กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการกินผักที่ปลอดภัย ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านตรับ

1. นางสุกัญญา เอียดวารี 084-0686597

2. นางหรอปิหย๊ะ ศิริภานนท์ 097-2728510

3. นางสายพิณ จันทองสุก 066-0035314

4. นางสุรินทร์ ไชยรัตน์ 089-8783399

5. นางพยอม จันทรักษ์ 080-0367501

หมู่ที่2 หมู่ที่3 หมู่ที่4 หมู่ที่9 และหมู่ที่11 ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

6.80
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

 

62.40
3 ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

 

25.40

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ คือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน
ผักและผลไม้เป็นแหล่งของวิตามิน เกลือแร่ ใยอาหารและสารพฤกษเคมีต่างๆ แม้ว่าผักและผลไม้จะเป็นอาหารที่มีประโยชน์และมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคกังวลก็คือสารเคมีกำจัดแมลงที่ตกค้างอยู่ในผักและผลไม้ สารพิษนั้นจะมีปริมาณมากหรือน้อยเพียงใดไม่สามารถคาดคะเนด้วยสายตาได้ ซึ่งการได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายอาจก่อให้เกิดโทษและโรคร้ายแรงได้ ดังนั้น เราควรรู้จักวิธีการเลือกซื้อผักและผลไม้ รวมถึงวิธีการล้างให้ปลอดภัยจากการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สาเหตุการเกิดสารพิษตกค้างในผัก เกิดจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ชอบเลือกซื้อเฉพาะผักที่สดสวยงามไม่มีร่องรอยการทำลายของโรคและแมลง ผู้ปลูกผักบางรายมีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องของสารเคมีเป็นอย่างดีแต่ไม่นำหลักการใช้ที่ถูกต้องไปปฏิบัติหรือละเลยเสียโดยมุ่งหวังแต่ประโยชน์ผลกำไรและความสะดวกเป็นหลักโดยขาดจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม ผู้ปลูกผักบางรายขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงที่ถูกต้องเมื่อประสบปัญหาการเข้าทำลายของโรคและแมลง ทางเลือกแรกที่นำมาใช้คือ การฉีดพ่นสารเคมีโดยไม่ได้คำนึงถึงวิธีการอื่นเลย เนื่องจากสารเคมีมีประสิทธิภาพสูงให้ผลเร็วสะดวกในการใช้และหาซื้อได้ง่ายดังนั้นเมื่อชาวสวนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายปัญหาที่ตามมาก็คือเกิดสารพิษตกค้างในผักที่เกินค่าความปลอดภัยซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ประชาชนโดยทั่วไปยังมีมาตรฐานในการครองชีพที่ไม่สูงนักมีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตและการบริโภคที่ง่าย ๆ โดยไม่ค่อยคำนึงถึงความปลอดภัยในการบริโภคเท่าที่ควรผักปลอดภัยจากสารพิษจึงมีได้รับความนิยมมากนัก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

62.40 75.00
2 เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

25.40 30.00
3 เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

6.80 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/09/2023

กำหนดเสร็จ 29/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนชี้แจงโครงการและการหาสมาชิกเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนชี้แจงโครงการและการหาสมาชิกเข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 250 บาท
  • ค่าเอกสารแบบฟอร์มการรับสมัครเข้าร่วมโครงการ 205 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กันยายน 2566 ถึง 14 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • แผนการดำเนินงาน
  • รายชื่่อผู้เข้าร่วมโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
455.00

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคให้สามารถลดหรือเลี่ยงผักที่มีสารเคมีตกค้างทางการเกษตร การบริโภคที่ปลอดภับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคให้สามารถลดหรือเลี่ยงผักที่มีสารเคมีตกค้างทางการเกษตร การบริโภคที่ปลอดภับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้เข้าอบรม 60 คน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 4 คน วิทยากร 1 คนรวม 65 คน

  1. การลดหรือเลี่ยงผักที่มีสารเคมีตกค้างทางการเกษตร

  2. การบริโภคที่ปลอดภับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค

  • ค่าวิทยากรจำนวน 2 คน รวม 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่ จำนวน 60 คนๆละ 2 มื้อ ๆละ25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • อาหารกลางวันจำนวน 65 คนๆละ 65 บาท เป็นเงิน 4,225 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ กว้าง 1 เมตร ยาว 2.5 เมตร เป็นเงิน 375 บาท
  • ค่าวัสดุการอบรม 500 บาท
  • วัสดุสาธิต (เศษผัก ผลไม้ จำนวน 300 บาท น้ำหมัก 100 บาท EM.1 ขวด 100 บาท กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 3 กก. เป็นเงิน 100 บาท ถังน้ำ 2 ใบ เป็นเงิน 200 บาท มีด 1 เล่ม 50 บาท เขียง 1 อัน 80 บาท กะละมัง 3 ใบ 150 บาท) เป็นเงิน 1,080 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 สิงหาคม 2566 ถึง 22 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจและหลีกเลี่ยงผัก ผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างสำหรับบริโภคได้
  • ร้อยละของประชาชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลด ละ เลิกใช้สารเคมี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15180.00

กิจกรรมที่ 3 เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด ครั้งที่ 1 และอบรมเชิงปฏิบัติผู้บริโภคและเกษตรกรในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากสารเคมีในผักผลไม้

ชื่อกิจกรรม
เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด ครั้งที่ 1 และอบรมเชิงปฏิบัติผู้บริโภคและเกษตรกรในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากสารเคมีในผักผลไม้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้เข้าร่วมกิกรรม 60 คน วิทยากร 1 คน เจ้าหน้าที่ 4 คน รวม 65 คน

  • ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่เจาะและตรวจเลือด จำนวน 2 คน ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าวิทยากรจำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 65 คนๆละ 2 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท
  • อาหารกลางวัน จำนวน 65 คนๆละ 65 บาท เป็นเงิน 4,225 บาท
  • ค่าน้ำยาชุดตรวจสารเคมีในเลือด พร้อมอุปกรณ์ (อุปกรณ์ ประกอบด้วย เข็มเจาะปลายนิ้วcapillary tubeถุงมือ สำลีแอลกอฮอล์ และดินน้ำมัน)จำนวน 1 ชุด ๆละ 1,800 บาท
  • ค่าวัสดุเป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 ตุลาคม 2566 ถึง 4 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลการเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้าง ฯ
  • การมีส่วนร่วมของผู้บริโภคและเกษตรกรในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย ฯ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13975.00

กิจกรรมที่ 4 เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่เจาะและตรวจเลือด จำนวน 2 คน ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อ ๆละ25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤศจิกายน 2566 ถึง 16 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลการเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้าง ฯ
  • การมีส่วนร่วมของผู้บริโภคและเกษตรกรในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย ฯ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2200.00

กิจกรรมที่ 5 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และอดบทเรียนความสำเร็จแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และอดบทเรียนความสำเร็จแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน ผู้ดำเนินรายการ 1 คน คณะทำงาน 4 คน รวม 55 คน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 55 คน ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,375 บาท
  • ค่าตอบแทนผู้ดำเนินรายการ จำนวน 3 ชม.ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • กระดาษบรู๊ฟ จำนวน 10 แผ่น ๆละ 5 บาท เป็นเงิน 50 บาท
  • ปากกาเคมี 10 ด้าม ๆละ 15 บาท เป็นเงิน 150 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ธันวาคม 2566 ถึง 21 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ถอดบทเรียนความสำเร็จโครงการ
  • การมีส่วนร่วมของชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3075.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,885.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนบริโภคผักที่สะอาด ปลอดภัยจากสารเคมี ทำให้สุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง


>