กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทวีนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนโดยชุมชน รพ.สต.วังใหญ่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทวีนอก

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.วังใหญ่

1. นายวินัย แหละหนิ๊
2. นางอาภรณ์ ดำแก้ว
3. นางสายพิณ รัตนมุณี
4. นางจารุวรรณ พรหมแก้ว
5. นางสาวกันยาดี ยีตำ

หมู่ที่ 10 จำนวน 146 ครัวเรือนหมู่ที่ 11 จำนวน 159 ครัวเรือน หมู่ที่ 15 จำนวน 123 ครัวเรือน หมู่ที่ 17 จำนวน 112 ครัวเรือนวัด/สำนักสงฆ์ จำนวน 2 แห่งมัสยิด จำนวน 1 แห่งโรงเรียน จำนวน 1 แห่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญ ในระดับประเทศเรื่อยมา
สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกของอำเภอนาทวีตั้งแต่ 1 มกราคม – 3 ธันวาคม 2565 พบผู้ป่วย 20 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 29.44 ต่อแสนประชากรไม่พบรายงานผู้เสียชีวิตและตำบลนาทวีมีจำนวนผู้ป่วย 3 รายคิดเป็นอัตราป่วย 65.68 ต่อแสนประชากร ซึ่งสูงกว่าภาพรวมอำเภอ และมีแนวโน้มสูงขึ้น จากสภาพภูมิอากาศที่มีฝนตกตั้งแต่ต้นปีการระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม-กันยายน ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจังสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชนโรงเรียนเทศบาลหน่วยบริการปฐมภูมิและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองพร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและและชักนำให้ประชาชนองค์กรชุมชนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

จำนวนอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 คนต่อแสนประชากร

0.00
2 เพื่อไม่ให้เกิดอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก

จำนวนอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกเป็น 0

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 43
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การจัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคที่เกิดจากยุง

ชื่อกิจกรรม
การจัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคที่เกิดจากยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่าย 1. ทรายอะเบท แบบบรรจุซอง 1 ถัง ๆ ละ 3,500 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท 2. ถุงขยะพลาสติก ขนาด 30X40 นิ้ว หมู่ละ 5 กก.ๆ ละ 90 บาท X 4 หมู่ เป็นเงิน 1,800 บาท 3. ไม้กวาดไม้ไผ่ ด้ามละ 40 บาท X 8 ด้าม X 4 หมู่ เป็นเงิน 1,280 บาท 4. ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์รณรงค์ไข้เลือดออก ขนาด 1.2 X 2.4 ม. ป้ายละ 430 บาท X 9 ป้าย  เป็นเงิน  3,870 บาท ( ประกอบด้วย 4 หมู่ 1 มัสยิด 1 สถานบริการ 1 วัด 1 สำนักสงฆ์  1 โรงเรียน ) 5. เหมาจ่ายน้ำดื่มในการรณรงค์ 600 บาท/ครั้ง x 4 หมู่ เป็นเงิน 2,400 บาท รวมเป็นเงิน 12,850 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2023 ถึง 30 กันยายน 2023
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.1 การจัดกิจกรรมรณรงค์ BIG CLEANNING DAY ใน รร./วัด/มัสยิด/ในชุมชน(สถานที่สาธารณะ) และ SMALL CLEANNING DAY ตามสถานการณ์การเกิดโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12850.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่าย 1. สเปรย์ฉีดยุง ขนาด 600 มล. X 14 กระป๋อง ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน  1,680 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2023 ถึง 30 กันยายน 2023
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

2.1 ควบคุมภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากได้รับรายงานจากศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอนาทวี พร้อมสำรวจค่า Hi Ci

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1680.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,530.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.จำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่มีหรือลดลง
2.ประชาชนได้รับความรู้และการป้องกันโรคไข้เลือดออกและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ


>