กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา

1.นางมุทิตา คุดเขียนสืบ (0993493216)
2.นางบรรจง จงรักษ์(ผู้ประสานงานคนที่2)0874787147
3. นางสาวนงนุช สาล่าห์(0616863467)
4.นางบีล๊ะ หวันสมัน (0620518680)
5. นางสาว อาอึฉ๊ะ รายา ผู้ประสานงานคนที่1(0894648011)

หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป
จากข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอละงู ปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-2 มิถุนายน 2566 พบรายงานผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 241 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 350.25 ต่อแสนประชากร มีผู้เสียชีวิต จำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 2.91 และสถานการณ์ในพื้นที่ตำบลกำแพง โดยสถานการณ์ไข้เลือดออกในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา อัตราป่วยในปี 2566 มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 7 ราย ข้อมูล ณ วันที่ 1 ม.ค. - 6 ก.ค. ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเด็กนักเรียน ในช่วงอายุ 10-14 ปี รองลงมา 5-9 ปี และ 15-24 ปี ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในช่วง เดือน เมษายน – กันยายน ของทุกปีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นชุมชนอาจยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก อีกทั้งการเข้าถึงการควบคุมโรคยังล่าช้า เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องมือในการป้องกันโรคยังไม่เพียงพอ ยังต้องรอเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ เข้ามาป้องกันควบคุม ในชุมชนเองยังไม่สามารถดำเนินการป้องกันควบคุมโรคได้ทำให้เกิดความล่าช้าในการป้องกันควบคุมโรค ส่งผลให้เกิดการระบาดโรคไข้เลือดอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น ทางอาสาสมัครสาธารณสุข ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกจึงต้องมีการกระตุ้นให้ชุมชนโรงเรียนได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็น
อยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  1. อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

2.คณะทำงาน ทีมเฝ้าระวัง มีแผนงานและมีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

3.ร้อยละ 90 ประชาชนในเขตพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

4.ร้อยละ 80 ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และ ค่า CI = 0

33.26 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,804
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งคณะทำงานทีมเคลื่อนที่เร็วในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งคณะทำงานทีมเคลื่อนที่เร็วในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 จัดตั้งคณะทำงานทีมป้องกัน ควบคุม เคลื่อนที่เร็วในชุมชน 1 ทีม

  • ประชุมคัดเลือกคณะทำงานและแต่งตั้งคณะกรรมการ

  • แบ่งครัวเรือนในความรับผิดชอบให้คณะกรรมการแต่ละคน

  • ชี้แจงรายละเอียดการทำงานภาระงานที่ได้รับมอบหมาย

  • จัดตั้งกลุ่มไลน์ของคณะทำงานเพื่อติดต่อประสานงาน และเก็บรวบรวมข้อมูลในการทำโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

  • อสม. จำนวน 16 คน

งบประมาณ

  • ไม่ใช้งบประมาณ

1.2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 3 ครั้ง

รายละเอียดกิจกรรม

  • ประชุมครั้งที่ 1 เดือนมกราคม 2567 รายงานผลการปฏิบัติงานครั้งที่ 1 สอบถามข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขในการปฏิบัติงานครั้งต่อไป
  • ประชุมครั้งที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2567 รายงานผลการปฏิบัติงานครั้งที่ 2 สรุปกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วและยังไม่ดำเนินการ สอบถามข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขในการปฏิบัติงานครั้งต่อไป
  • ประชุมครั้งที่ 3 เดือนสิงหาคม 2567 สรุปกิจกรรมโครงการทั้งหมด

กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 18 คน

  • คณะทำงาน จำนวน 16 คน

  • ที่ปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ อปท. จำนวน 2 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 18 คนคนๆละ 3 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,350 บาท
  • ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับคณะทำงาน จำนวน 16 คนๆละ 3 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 9,600 บาท รวมเป็นเงิน 10,950 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10950.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุม/ชี้แจง

ชื่อกิจกรรม
ประชุม/ชี้แจง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการทำงานการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก จำนวน 1 ครั้ง

  • ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้แก่แกนนำหมู่บ้านและแกนนำครอบครัวทราบวิธีการปฏิบัติงานของชุดคณะทำงานเคลื่อนที่เร็วในชุมชน ในการปฏิบัติการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

