่นหมวกควัน กำจัดยุง ลิตรละ 30 บ.x160 ลิตร =  4,800   บ. 3.ค่าน้ำมันเบนซิน 95 เครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุง ลิตรละ 38 บ.X80 ลิตร=  3,040บ. 4.ค่าจ้างพ่นหมอกควันกรณีเปิดภาคการศึกษา ( 1คน ) ราคา 300x1 คน  x 1 วัน      x 2 ครั้ง   =600บ. 5.ค่าจ้างพ่นหมอกควันกรณีเกิดโรค ( 1 คน ) ราคา 300x 1 คน x 20ครั้ง =6,000บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17840.00

กิจกรรมที่ 4 การจัดกิจกรรม Big Cleaning ไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
การจัดกิจกรรม Big Cleaning ไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ไวนิลสุขศึกษาประชาสัมพันธ์เรื่องโรคไข้เลือดออกสนับสนุนในชุมชนบ้านหนองสาหร่าย ขนาด 1.5x2 เมตร ตารางเมตรละ 200 บาท= 600บ.X2 ผืน=1,200บ. 2.ค่าอาหารว่างคนละ25 บ.x75คนx4ครั้ง = 7,500บ. 3.ค่าเอกสารให้ความรู้แก่ชุมชนบ้านหนองสาหร่าย แผ่นละ1บ.x1,000แผ่น = 1,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 28 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,290.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1ประชาชนเห็นความสำคัญและประโยชน์จากการจัดการกับขยะและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคไข้เลือดออก
2ลดภาวะการเกิดโรคและอันตรายอันเกิดจากขยะและสิ่งแวดล้อม
3เกิดบ้านตัวอย่าง อย่างน้อย 80% และหมู่บ้านต้นแบบการกำจัดขยะและสิ่งแวดล้อม
4ประชาชนมีความปลอดภัยจากโรคและภาวะที่เกิดจากขยะและสิ่งแวดล้อม
5ประชาชนมีการดูแลที่พักอาศัยและสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องและยั่งยืน
6ประชาชนสามารถดูแลตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้ปลอดภัยจากไข้เลือดได้


>