กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฆอเลาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต พิชิตสุขภาพใจ สู่ชุมชน ปี2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฆอเลาะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุด

นางอัษณีดาจะมาจี
นางศิราณี อับดุลรามัน
นางรอกีเยาะสุหลงเส็น
นายมัรวันอุเซ็ง
นางสาวนูรฮานีฟมามะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคจิตเวช คือกลุ่มอาการทางจิตใจหรือพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยมีความบกพร่องในกิจวัตรต่าง ๆ หรือเกิดความทุกข์ทรมาน ซึ่งหลายคนไม่รู้ว่าตัวเองป่วย หรือบางคนรู้แต่ไม่มาพบแพทย์ ทำให้อาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิต โดยโรคจิตเวชที่พบบ่อยการสังเกตอาการคนรอบข้างรวมถึงตัวเองเกี่ยวกับโรคจิตเวชเป็นเรื่องสำคัญ หากพบความผิดปกติหรือส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัยและวางแผนรักษาก่อนอาการรุนแรง
ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของระบบสุขภาพประเทศไทย โดยประมาณการว่าประชากร 1 ใน 5 มีปัญหาสุขภาพจิตจากรายงานสถิติของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โรคจิตเวชเป็นปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนึ่งที่นับวันมีจำนวน มากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งโรคจิตเวชก่อให้เกิดความผิดปกติทางด้านความคิด อารมณ์ การรับรู้และพฤติกรรม บกพร่องในการดูแลตนเอง ขาดทักษะพื้นฐานในการแก้ปัญหา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุด มีจำนวนผู้ป่วยโรคทางจิตเวชที่รับการรักษาที่ โรงพยาบาลแว้ง จำนวน 45 รายจากการทบทวน พบว่า ยังมีผู้ป่วยจิตเวชไม่เข้าถึงบริการรักษาไม่ต่อเนื่องอาการกำเริบซ้ำ เครือข่ายชุมชนไม่มีส่วนร่วมในการดูแลทำให้เป็นภาระผู้ดูแลและเป็นปัญหาของชุมขนซึ่งถ้ามีอาการทางจิตรุนแรงหรือมีลักษณะเสี่ยงต่อการก่อพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น
ดังนั้นทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุดได้เห็นความสำคัญโรคจิตเวช จึงได้จัดทำโครงส่งเสริมสุขภาพจิต พิชิตสุขภาพใจ สู่ชุมชนโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในทุกช่วงวัยทั้งในวัยเด็ก วัยรุ่นถึงวัยสูงอายุ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมายให้มีความรู้ สามารถดูแลสุขภาพ ของตนเองครอบครัว และประชาชนในชุมชนให้มีสุขภาพจิตที่ดี2.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชุนในการส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
1.ร้อยละ80 ของผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการใส่ใจการดูแลสุขภาพ 2.ร้อยละ80 ของผู้เข้าร่วมอบรบสามารถส่งเสริมสุขภาพจิตของตนเองและส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต 3.ร้อยละ90 ของผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมใหัความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมใหัความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.รวบรวมข้อมูลและวิเคระห์สถานการณ์ปัญหา ในพื้นที่ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน 2.ประสานงานและติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.ประชาสัมพันธ์โครงการ 4.ดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการที่กำหนด 4.1เสวนา “ปัญหาสังคมเปลี่ยนไวใส่ใจสุขภาพจิต” 4.2.ให้ความรู้ในเรื่องของสารเสพติด 4.3ให้ความรู้ทางด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขหาสุขภาพจิตในทุกช่วงวัยทั้งในวัยเด็ก วัยรุ่นถึงวัยสูงอายุ 4.4ช่องทางการบริการสายด่วนสุขภาพจิต ค่าป้ายโครงการ ๑ ป้าย เป็นเงิน 1000 คน -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน คนละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ X 1 วัน เป็นเงิน 5,000 คน ค่าอาหารว่างจำนวน 100 คน  คนละ25 บาท จำนวน 2 มื้อ X 1 วัน เป็นเงิน 5,000 บาท ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาทX 6  ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท ค่าวัสดุอบรม แฟ้ม 15 บาทX 100 คน เป็นเงิน1,500บาท สมุด 12 บาท X 100 คน เป็นเงิน 1,200 บาท ปากกา 6 บาท X 100 คน เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>