กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสนับสนุนการดูแลสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ด้วยการแพทย์แผนไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ พบมากในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน ประเทศไทยพบผู้ป่วยมากกว่า 6 ล้านคน ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปพบได้ถึงร้อยละ 50 ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมาก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากน้ำหนักตัวที่มากใช้เข่ามาก ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม โรคจะดำเนินไปเรื่อยๆ ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมากๆ จะมีอาการเจ็บหรือปวด ข้อเข่าผิดรูปข้อฝืด หรือข้อติด เดินได้ไม่ปกติ การปฏิบัติภารกิจประจำวันต่างๆ ทำได้ไม่สะดวก ส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ หากประชาชนกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เริ่มมีอาการข้อเข่าเสื่อมมีความรู้ สามารถดูแลตนเองเพื่อชะลอความเสื่อม หรือบรรเทาอาการของข้อเข่าเสื่อม ก็จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว
โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่างโครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมและอาจมีความเสื่อมรุนแรงขึ้นตามลำดับข้อเข่าประกอบด้วย กระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง และกระดูกสะบ้า ยึดติดกันด้วยเส้นเอ็นซึ่งเป็นส่วนปลายของกล้ามเนื้อนับว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ข้อเข่าแข็งแรง ผิวสัมผัสของกระดูกอ่อนค่อนข้างหนาคลุมอยู่กระดูกอ่อนนี้มีลักษณะเรียบ มันวาว และผิวลื่น ทั้งนี้เพื่อรับแรงกระแทกที่เกิดขึ้นขณะมีการเคลื่อนไหวข้อ และทำให้รูปร่างกระดูกพอดีกัน ช่วยให้ข้อมั่นคงภายในข้อเข่ามีน้ำหล่อเลี้ยงช่วยให้การหล่อลื่นและถ่ายน้ำหนัก
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบ่อ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสนับสนุนการดูแลสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ด้วยการแพทย์แผนไทย เพื่อเป็นแนวทางให้เกิดความรู้ ความเข้าใจถึงภาวะและการดำเนินของโรค การดูแลตนเองเพื่อให้เกิดภาวะนี้ช้าลง แนวปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะของโรคนี้แล้วและให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ที่มีอาการปวดเข่าได้รับการดูแลรักษา และการปฏิบัติเกี่ยวกับอาการปวดเข่าได้อย่างถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดจากโรคข้อเข่าเสื่อม

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ ร้อยละ ๘๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 160
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 14/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคเรื้อรังในกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคเรื้อรังในกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่1 ม.1 วันที่ 15 ส.ค.66 จำนวน 40 คน
- ค่าถ่ายเอกสารคัดกรอง จำนวน40คน X 1บ. เป็นเงิน 40 บ. ม.5 วันที่ 16 ส.ค.66 จำนวน 40 คน
- ค่าถ่ายเอกสารคัดกรอง จำนวน40คน X 1บ. เป็นเงิน 40 บ. ม.6 วันที่ 17 ส.ค.66 จำนวน 40 คน - ค่าถ่ายเอกสารคัดกรอง จำนวน 40คน X 1บ. เป็นเงิน 40 บ. ม.12 วันที่ 18 ส.ค.66 จำนวน 40    - คน  ค่าถ่ายเอกสารคัดกรอง จำนวน40คน X 1บ. เป็นเงิน 40 บ. รวมเป็นเงิน 160 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2566 ถึง 18 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
160.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม การผสมสมุนไพรในพอกเข่า พร้อมสาธิตการพอกเข่าด้วยสมุนไพรและพอกเข่า ในกลุ่มอาการข้อเข่าเสื่อม (ทิ้งไว้ 30 นาที จำนวน 3 ครั้ง/สัปดาห์ นัดวันเว้นวัน) จำนวน 160 คน (แยกทำรายกลุ่มๆ ละ 4๐ คน)