  • จัดตั้งกลุ่มไลน์แกนนำครอบครัวในความรับผิดชอบของคณะทำงานแต่ละคนเพื่อรวบรวมข้อมูลแต่ละครัวเรือนและใช้ในการให้ความรู้ คำแนะนำในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

เป้าหมาย จำนวน 36 คน

  • แกนนำหมู่บ้าน จำนวน 4 คน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน, สมาชิกสภา, ผู้นำศาสนา และตัวแทนบุคลากรโรงเรียน

  • แกนนำครอบครัว จำนวน 32 คน (เขตรับผิดชอบรับละ 2 คน)

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมและคณะทำงาน จำนวน 52 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท

  • ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับคณะทำงาน จำนวน 16 คนๆละ 1 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท

รวมเป็นเงิน 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 3 การนำเทคโนโลยีมาประยุกค์ใช้ในการติดต่อประสานงาน

ชื่อกิจกรรม
การนำเทคโนโลยีมาประยุกค์ใช้ในการติดต่อประสานงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • สร้างกลุ่มไลน์ หรือเฟสบุ๊ค เพื่อรายงานสถานการณ์การระบาดของโรค การป้องกันควบคุมโรค
  1. สร้างกลุ่มไลน์ประสานกับเขตบ้านที่รับผิดชอบ

  2. สร้างกลุ่มไลน์ประสานงานระหว่างคณะทำงานในทีม

  3. สร้างกลุ่มไลน์ประสานงานคณะทำงานทั้งตำบลรวมถึงเจ้าหน้าที่ ที่ปรึกษาโครงการ

เป้าหมาย

  • คณะทำงาน จำนวน 16 คน

  • ครัวเรือนที่รับผิดชอบ 511 ครัวเรือน

  • เจ้าที่สาธารณสุขและ อปท.

งบประมาณ

  • ไม่ใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สร้างผลิตภัณฑ์ไล่ยุง

ชื่อกิจกรรม
สร้างผลิตภัณฑ์ไล่ยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไล่ยุง

  • คณะทำงานศึกษาการทำผลิตภัณฑ์ไล่ยุง จากสูตรในอินเตอร์เน็ต

  • คณะทำงานร่วมกันจัดทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไล่ยุง/สเปรย์ไล่ยุง

  • นำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแจกจ่ายให้กับชุมชน/ผู้ที่มีความเสี่ยง

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงในครัวเรือนจำนวน 511 ครัวเรือน

งบประมาณ

  • ค่าน้ำมันยูคาลิบตัส 2 ขวดๆละ 1,000 บาทเป็นเงิน 2,000 บาท

  • ค่ามะนาว 20 กิโลกรัมๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท

  • ค่าขวดสเปย์ ขนาด 50 ml จำนวน 11 แพคๆละ 350 บาท (แพคละ 50 ขวด) เป็นเงิน 3,850 บาท

  • ค่าตอบแทนคณะทำงาน จำนวน 16 คนๆละ 1 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท

รวมเป็นเงิน 10,650 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10650.00

กิจกรรมที่ 5 ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เรื่อง โรคไข้เลือดออก มาตรการการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยคณะทำงาน

รายละเอียดกิจกรรม

  • ให้ความรู้กับประชาชน ในเรื่องปัจจัยที่ก่อให้เกิดการป่วย โดยการจัดการบ้านเรือนของตนเองไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และวิธีการปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าจะป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก อาจจะทำได้หลายช่องทาง
  1. การจัดทำป้ายไวนิลให้ความรู้

  2. การประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหอกระจายข่าวหมู่บ้าน

  3. ทางโรงเรียน โดยการให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ไปถ่ายทอด และไปปฏิบัติที่บ้าน

  4. แจกเอกสาร เช่น แผ่นพับ คู่มืออ

กลุ่มเป้าหมาย

  • ประชากร 511 ครัวเรือน จำนวน 1,804 คน

  • โรงเรียน ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา

งบประมาณ

  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร เป็นเงิน 432 บาท จำนวน 2 ป้าย เป็นเงิน 864 บาท

  • ค่าเอกสาร/แผ่นพับให้ความรู้ เป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน 1,864 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1864.00

