กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำปำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเส้นทางสายรักษ์ ปลูกผักปลอดสารตำบลลำปำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำปำ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลลำปำ

นายไพศาลสมมาตร
นายสมชายฉางดำ
นางสาวยุรยาทเกื้อเพชร
นางจิราพรเกษตรสุนทร
นางสาวพัชรียา สุวรรณโณ

หมู่ที่ 1,4,5,6,7,9 และหมู่ที่ 10 ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบัน คนไทยประสบปัญหาทางด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ทั้งๆที่เทคโนโลยีทางการแพทย์มีความเจริญก้าวหน้าไปมากแล้ว ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมี โดยเฉพาะพืชผัก ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด จากการสุ่มตรวจของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ยังพบสารเคมีตกค้างในพืชผัก เนื่องจากเกษตรกรผู้ผลิตเพื่อจำหน่าย ใช้สารเคมี กำจัดศรัตรูพืชโดยไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งแนวทางแก้ปัญหา ให้เกิดความยั่งยืน คือการให้ความรู้แก่ประชาชน และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปลูกพืชผักปลอดสารเคมีเพื่อบริโภคในชุมชน ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลลำปำ ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพของคนในตำบลลำปำ จึงได้จัดทำโครงการเส้นทางสายรักษ์ ปลูกผักปลอดสารตำบลลำปำขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนลำปำ อย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และบริโภคพืชผักปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง
2. เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 160
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/07/2023

กำหนดเสร็จ 15/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ พร้อมให้ความรู้กับประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมปลูกผักสวนครัว

  • ค่าอาหารว่างในการประชุมการชี้แจงรายละเอียดโครงการพร้อมให้ความรู้กับประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ มื้อละ25 บาท x160 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท

  • ค่าซื้อพันธุ์พืชผัก สำหรับปลูก ริมเส้นทางสายรักษ์ หมู่บ้านละ6,000บาท จำนวน 7 หมู่บ้าน เป็นเงิน 42,000 บาท

  • ค่าปุ๋ยมูลวัว 70 กระสอบๆละ 60 บาทเป็นเงิน 4,200 บาท

รวมเงิน 50,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีพืชผักสวนครัวที่ปลอดสารเคมีไว้สำหรับบริโภค ริมเส้นทางในชุมชน ทุกหมู่บ้านๆ ละ 1 กิโลเมตร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้และแหล่งอาหารปลอดภัยของชุมชน
- ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติการณ์บริโภคอาหารที่ปลอดภัย
- ประชาชนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างยั่งยืน


>