กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

คนบ้านเราห่วงใย ใส่ใจสุขภาพจิต ร่วมกันลดความเครียดเพื่อชีวิตที่ดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.จะโหนง

1. นายประถม ประทุมมณี 0872933352

2. นางรัตนดา เพชรบุญวรรณโณ0869559323

3. นางพรรณีรงหนู0828257954

4. นายวิมลทองชนะ 0811379851

5. นายลาภย่องยัง0895964289

6. นายเจะฮาบ เร๊ะด้วน 0810996926

7. นางอารีย์ นวลเจริญ 0620611155

หมู่ที่ 1,5,6,7,8,10 ตำบละโหนง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี

 

0.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

 

21.50

ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิตของบุคคลสามารถแบ่างเป็นปัจจัยภายใน เช่น ลักษณะนิสัย การจัดการปัญหา เป้นต้น ส่วนปัจจัยภายนอกและสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัว เศรษฐกิจ ภาระหนี้สิน ปัญหาการเมือง การไม่มีที่อยุู่อาศัย ปัญหาอาญากรรมและสารเสพติด เป็นต้น โดยปัญหาสุขภาพจิตของบุคคลจะแตกตางกันในแต่ละช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด้ก วัยรุ่น วัยผุ้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มที่จะเกิดสุขชภาพจิตที่พบบ่อย ได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ เป็นต้น เนื่องจากข้อกำจัดในการดำรงชีวิตเพิ่มมากขึนกว่าบุคคลทั่วไป จึงทำให้เกิดปัญหาความเครียดหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป การส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับกลุ่มเสี่ยงเป็นส่วนทีสำคัญที่จะต้องป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตให้ลดน้อยลงได้ ปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตและการป่วยทางจิตกลายเป็นปัญหาอีกปัญหาที่สำคัญของประเทศ ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกันไป ทำให้บุคคลเกิดความเครียดได้ง่ายและเจ็บป่วยทางจิต สถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช 5 อันดับแรกในประเทศไทย ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท โรควิตกกังวล โรคจิตเวชเนื่องมาจากสารเสพติด และโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว ตามลำดับจากสาเหตุของความเครียด ความกังวลของกลุ่มวัยทำงานรวมทั้งกลุ่มวัยอื่นด้วยมาจากสาเหตุสำคัญหลายประการ ที่ครอบคลุมทั้งมิติทางรายได้และอาชีพ มิติสุขภาพประจำตัว จำเป็นต้องการการสนับสนุนการทำงานจากหลายภาคส่วน หลากหลายความเชี่ยวชาญ หลากหลายการสนับสนุน และหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย การทำงานโดยยึดพื้นที่ และเหตุแห่งความเครียด ความทุกข์เป็นหลักจะต้องมีการสาน เชื่อม หรือส่งต่อในทุกระดับกับหน่วยงาน บุคคลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ บทบาทของกลไกการขับเคลื่อนงานต้องทำหน้าที่เชื่อมร้อยทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่เข้ามาหนุนเสริมกระบวนการทำงานที่สอดคล้องกับบริบท จังหวะและโอกาสที่เหมาะสมจึงจะสามารถขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพจิตเชิงรุกบรรลุผลและเพิ่มสุข ลดทุกข์ให้กับตนเอง ครอบครัว และชุมชนร่วมกัน การทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้เกิดกระบวนการตั้งแต่การปรับกรอบคิดกับผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ ทุกภาคส่วน การกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ การติดตมาเยี่ยมบ้านให้คำปรึกษา รวมถึงการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบายเพื่อการหนุนเสริมการทำงานร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

21.50 15.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เข้าร่วมสร้างเครือข่ายพลเมืองสุขภาพจิตดี

