กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิปะสะโง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสตรีใส่ใจป้องกันภัยมะเร็งปากมดลูก ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิปะสะโง

รพ.สต.ลิปะสะโง

1.นางสาวอาสินีเปาะฮะ
2.นายสมภพสุวรรณชมภู
3.นางสาวมารียะห์แวดือราเฮง
4.นางสาวอัสมามะดีเยาะ
5นางสาวยุวดีหลีเจริญ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคมะเร็งถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและมีแนวโน้มอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถิติพบว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ถึงวันละ 336 คน หรือ 122,757 คนต่อปี โดยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในคนไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก มีผู้เสียชีวิตวันละ 221 คน หรือคิดเป็น 80,665 คนต่อปีปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แต่สามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกดังนั้นถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าวพร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งฯลดลงกระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้บรรจุแผนงาน/โครงการเกี่ยวกับโรคดังกล่าวขึ้น โดยกำหนดตัวชี้วัดคือสตรีที่มี อายุระหว่าง 30-60 ปี ได้รับการตรวจ PAP smear ไม่น้อยกว่าร้อยละ80 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง พบว่าจำนวนผู้มารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกของปี 2563 ร้อยละ 7.42ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ตามเป้าหมายที่กำหนด และจากประสบการณ์การทำงานในชุมชนและจากการวิเคราะห์ตามสถานการณ์พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความอาย ความกลัว และปฏิเสธการรับบริการจากเจ้าหน้าที่ที่คุ้นเคยของสถานบริการใกล้บ้าน
สถิติได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโรงพยาบาลส่งเสริมสุภาพตำบลลิปะสะโง ปี 2565 มีจำนวนผู้เข้าอบรมทั้งหมด 100 คน และมีกลุ่มเป้าหมายรับการตรวจมะเร็งปากมดลูกทั้งหมด 80 คน พบกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะเสี่ยงจำนวน 3 คน และได้รับการตรวจเฉพาะทางได้อย่างทันท่วงที และรอผลการตรวจซ้ำอีกครั้ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง ได้ตระหนักดีในบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคแก่ประชาชน เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชน และเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายที่จะต้องดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นการสนองตามนโยบายประกันสุขภาพอีกทางหนึ่ง จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี2566ขึ้น
ดังนั้นเพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิผลให้ครอบคลุมเป้าหมายอีกทั้งสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรคมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโงจึงจัดทำโครงการสตรีใส่ใจป้องกันภัยมะเร็งปากมดลูกปี 2566 ขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มความรู้ความเข้าใจและพัฒนาคุณภาพชีวิตรวมถึงลดค่าใช้จ่ายตลอดจนทรัพยากรที่จะต้องใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ในพื้นที่มีความรู้และเห็นถึงความสำคัญในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น

เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ในพื้นที่มีความรู้และเห็นถึงความสำคัญในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 95

95.00
2 เพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกและระยะก่อนเป็นมะเร็งโดยมีระบบส่งต่อการวินิจฉัยและสามารถรักษาให้หายขาดได้

สามารถค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกและระยะก่อนเป็นมะเร็งโดยมีระบบส่งต่อการวินิจฉัยและสามารถรักษาให้หายขาดได้ ร้อยละ 95

0.00 95.00
3 เพื่อสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ร้อยละ 100

0.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/04/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมให้ความรู้ส่งเสริมสตรีกลุ่มเป้าหมายในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมให้ความรู้ส่งเสริมสตรีกลุ่มเป้าหมายในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาดยาว 3 ม. x กว้าง 1 ม. จำนวน 1 ป้าย  เป็นเงิน    750 บาท    - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน x 60 บาทx ๑ มื้อ                 เป็นเงิน 6,000 บาท    - ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 30 บาท x1 มื้อ         เป็นเงิน 3,000 บาท    - ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 4 ช.ม. x 1 คน                 เป็นเงิน 2,400 บาท    - ค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการอบรม     -ค่าแฟ้มใส่เอกสาร  จำนวน 100 แผ่น x 20 บาท       เป็นเงิน    2,000 บาท     -ค่าสมุด        จำนวน 100 เล่ม  x 15 บาท      เป็นเงิน 1,500 บาท     -ค่าปากกา      จำนวน 100 ด้าม x  7 บาท        เป็นเงิน    700 บาท

                       รวมเป็นเงิน 16,350 บาท ( จำนวนเงินหนึ่งหมื่นหกพันสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 เมษายน 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ในพื้นที่มีความรู้และเห็นถึงความสำคัญในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16350.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
   - ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม  จำนวน 50 คน x 30 บาท x 2 มื้อ  เป็นเงิน 3,000 บาท
   - ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 4 ช.ม. x 2 คน                 เป็นเงิน 4,800 บาท    - ค่าผ้าถุงเปลี่ยนเพื่อใช้ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 100 ผืน x 100 บาท
         เป็นเงิน 10,000 บาท                                                                               รวมเป็นเงิน 17,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กรกฎาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ในพื้นที่มีความรู้และเห็นถึงความสำคัญในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น ๒.เพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกและระยะก่อนเป็นมะเร็งโดยมีระบบส่งต่อการวินิจฉัยและสามารถรักษาให้หายขาดได้ 3.เพื่อสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมติดตามและประเมินผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กรกฎาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการติดตามผลการค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก และระยะก่อนเป็นมะเร็ง ในสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก เข้าสู่ระบบการส่งต่อการวินิจฉัยและสามารถรักษาได้ถูกต้อง ตลอดจนมีโอกาสไดับการรักษาจนให้หายขาดได้
  2. มีผลการประเมินโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,150.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีการดำเนินงาน
1.ให้อาสาสมัครสาธารณสุขแต่ละหมู่ชี้แจงและประชาสัมพันธ์แก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย
2.จัดกิจกรรมให้ความรู้ส่งเสริมสตรีกลุ่มเป้าหมายในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก
3.จัดกิจกรรมตรวจคัดกรองค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกและระยะก่อนเป็นมะเร็ง โดยมีระบบส่งต่อการวินิจฉัยและสามารถรักษาให้หายขาดได้
4.จัดให้กลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ในพื้นที่มีความรู้และเห็นถึงความสำคัญในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น
๒.เพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกและระยะก่อนเป็นมะเร็งโดยมีระบบส่งต่อการวินิจฉัยและสามารถรักษาให้หายขาดได้
3.เพื่อสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการรักษาที่ถูกต้อง


>