กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสตำบลทุ่งตำเสา ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์โรคมะเร็งของไทย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ปี 2565 พบว่า หญิงไทย พบ เป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุด จำนวน 38,559 ราย รองลงมา คือ มะเร็งปากมดลูก จำนวน 12,956 ราย สำหรับโรคมะเร็งเต้านมส่วนมาก พบในหญิงอายุ 60 ปี ขึ้นไป มากที่สุดจำนวน 19,776 ราย รองลงมา คือ อายุ 50 – 59 ปี จำนวน 12,181 ราย และ อายุ 40 – 49 ปี จำนวน 5,177 ราย แสดงให้เห็นว่าโรคมะเร็งเต้านมเป็นภัยเงียบใกล้ตัว เนื่องจากในระยะแรกของการเป็นมะเร็งเต้านมจะไม่แสดงอาการ ไม่เจ็บ ไม่ปวด จะปรากฏอาการผิดปกติให้เห็นเมื่ออยู่ในระยะที่ก้อนมะเร็งมีการอักเสบ และลุกลามไปทั่วแล้ว ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก
กลุ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านมพบในหญิงที่มีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ หรือมีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน หรือเคยมีก้อนบริเวณเต้านม ที่ผลการตรวจพบว่าผิดปกติ หรือมีประจำเดือนครั้งแรก ก่อนอายุ 12 ปี หมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี หรือเคยรับการฉายรังสีบริเวณทรวงอกก่อนอายุ 30 ปี และผู้หญิงที่สูบบุหรี่จัด ดื่มเหล้า ไม่ออกกำลังกาย โดยพบว่าผู้ที่มีอายุ 15 – 49 ปี ที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 10 กิโลกรัม จะมีโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ในขณะที่ผู้ชายก็มีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านมได้ 1 ใน 100 ของผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม กรมอนามัยจึงแนะนำให้หญิงไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ควรเริ่มฝึกทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เป็นประจำทุกเดือน ซึ่งจะทำให้รู้ถึงสภาพที่เป็นปกติของเต้านม หากเกิดความผิดปกติของเต้านมจะสามารถพบได้ ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งเมื่อคลำพบก้อนที่โตระยะขนาด 2 – 5 เซนติเมตร อัตราการรอดชีวิตมีถึง ร้อยละ 75 – 90 แต่หากคลำพบก้อนขนาด 5 เซนติเมตรขึ้นไป อัตราการรอดมีเพียงร้อยละ 15 – 30 เท่านั้น (อ้างอิง https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/140366/)
การป้องกันมะเร็งเต้านม คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น ลดอาหารไขมัน และการป้องกันที่ดีที่สุด คือการตรวจพบให้เร็วที่สุด ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ซึ่งทำได้ ๒ วิธี คือ
๑) การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ซึ่งสามารถคลำพบก้อนที่โตประมาณ ๑ ซม. ขึ้นไปได้ หากตรวจพบในระยะ ๒-๕ ซม.อัตราการรอดชีวิตมีถึงร้อยละ ๙๐-๗๕หากคลำพบก้อนขนาด ๕ซม. ขึ้นไปอัตราการรอดชีวิตมีถึงร้อยละ ๑๕-๓๐ เท่านั้น
๒) การตรวจเต้านมด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) จะสามารถพบก้อนได้ตั้งแต่ขนาด ๒-๓ มม. ขึ้นไปหากพบในระยะนี้การรักษาจะหายเกือบ ๑๐๐ % เพราะมะเร็งมีขนาดเล็กมากยังไม่แพร่ไปที่อื่น แต่การเอ็กซเรย์เต้านมนั้นไม่อยู่ในสิทธิประโยชน์ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ข้อมูลงานทะเบียนราษฎร์เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา ณ มิถุนายน ๒๕๖๖ ตำบลทุ่งตำเสา มีประชากรกลุ่มเสี่ยงสตรี อายุตั้งแต่ ๓๐ ปีขึ้นไป จำนวน ๕,๖๙๒ ราย และข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทั้ง ๓ แห่งพบว่า มีสตรีในพื้นที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม จำนวน 000 ราย ร้อยละ 000 ของผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเต้านมและพบว่าตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๖๓ ถึง ๒๕๖๕ มีสตรีที่เข้ารับการอบรมทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองและคัดกรองจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ จำนวน 000, 111 และ 222 ราย ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าสตรีกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสาส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ประกอบกับมูลนิธิกาญจนบารมี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับเป็นองค์ประธานในการระดมทุนเพื่อจัดสร้างศูนย์บำบัดรักษาโรคมะเร็ง ภายใต้ชื่อ “โครงการกาญจนบารมีเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ปีพุทธศักราช ๒๕๓๙” (อ้างอิง : https://www.kanjanabaramee.org/aboutus/) มีแผนขบวนรถหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ นำหน่วยคัดกรองฯ ประกอบด้วยรถ 4 คัน ดังนี้ รถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ระบบสามมิติ รถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ระบบสองมิติ รถนิทรรศการโรคมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่ และรถตรวจมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่มาให้บริการกับประชาชนในภาคใต้
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จึงได้กำหนดจัดทำ “โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสตำบลทุ่งตำเสา ปีงบประมาณ ๒๕๖๖”ขึ้น เพื่อให้สตรีและกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมในพื้นที่ได้รับการสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ และให้สตรีกลุ่มเสี่ยงหรือด้อยโอกาสได้รับการตรวจเอกซเรย์เต้านมโดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) ทำให้การค้นหาผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ในพื้นที่ได้เข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสและประชาชนทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

-จำนวนสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสที่เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า ๘๐๐ คน -ร้อยละของสตรีกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการ

800.00 800.00
2 เพื่อส่งเสริมให้สตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสได้รับการประเมินปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม และได้รับการตรวจ เต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์

-  ร้อยละ ๑๐๐ ของสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสที่ตรวจพบก้อน ได้รับการตรวจเต้านมยืนยันโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ -  ร้อยละ ๑๐๐ ของสตรีกลุ่มเสี่ยงที่พบก้อนได้รับการตรวจยืนยันโดนเครื่องเอกซเรย์เต้านม (Mammogram)

0.00
3 เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที

-  ร้อยละ ๑๐๐ ของสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส ที่มีผลการตรวจมะเร็งเต้านมเป็นบวกได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาทันที

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 800
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/07/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงแนวงทาง และซักซ้อม การดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงแนวงทาง และซักซ้อม การดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมชี้แจงแนวทาง และซักซ้อม การดำเนินโครงการ เตรียมความพร้อมสำหรับจัดโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กรกฎาคม 2566 ถึง 20 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบขั้นตอนการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 2 มหกรรมตรวจคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
มหกรรมตรวจคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดมหกรรมตรวจคัดกรองค้นหาสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสด้วยแบบคัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม
-  ค่าสำเนาเอกสารแบบคัดกรองปัจจัยเสี่ยง จำนวน ๑,๐๐๐ ชุด (ชุดละ๒ บาท) -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเจ้าหน้าที่ (๒๕บาท๔มื้อ๗๐คน)
-  ค่าอาหารกลางวัน (๗๐บาท๒วัน๗๐คน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กรกฎาคม 2566 ถึง 28 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้จัดเตรียมเอกสาร เพื่อจัดมหกรรมตรวจคัดกรองค้นหาสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสด้วยแบบคัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18800.00

กิจกรรมที่ 3 จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ

ชื่อกิจกรรม
จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ และให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม พร้อมทั้งสาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และให้สตรีกลุ่มเสี่ยงฝึกตรวจเต้านมด้วยตนเองในแบบจำลองเต้านม
-  ค่าตกแต่งสถานที่สำหรับจัดทำพิธีกล่าวรายงานและถวายพระพร เพื่อเทิดพระเกียรติฯ -  ค่าป้ายเวที ขนาด ๘.๔๑๓.๓๗ เมตร จำนวน ๑ ผืน (150บาท/ตร.ม.) -  แผ่นพับ/แบบจำลองในการตรวจคัดกรอง -  สื่อ เรื่อง โรคมะเร็งเต้านม การคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเจ้าหน้าที่ (๒๕บาท๔มื้อ๒๕คน)
-  ค่าอาหารกลางวัน (๗๐บาท
๒วัน*๒๕คน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กรกฎาคม 2566 ถึง 28 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม พร้อมทั้งได้รู้ถึงการสาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และให้สตรีกลุ่มเสี่ยงฝึกตรวจเต้านมด้วยตนเองในแบบจำลองเต้านม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27260.00

กิจกรรมที่ 4 จัดบริการคัดกรองมะเร็งเต้านม

ชื่อกิจกรรม
จัดบริการคัดกรองมะเร็งเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดบริการคัดกรองมะเร็งเต้านม -  ค่าน้ำดื่ม สำหรับประชาชน (๑๒๕ แพ็ค๔๕บาท)
-  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเจ้าหน้าที่ (๒๕บาท
๔มื้อ๕๐คน)
-  ค่าอาหารกลางวัน (๗๐บาท
๒วัน๕๐คน) -  ค่าเช่าเก้าอี้ ๑๐บาท๕๐๐ตัว -  ค่าเช่าเครื่องเสียง วันละ ๑,๕๐๐ บาท๒จุด๒วัน
-  ค่าเช่าเต้นท์ ขนาด ๑๐*๖เมตร/หลัง จำนวน ๓ หลัง (๓,๐๐๐.-บาท/หลัง)

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กรกฎาคม 2566 ถึง 28 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับบริการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37625.00

กิจกรรมที่ 5 ส่งต่อสตรีกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ส่งต่อสตรีกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งต่อสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส เพื่อการรักษา
-  ค่าจ้างเหมายานพาหนะในการรับส่ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ส่งต่อสตรีกลุ่มเสี่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4565.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 89,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

(๑)สตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสและประชาชนทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
(๒)สตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสได้รับการประเมินปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม และได้รับการตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์
(๓)สตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส ได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที


>