กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ภูเขาทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพจิตด้วยดนตรีบำบัดในผู้สูงอายุบ้านภูเขาทอง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ภูเขาทอง

กลุ่มดนตรีบำบัดผู้สูงอายุบ้านภูเขาทอง(พิณพาเพลิน)

1. นายศักรินทร์จันทร์หอม
2. นายคำภาจำปาศิริ
3. นางบุญทันอังคณา
4. นางนิตยาล้อมพิมาย
5. นางแสงอรุณจันทร์หอม

หมู่ 2 บ้านภูเขาทอง ต. ภูเขาทอง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันและในอนาคต ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่มีจำนวนเพิ่มมากชึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ทำให้ประชาชนมีอายุยืนยาวขึ้น แต่มิได้หมายถึง ประชากรผู้สูงอายุมีสุขภาพดีขึ้น ผู้สูงอายุยังได้รับผลกระทบจาการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรัง เช่นโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งโรคหัวใจและหลอดเลือดฯ จึงนำไปสู่ภาวะถดถอยของร่างกายเกิดภาวะพึ่งพิง ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุจึงเป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพอย่างเหมาะสม ซึ่งนับว่าเป็นภารกิจที่สำคัญสำหรับ ครอบครัว ชุมชน ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานต่างๆที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ผู้สูงอายุมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ ชราอย่างมีความสุข การส่งเสริมการเล่นดนตรีในผู้สูงอายุ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ ดนตรีช่วยเสริมสร้างสมาธิ และความทรงจำ ช่วยพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจ อารมณ์และศักยภาพสมองให้กับผู้สูงอายุ ช่วยกระตุ้นความจำ และป้องกันโรคความจำเสื่อม อีกทั้งดนตรียังเป็นสื่อกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ในกลุ่มผู้ที่เล่นดนตรีด้วยกัน ทำให้มีความสุข สนุกสนาน เบิกบาน ไม่เหงา ไม่ซึมเศร้า และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อยอดของกลุ่ม หลังพ้นวิกฤติ โรค COVIT-19 เพื่อให้สมาชิกได้รวมกลุ่มเล่นดนตรีและร้องเพลง ในทุกวันศุกร์
กอปร์กับ กลุ่มดนตรีบำบัดผู้สูงอายุ บ้านภูเขาทอง หมู่ที่ ๒ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส (วงพินพาเพลิน) นำโดยนายศักรินทร์ จันทร์หอม และนายคำภา จำปาศิริ ก่อตั้งวงดนตรีผู้สูงอายุขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ชื่อวงว่า “วงพิณพาเพลิน” ได้ชักชวนผู้สนใจเล่นดนตรีและร้องเพลง ให้มารวมกลุ่มกันจัดกิจกรรมเพื่อแก้เหงาและอนุรักษ์วัฒนธรรม และบำบัดทางภาวะจิตใจ จนมีสมาชิกมาร่วมมากขึ้น ทั้งนี้ยังได้รับการว่าจ้างให้ไปแสดงงานต่างๆ หลายแห่ง เช่น ไปเดี่ยวพิณขบวนแห่ ของอำเภอ งานผู้สูงอายุในอำเภอต่างๆ งานลอยกระทง รวมทั้งงานกาชาด จังหวัดนราธิวาส งานวัฒนธรรมที่อำเภอตากใบ งานรำเซิ้งบั้งไฟประจำปีที่ตำบลภูเขาทอง ฯลฯ ปัจจุบันเป็นศูนย์รวมของสมาชิกกลุ่มที่มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม จำนวน๒๐ คน จึงได้ทำโครงการเพื่อให้
กลุ่มได้รับการสนับสนุนให้จัดกิจกรรมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้เล่นดนตรี ร้องเพลง และได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์มาเล่นดนตรี และร้องเพลง เพื่อสุขภาพ กายและจิต 2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีสมรรถภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ที่ดีและเหมาะสม 3.เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะการเล่นดนตรีการอนุรักษ์ดนตรีไทย ให้กับเด็กและเยาวชน 4.เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกันในกลุ่มผู้สูงอายุาวชน

1.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเล่นดนตรี และการขับร้องเพลงเพิ่มขึ้น  2.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสมรรถภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ที่ดีและเหมาะสม    3.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะในการเล่นดนตรีและขับร้องเพลงเพิ่มขึ้น  4.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสุขในการได้พบปะเพื่อนผู้สูงอายุ รุ่นราวคราวเดียวกัน

8.00 8.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการสร้างเสริมสุขขภาพจิตด้วยคนตรีบำบัดในผู้สูงอายุบ้านภูเขาทอง

ชื่อกิจกรรม
โครงการสร้างเสริมสุขขภาพจิตด้วยคนตรีบำบัดในผู้สูงอายุบ้านภูเขาทอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลภูเขาทอง      2.แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน      3.ประชุมคณะกรรมการ/คณะทำงาน      4.จัดเตรียมบุคลากร อุปกรณ์ สถานที่ วันเวลา ตลอดจนรับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ      5.ดำเนินงานตามกิจกรรมในโครงการ          - ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลและสุขภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ โดยประสานกับหน่วยงานสาธารณสุขและ อสม. ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อคัดกรองหาผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ ทั้ง ๘ หมู่บ้าน          - โดยดำเนินการซักซ้อมดนตรีและฝึกขับร้องเพลงสัปดาห์ ละ ๓ วัน ตั้งแต่ เวลา 17.00 – 20.00 น.      6.บันทึกจำนวนผู้มาเข้าร่วมกิจกรรมทุกวันที่มีกิจกรรม
   7.ประเมินผลก่อน-หลัง ดำเนินโครงการโดยการประเมินสุขภาพด้านร่างกาย จิตใจ หมายเหตุ รายงานผลการประเมินสุขภาพด้านร่างกายทุก 2 เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และทักษะการเล่นดนตรีเป็นสื่อในการสร้างสุขภาพ 2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสุขและมีสุขภาพร่างกายและจิตใจแข็งแรงขึ้น 3.ผู้สูงอายุเกิดการรวมกลุ่มกันจัดทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10275.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,275.00 บาท

หมายเหตุ :
-

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และทักษะการเล่นดนตรีเป็นสื่อในการสร้างสุขภาพ ร้อยละ 100
2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสุขและมีสุขภาพร่างกายและจิตใจแข็งแรงขึ้น ร้อยละ100
3.ผู้สูงอายุเกิดการรวมกลุ่มกันจัดทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและชุมชนร้อยละ100


>