กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ตำบลโคกม่วง ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

ทีมงานเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพและครอบครัวตำบลโคกม่วง

1.นางพวงทิพย์กล้าคง
2.นางอารีย์นวลมิ่ง
3.นางอุราวรรณอ่อนทอง
4. นางสาวอุบลรัตน์เมืองสง
5.พันจ่าเอกหญิงอมรรัตน์ ทวีตา

เขตพื้นที่บริการเทศบาลตำบลโคกม่วง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

20.00
2 ร้อยละหญิงฝากครรภ์สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

30.00

ธาตุเหล็กมีความสำคัญมากโดยเฉพาะในสตรีตั้งครรภ์ เนื่องจากธาตุเหล็กทำหน้าที่ช่วยส่งผ่านอ็อกซิเจนจากคุณแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ผ่านทางรกซึ่งออกซิเจนกว่า 60% ที่ส่งไปนั้น จะไปเลี้ยงสมองของทารกในครรภ์นั่นเอง เริ่มมีการสร้างรอยหยักในสมองตั้งแต่ช่วงอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ สมองจะพัฒนาส่วนที่ เกี่ยวข้องกับความจำและการเรียนรู้อย่างรวดเร็วและเมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ สมองทารกจะมีการสร้างโครงข่ายเส้นประสาท ซึ่งทั้งหมดนี้จะพัฒนายาวนานไปจนถึงอายุ 2 ปีหลังคลอด ซึ่งผลของภาวะโลหิตจางต่อมารดาจะทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้นมีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายและอาจจะเสียเลือดช่วงคลอดหรือหลังคลอดได้ ส่วนผลภาวะซีดต่อทารกอาจเกิดโรคซีดในเด็กได้ ทารกน้ำหนักน้อยกว่าปกติหรือโตช้าในครรภ์หากไม่ได้ธาตุเหล็กเสริมเด็กอาจมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตของสมองที่ช้ากว้่าเด็กปกติดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าธาตุเหล็กมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อพัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ สมองของทารกในครรภ์มีการพัฒนาอย่างชัดเจนในไตรมาสที่ 2 และ 3 โดยแนวทางการฝากครรภ์ในการฝากครรภืที่ไม่มีภาวะเสี่ยงครั้งที่ 1 ฝากครรภ์ครั้งแรก อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ (นัดตรวจครั้งต่อไปอีก 8 สัปดาห์) ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ 13 น้อยกว่า 20 สัปดาห์ (นัดตรวจครั้งต่อไปอีก 6 สัปดาห์) ครั้งที่ 3 อายุครรภ์ 20 น้อยกว่า 26 สัปดาห์ (นัดตรวจครั้งถัดไปอีก 6 สัปดาห์) ครั้งที่ 4 อายุครรภ์ 26 น้อยกว่า 32 สัปดาห์ (นัดตรวจครรภ์ครั้งต่อไปอีก 6 สัปดาห์) ครั้งที่ 5 อายุครรภ์ 32-40 สัปดาห์ (ในกรณที่ยังไม่คลอดบุตร นัดตรวจครั้งต่อไปทุก 1 สัปดาห์)จากข้อมูลของงานอนามัยแม่และเด็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในเขตเทศบาลตำบลโคกม่วง พบว่า ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัมจำนวน 3 ราย แนวทางการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาอนามัยแม่และเด็กคือ ต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ไม่เกิดภาวะซีด โดยจะมีการตรวจคัดกรอง ติดตามให้ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็งโดยทีมงานเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพและครอบครัวตำบลโคกม่วงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพจึงได้จัดทำโครงการโครงการป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ตำบลโคกม่วง ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของหญิงขณะตั้งครรภ์และเด็กในครรภ์

หญิงตั้งครรภ์และเด็กในครรภ์ไม่เกิดภาวะซีด ร้อยละ 90

90.00
2 เพื่อให้ทารกคลอดมามีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม

ทารกหลังคลอดมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
(มากกว่า 2,500 กรัม) ร้อยละ 90

90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/07/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมทีมงานเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพและครอบครัวตำบลโคกม่วงเพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบเขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติประสานชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ ฯ
ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กรกฎาคม 2566 ถึง 27 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทีมงานเครือข่ายฯร่วมกันคิดและเขียนโครงการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กจำนวน 1 โครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมค้นหาหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมค้นหาหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค้นหาหญิงตั้งครรภ์ โดยประเมินภาวะโลหิตจางหญิงตั้งครรภ์
- เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและอาสาสมัครสาธารณสุข จัดทำทะเบียนหญิงคืตั้งครรภ์ของกลุ่มเป้าหมาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กรกฎาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ได้จำนวนกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์โดยเร็ว -หญิงตั้งครรภ์ฝากท้องก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ อย่างน้อย 80 %

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดทำสื่อส่งเสริมความรู้ดูแลแก่หญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
จัดทำสื่อส่งเสริมความรู้ดูแลแก่หญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำเอกสารสื่อความรู้รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะซีดของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
- ค่าจัดทำเอกสารให้ความรู้ฯ เล่มละ 50 บาท จำนวน 30 เล่ม เป็นเงิน1,500บาท - ค่าไวนิล รณรงค์ ประชาสัมพันธ์การส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ จำนวน 2 ป้ายๆละ 500 บาทเป้นเงิน1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กรกฎาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้เอกสารสื่อความรู์ จำนวน 30 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 4 ออกติดตามเยี่ยมมหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
ออกติดตามเยี่ยมมหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทีมงานเครือข่ายฯที่รับผิดชอบหญิงตั้งครรภ์ลงพื้นที่เยี่ยมติดตามพร้อมประเมินภาวะซีดและสุขภาพอื่นของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ไข่ไก่จำนวน 30 ชุดๆละ 160บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กรกฎาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการดุแลสุขภาพของตัวเองและลูกในครรภ์เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ และรายงานผลโครงการแก่กองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานโครงการ และรายงานผลโครงการแก่กองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ร่วมกันประเมินผลโครงการ รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 กันยายน 2566 ถึง 13 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ดำเนินโครงการเสร็จสิ้น กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มแม่และเด็กได้รับบริการที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพ ไม่เกิดภาวะซีด ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ส่งผลให้มีสุขภาพดีทั้งแม่และลูก
2. ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักมากกว่า2,500 กรัม และเด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัย


>