กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 10 ตำบลนาหว้า

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 10 ตำบลนาหว้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

ชมรม อสม.หมู่ที่ 10 ตำบลนาหว้า

1. นางปิยนุช โสมซิ่ม

2. นายชม แดงแก้ว

3. นายจรูญ สังข์ทอง

4. นางทิพวรรณ์ สุวรรณศิลป์

5. นายสาโรจน์ เสนาจิตร

บ้านหว้าหลัง หมู่ที่ 10 ตำบลนาหว้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

30.10
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

1.02
3 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

20.60
4 ร้อยละของผู้ดูแลหรือญาติสามารถให้การดูแลผู้พิการได้

 

70.56

การดูแลสุขภาพชุมชน เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งในส่วนของ ของรัฐ เช่น องค์กรส่วนท้องถิ่น นโยบาย งบประมาณ บุคลากรผู้บริหารท้องถิ่นองค์กรภาคประชาชนเช่น ประชาคม กลุ่มช่วยเหลือกัน กลุ่มผู้นำชุมชน เครือข่ายผู้ให้บริการทางสุขภาพในชุมชนอีกทั้งคุณลักษณะของงานการดูแลสุขภาพชุมชน เป็นงานที่คำนึงถึงปัญหาสุขภาพและความต้องการด้านสุขภาพของชุมชนเป็นตัวตั้ง ต้องใช้ทุนเดิมเป็นหลักและมีหลายเจ้าภาพต้องการวิธีทำงานจากหลายแนวคิด ต้องสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง โดยประชาชน ชุมชนและองค์กรในชุมชนต้องมีศักยภาพ การพัฒนาระบบการทำงานดูแลสุขภาพชุมชนจึงเป็นเครื่องมือและเป้าหมายสำคัญในการดูแลสุขภาพชุมชนที่มุ่งเน้นให้ประชาชนในชุมชนมีศักยภาพในการจัดการกับปัญหาและความเจ็บป่วยของตนเอง ภายใต้แนวคิด วิถีการดูแลตามธรรมชาติของชุมชนแสวงหาและใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่อย่างมีศักยภาพมาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วม ให้เกิดการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชนอย่างแท้จริง จนสามารถเกิดกระบวนการดูแลสุขภาพชุมชนอย่างต่อเนื่องบนฐานของการรับรู้ร่วมกัน เข้าใจปัญหาและความต้องการร่วมกันของชุมชนเพื่อนำไปสู่กระบวนการพัฒนาสุขภาพชุมชนที่เข้มแข็ง และยั่งยืนในอนาคต ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เกิดจากการถดถอยของสมรรถนะร่างกาย และภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังซึ่งเพิ่มขึ้นตามอายุ และโดยเฉลี่ยมีมากกว่าหนึ่งโรคในการพัฒนาและยกระดับความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้เป็น อสม.หมอประจำบ้าน ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางการแพทย์ พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริการสาธารณสุขในชุมชนโดยการเพิ่มบทบาท อสม.หมอประจำบ้าน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ลดคงความแออัด ลดความเหลื่อมล้ำ ลดการรอคอย ลดภาระค่าใช้จ่าย และเป็นการช่วยลดปัญหาสุขภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ เป็นการช่วยลดความแออัดของโรงพยาบาล และลดการพึ่งพาโรงพยาบาลได้ กระทรวงสาธารรสุข การพัฒนาความรู้ ทักษะ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ใช้ป็นแนวทางการดำเนินงาน รวมทั้งแสดงให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงบทบาทการดำเนินงานของ อสม.หมอประจำบ้าน ในการปฏิบัติงานและแสดงบทบาทอย่างเข้มแข็ง กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายการพัฒนาด้านสุขภาพเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตที่ดี เกิดความทั่วถึง เท่าเทียมของประชาชนทุกคน โดยให้ประชาชนได้รับรู้สถานะของตนเองและเข้าถึงการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และได้กำหนดให้ดำเนินการพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัยให้มีความครอบคลุมในมิติทางด้านสุขภาพทั้ง 4 มิติ คือ มิติด้านการป้องกันโรคการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ เน้นให้เกิดการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักด้านสุขภาพ จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชินให้เป็นพฤติกรรมที่ลดเสี่ยงต่อการเกิดโรค และลดโรคที่เป็นแล้วให้เป็นน้อยลง หรือหายเป็นปกติ การ “ปรับก่อนป่วย” เพราะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีปัจจัยเสี่ยงร่วมกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตการส่งเสริมสุขภาพจึงเน้นให้ “ประชาชนสุขภาพดี เริ่มต้นที่สร้างนำซ่อม” อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้เป็นพลังชุมชนที่สำคัญในการเป็นผู้นำ เป็นต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีบทบาทที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะด้านสุขภาพให้แก่คนในชุมชนร่วมรู้สถานะสุขภาพ ร่วมปรับพฤติกรรม ต้านภัยโรคเบาหวานแลความดันโลหิตสูง การพัฒนา โดยเน้นหลักการมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ และร่วมประเมินผลสำเร็จ

ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อเพิ่มพลังชุมชน รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรม ต้านภัยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการและชุมชนพัฒนาเป็นองค์กรสร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคได้อย่างยั่งยืนสืบไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

30.10 20.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

1.02 0.50
3 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

20.60 15.00
4 เพิ่มศักยภาพผู้ดูแลหรือญาติสามารถดูแลคนพิการ

ร้อยละของผู้ดูแลหรือญาติสามารถให้การดูแลผู้พิการได้

70.56 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ดูแลผู้พิการ 10
อสม. 6

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/09/2023

กำหนดเสร็จ 30/11/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนการดำเนินและการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนการดำเนินและการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วางแผนการดำเนินงานกับผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 6 คน ในการการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน การจัดทำระบบข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน การร่วมกับชุมชนในการจัดทำแผนสุขภาพและโครงการแก้ไขปัญหา

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 6 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 150 บาท
  • ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 2.5 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 375 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
29 กันยายน 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • แผนการดำเนินงาน
  • จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมวางแผน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
525.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและรับสมัครผู้สนใจเข้ารับการพัฒนาศักยภาพฯ เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและรับสมัครผู้สนใจเข้ารับการพัฒนาศักยภาพฯ เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเอกสารใบรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ 30 แผ่นๆ ละ 1 บาท เป็นเงิน 30 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 ตุลาคม 2566 ถึง 6 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายชื่อผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30.00

กิจกรรมที่ 3 พัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ดูแลกลุ่มเป้าหมายในการคัดกรองความเสี่ยง การดูแล การให้คำแนะนำและการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ดูแลกลุ่มเป้าหมายในการคัดกรองความเสี่ยง การดูแล การให้คำแนะนำและการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้เข้าอบรม 30 คน คณะทำงาน 3 คน วิทยากร 1 คน รวม 34 คน

  1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท (อบรมรวม 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 9 หมู่ที่ 10 และหมู่ที่ 11 จ่ายค่าตอบแทนวิทยากรหมู่บ้านละ 800 บาท)
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 34 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 850 บาท
  3. ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 34 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,700 บาท
  4. ค่าเอกสารและค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม (แฟ้มเอกสาร ปากกา เอกสารการอบรม กระดาษบันทึก) จำนวน 30 ชุดๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 ตุลาคม 2566 ถึง 16 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติได้
  • จำนวนผู้เข้าอบรมมีส่วนร่วมนกิจกรรม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4250.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามเยี่ยมเสริมพลังแก่กลุ่มเป้าหมายและประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเป้าหมายและครอบครัว

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมเสริมพลังแก่กลุ่มเป้าหมายและประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเป้าหมายและครอบครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้บริการวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก หาค่าดัชนีมวลกาย ประเมินความเครียด ประเมินความสุข ให้คำแนะนำในการป้องกันความเสี่ยง การให้กำลังใจ การดูแลตนเองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม

  • เครื่องวัดความดันโลหิต Digital Omron Hem-7121 จำนวน 3 เครื่องๆ ละ 2,600 บาท เป็นเงิน 7,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 ตุลาคม 2566 ถึง 24 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เครื่องวัดความดันโลหิต Digital Omron Hem-7121 จำนวน 3 เครื่อง
  • ร้อยละของครอบครัวกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการติดตามเยี่ยมเสริมพลัง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,605.00 บาท

หมายเหตุ :
*** ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ ***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>