กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลอน

หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 9 หมู่ที่ 10 และหมู่ที่ 11 ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อัตราการป่วยและอัตราการตายของประชากรในเขตรับผิดชอบ ปี ๒๕๖๕ พบอัตราป่วยโรคเบาหวาน ๓,๙๖๒.๓๕ ต่อแสนประชากร อัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูง๙,๒๑๖.๐๗ ต่อแสนประชากร และอัตราตายโรคหัวใจและหลอดเลือด๑๓๖.๙๔ ต่อแสนประชากร และพบว่าในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน ๑๔๑ คน สามารถควบคุมน้ำตาลได้ จำนวน ๒๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๙.๑๕ และในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๓๒๘ คน สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ จำนวน ๒๐๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๕๐และจากการคัดกรองสุขภาพ ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ( ตุลาคม ๒๕๖๕ - ธันวาคม ๒๕๖๕)พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานร้อยละ ๒๗.๔๘ และกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงร้อยละ ๓๖.๘๑

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้ในเรื่องโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๓อ ๒ส สามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

0.00
2 ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์

ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ร้อยละ 40

0.00
3 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์ร้อยละ 60

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 120
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ปัจจัยเสี่ยงต่อโรค และภาวะแทรกซ้อนของโรค
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๓อ ๒ส อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ลด/เลิกบุหรี่และ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การรับประทานยาต่อเนื่อง/การมาพบแพทย์ตามนัด
  • การป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น ตรวจเลือดประจำปี ตรวจปัสสาวะ ตา เท้า อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
ระยะเวลาดำเนินงาน
29 สิงหาคม 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยมีความรู้ มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงf

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
2.ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ร้อยละ 40
3.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์ร้อยละ 60


>