0.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/08/2023

กำหนดเสร็จ 15/11/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและคัดเลือกอาสาสมัครแกนนำเครือข่ายเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานและคัดเลือกอาสาสมัครแกนนำเครือข่ายเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คน ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 625 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 สิงหาคม 2566 ถึง 21 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • แผนการดำเนินงาน
  • จำนวนอาสาสมัครแกนนำ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
625.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศักยภาพแกนนำ และเครือข่ายป้องกันและเฝ้าระวังทางสุขภาพจิตในการค้นหาและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพแกนนำ และเครือข่ายป้องกันและเฝ้าระวังทางสุขภาพจิตในการค้นหาและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้เข้าอบรม 30 คน วิทยากรกระบวนการ 2 คน คณะทำงานเจ้าหน้าที่ 4 คน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 36 คน ๆละ 2 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 36 คน ๆละ 1 มื้อ ๆละ 65 บาท เป็นเงิน 2,340 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม 2 คน ๆละ 5 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท

  • ค่าเอกสารและวัสดุการอบรม (แฟ้ม ปากกา สมุด และเอกสาร) จำนวน 36 คน ๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,080 บาท

  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*2.5 เมตร เป็นเงิน 375 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 สิงหาคม 2566 ถึง 23 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มกลุ่มเครือข่ายแกนนำ ฯ
  • แกนนำเครือข่ายการป้องกันและเฝ้าระวังทางสุขภาพจิต มีความรู้ความเข้าใจและสามารถให้คำแนะนำได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11595.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินคัดกรองความเครียดแก่กลุ่มเป้าหมายก่อนและหลังการดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินคัดกรองความเครียดแก่กลุ่มเป้าหมายก่อนและหลังการดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับคณะทำงานและเครือข่าย ฯ จำนวน 30 คน ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
  • แบบประเมินความสุขและแบบประเมินความเครียด จำนวน 100 ชุด ๆละ 3 บาท เป็นเงิน 300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 7 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ที่ได้รับการประเมินความเครียด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1050.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้เข้าอบรม 60 คน วิทยากรกลุ่ม 2 คน คณะทำงานเจ้าหน้าที่ 4 คน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 66 คน ๆละ 2 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,300 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 66 คน ๆละ 1 มื้อ ๆละ 65 บาท เป็นเงิน 4,290 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม 2 คน จำนวน 5 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าเอกสารและวัสดุการอบรม (แฟ้ม ปากกา สมุด เอกสาร) จำนวน 60 คน ๆละ 40 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  • แบบประเมินความสุขและแบบประเมินความเครียด จำนวน 60 ชุด ๆละ 3 บาท เป็นเงิน 180 บาท
  • กระดาษบรู๊ป จำนวน 30 แผ่น ๆละ 5 บาท เป็นเงิน 150 บาท
  • ปากกาเคมี 20 ด้าม ๆละ 15 บาท เป็นเงิน 300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กันยายน 2566 ถึง 13 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ในการจัดการความเครียดตนเองได้ถูกต้องและเหมาะสม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16620.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามเยี่ยมเพื่อเสริมพลังแก่ผู้มีปัญหาความเครียด

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมเพื่อเสริมพลังแก่ผู้มีปัญหาความเครียด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
  • แบบประเมินความสุขและแบบประเมินความเครียด จำนวน 60 ชุด ๆละ 3 บาท เป็นเงิน 180 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 10 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละของผู้มีปัญหาความเครียดได้รับการเยี่ยมเสริมพลัง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
930.00

กิจกรรมที่ 6 เวทีถอดบทเรียนความสำเร็จของโครงการ

ชื่อกิจกรรม
เวทีถอดบทเรียนความสำเร็จของโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้เข้าอบรม 40 คน ผู้ดำเนินรายการ 1 คน คณะทำงานเจ้าหน้าที่ 4 คน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 45 คน ๆละ 1 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,125 บาท
  • ค่าตอบแทนผู้ดำเนินรายการ 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมง ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • กระดาษบรู๊ป จำนวน 20 แผ่น ๆละ 5 บาท เป็นเงิน 100 บาท
  • ปากกาเคมี 10 ด้าม ๆละ 15 บาท เป็นเงิน 150 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 พฤศจิกายน 2566 ถึง 6 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • การมีส่วนร่วมของประชาชนในการถอดบทเรียนความสำคัญ
  • ผลสำเร็จของการถอดบทเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2875.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,695.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ ***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ประชาชนมีการจัดการความเครียดของตนเองได้ดีส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดี อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


>