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม การผสมสมุนไพรในพอกเข่า พร้อมสาธิตการพอกเข่าด้วยสมุนไพรและพอกเข่า ในกลุ่มอาการข้อเข่าเสื่อม (ทิ้งไว้ 30 นาที จำนวน 3 ครั้ง/สัปดาห์ นัดวันเว้นวัน) จำนวน 160 คน (แยกทำรายกลุ่มๆ ละ 4๐ คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าสมนาคุณวิทยากร
หมู่ที่ 1 วันที่ 21 สิงหาคม 2566  เวลา 09.00น. – 16.00น.
- ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บ.x 6 ชม. X 1 วัน เป็นเงิน 3,600บ.
หมู่ที่ 5 วันที่ 28 สิงหาคม 2566  เวลา 09.00น. – 16.00น. น. 


- ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บ.x 6 ชม. X 1 วัน เป็นเงิน 3,600บ.
หมู่ที่ 6 วันที่ 4 กันยายน 2566  เวลา 09.00น. - 16.00น. น.
- ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บ.x 6 ชม. X 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บ.
หมู่ที่ 12 วันที่ 11 กันยายน 2566  เวลา 09.00น. - 16.00น. น.
- ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บ.x 6 ชม. X 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บ.
    รวมเป็นเงิน 14,400 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
    หมู่ที่ 1
    วันที่ 21 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00- 16.00น.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บ.x40 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บ. วันที่ 23 สิงหาคม 2566
    เวลา 13.00 -16.30น.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บ.x40 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,000บ. วันที่ 25 สิงหาคม 2566
    เวลา 13.00 -16.30น.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บ.x40 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,000บ. หมู่ที่ 5 วันที่ 28 สิงหาคม 2566          เวลา 09.00- 16.00น.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บ.x40 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บ. วันที่ 30 สิงหาคม
    เวลา 13.00 -16.30น.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บ.x40 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,000บ. วันที่ 1 กันยายน 2566
    13.00 -16.30น.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บ.x40 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,000บ.

หมู่ที่ 6
วันที่ 4 กันยายน 2566 เวลา 09.00- 16.00น. - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บ.x40 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บ. วันที่ 6 กันยายน 2566
เวลา 13.00 -16.30 น.
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บ.x40 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บ. วันที่ 8 กันยายน 2566 เวลา 13.00 -16.30น.
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บ.x40 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,000บ. หมู่ที่ 12
วันที่ 11 กันยายน 2566           เวลา 09.00- 16.00น.
-  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บ.x40 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บ. วันที่ 13 กันยายน 2566           เวลา 13.00 -16.30น.
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บ.x40 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,000บ. วันที่ 15 กันยายน 2566
เวลา 13.00 -16.30น. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25บ.x40 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,000บ.     รวมเป็นเงิน 16,000บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน
    หมู่ที่ 1
    วันที่ 21 สิงหาคม 2566
  • ค่าอาหารกลางวัน 75 บ. X 40 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บ.
    หมู่ที่ 5
    วันที่ 28 สิงหาคม 2566
  • ค่าอาหารกลางวัน 75 บ. X 40 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน3,000 บ.
    หมู่ที่ 6
    วันที่ 4 กันยายน 2566
  • ค่าอาหารกลางวัน 75 บ. X 40 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บ.
    หมู่ที่ 12
    วันที่ 11 กันยายน 2566
  • ค่าอาหารกลางวัน 75 บ. X 40 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน3,000 บ.
    รวมเป็นเงิน 12,000บาท

  • ค่าวัสดุและสมุนไพร พอกเข่า
                          เป็นเงิน ๖,๐๐๐ บ.

  • ค่าไวนิลป้ายโครงการ ขนาด 1.๒ x 2.4 เมตร  1 ป้าย                           เป็นเงิน  600 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 สิงหาคม 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับความรู้เรื่องข้อเข่าเสื่อม และได้รับการพอกเข่าด้วยสมุนไพร เพื่อลดอาการของข้อเข่าเสื่อม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
49000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,160.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมมีทางเลือกในการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้สะดวกมากขึ้น
ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมได้รับการพอกเข่าด้วยสมุนไพรและมีอาการปวดลดลง


>