กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฆอเลาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ หนูน้อยสุขภาพดี ด้วยวัคซีนตามวัย ปี 2566 (ชมรม อสม รพ.สต.บางขุด )

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฆอเลาะ

ชมรมอสม รพ.สตบางขุด

นางสาวรูสลีซา นิแม
นางสาวฮามีละ มือลี
นางเจ๊ะบีเดาะ
นางอาซีซะอาลี
นางสาวอัสนี อับดุลเลาะ

สถานที่ชรบ.ม 3ต.ฆอเลาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยปัจจุบันวัคซีนที่ใช้ในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคส่วนใหญ่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง ๕ ปี ต้องได้รับวัคซีนให้ครบทุกชนิดตามกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไว้ เนื่องจากการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนแก่เด็กนั้นเป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมสร้างให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาการด้านต่างๆ เช่น ด้านความคิดด้านการเรียนรู้ และด้านสังคม เป็นต้น โดยสิ่งสำคัญคือเจ้าหน้าที่ให้บริการฉีดวัคซีนในกลุ่มเป้าหมายอย่างครอบคลุม รวมทั้งผู้ปกครองต้องให้ความสำคัญของการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์เพื่อป้องกันการเกิดอัตราป่วย และลดอัตราตายส่วนโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคบาดทะยัก โรคคอตีบ โรคไอกรน โรคหัดโรคไข้สมองอักเสบ เป็นต้น
จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุด ตำบลฆอเลาะ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส พบว่ายังมีเด็กที่ยังไม่มาฉีดตามนัดทั้งที่ได้ติดตามโดยอสม.และเจ้าหน้าที่แล้ว แต่ผู้ปกครองก็ยังไม่พามารับวัคซีน และยังมีผู้ปกครองบางคนปฏิเสธรับเพราะเชื่อว่า วัคซีนผิดหลักกับศาสนา และวัคซีนไม่มีตราฮาลาลมีทัศนคติทีไม่ดี มองในแง่ลบและเด็กบางรายอาจแยกกันอยู่กับบิดา/มารดา ซึ่งทำงานต่างจังหวัดจึงอาศัยอยู่กับตาหรือยายที่ไม่สามารถนำพาเด็กมารับวัคซีนตามนัดได้ บางคนกังวลเด็กจะมีไข้หลังได้รับวัคซีน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุด เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้กับเด็กอายุ ๐-๕ ปี และให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาเหล่านี้จึงได้จัดโครงการณรงค์ฉีดวัคซีนเด็ก ๐-๕ ปี เพื่อให้ครบตามเกณฑ์ ติดตามความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็ก ๐-๕ ปีรวมทั้งให้ผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่องวัคซีนอาการข้างเคียงของวัคซีนและการดูแลหลังได้รับวัคซีน เพื่อป้องกันและลดการเกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนได้ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันและหายจากโลกนี้ได้ถ้าได้รับวัคซีนตามเกณฑ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 -ติดตามกลุ่มเป้าหมายเด็ก 0-5ปี เพื่อให้ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น 1. อัตราเด็ก 0-5 ปี ม ได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น -ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ เกียวกับวัคซีนเพิ่มขึ้น อาการข้างเคียงของวัคซีน และการดูแลหลังจากได้รับวัคซีน 1.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนเพิ่มขึ้น

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 130
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ในกลุ่มผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ในกลุ่มผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ลงทะเบียนผู้ปกครองที่มาร่วมโครงการ 2.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนโดยโต๊ะครู ที่มีความรู้เกี่ยวหลักการของศาสนากับการได้รับวัคซีนในเด็ก 3. ให้ความรู้อาการข้างเคียงของวัคซีนและการดูแลหลังจากได้รับวัคซีนโดยเจ้าหน้าที่ 4.สรุปจากการอบรมให้ความรู้ 5. เปิดโอกาสผู้เข้าร่วมโครงการซักถามในข้อสงสัยต่างๆ รายละเอียดงบประมาณ 1.ค่าป้าย ขนาด 1*4 เมตร จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 1,000 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 160 คนคนละ 50 บาท1 มื้อ/วันเป็นเงิน 8,000 บาท 3.ค่าอาหารว่าง จำนวน 160 คน คนละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 8,000 บาท 4.ค่าวัสดุอบรม 6,880 บาท ( ค่าปากกา 6 *160 คน เป็นเงิน 960 บาท , ค่าสมุดปกอ่อน 12 * 160 คน เป็นเงิน 1,920 บาท , ค่าแฟ้ม 25 * 160 เป็นเงิน 4,000 บาท ) 5. ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 * 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27480.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,480.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็ก 0-5 ปี มาฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น
2.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนในเด็กเพิ่มขึ้นอธิบายอาการข้างเคียงของวัคซีนได้ และสามารถดูแลลูกหลังจากได้รับวัคซีนได้ถูกต้อง


>