กิจกรรมที่ 6 สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI

ชื่อกิจกรรม
สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI โดยคณะทำงาน

  • ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โดยคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก พร้อมสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI ในหมู่บ้าน ประเมิน 2 เดือนครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน

กลุ่มเป้าหมาย

  • คณะทำงาน 16 คน ดำเนินงานควบคุมป้องกัน 511 ครัวเรือน ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา

งบประมาณ

  • ค่าแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย จำนวน 16 คนละ 32 ชุดๆละ 2 บาท เป็นเงิน 1,024 บาท

  • ค่าตอบแทนคณะทำงาน จำนวน 16 คนๆละ 3 ครั้งๆละ 120 บาท เป็นเงิน 5,760 บาท

รวมเป็นเงิน 6,784 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6784.00

กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมควบคุม ป้องกัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมควบคุม ป้องกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกกรณีเกิดการระบาด โดยการลงพื้นที่เคลื่อนที่เร็ว พ่นหมอกควัน กำจัดยุงลายและใส่ทรายอะเบททำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

  • จัดซื้อเคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ กระเป๋าเคลื่อนที่เร็วที่ใช้ในการกำจัดยุงลายและลูกน้ำยุงลาย โดยจัดกระเป๋าทั้ง 16 ใบตามจำนวนคณะทำงาน ในกระเป๋า 1 ใบ ประกอบไปด้วย
  1. สเปร์ไล่ยุง 2 กระป๋อง
  2. ไฟฉ่าย 1 กระบอก
  3. ถุงมือ 1 กล่อง
  4. หน้ากากอนามัย 1 กล่อง
  5. แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย 5 ชุด (สำรองเอกสารตามครัวเรือนที่รับผิดชอบ)
  6. แบบรายงานสอบสวนโรค 5 ชุด (สำรองเอกสารตามครัวเรือนที่รับผิดชอบ)
  7. ทรายอะเบท

- รับรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ตำบลกำแพงจากศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลกำแพงและลงดำเนินการสอบสวนโรคให้ความรู้คำแนะนำ พร้อมควบคุมป้องกันโรคภายใน 24 ชั่วโมง โดยคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับหมู่บ้าน

  • ใช้สารเคมีพ่นในบ้านและบริเวณบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย 2 ครั้ง ภายใน 7 วันเพื่อควบคุมการระบาดของโรค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดยุงที่มีเชื้อไข้เลือดออกให้หมดไปเร็วที่สุด

เป้าหมาย

  • คณะทำงาน 16 คน ดำเนินงานควบคุมป้องกัน 511 ครัวเรือน ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา คณะทำงาน 1 คน รับผิดชอบดูแลป้องกันควบคุม ประมาณ 32 ครัวเรือน

งบประมาณ

  • สเปรย์ไล่ยุง จำนวน 32 กระป๋องๆละ 136 บาท เป็นเงิน 4,352 บาท

  • ไฟฉาย จำนวน 16 กระบอกๆละ 200 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท

  • ถุงมือ จำนวน 16 กล่องๆละ 200 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท

  • หน้ากากอนามัย จำนวน 16 กล่องๆละ 100 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท

  • กระเป๋า จำนวน 16 ใบๆละ 250 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

  • ค่าแบบรายงานสอบสวนโรค จำนวน 16 คนละ 32 ชุด เป็นเงิน 1,344 บาท

  • ค่าตอบแทนในการป้องกันควบคุมโรค จำนวน 16 ครั้งๆละ 1 คนๆละ 120 บาท เป็นเงิน 1,920 บาท

รวมเป็นเงิน 19,616 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19616.00

กิจกรรมที่ 8 ประชุมถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมถอดบทเรียน ติดตาม ประเมินผลการดเนินงาน ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 1 ครั้ง

เป้าหมาย จำนวน 54 คน

  • คณะทำงาน จำนวน 16 คน

  • แกนนำหมู่บ้าน จำนวน 4 คน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน, สมาชิกสภา, ผู้นำศาสนา และตัวแทนบุคลากรโรงเรียน

  • แกนนำครอบครัว จำนวน 32 คน (เขตรับผิดรับละ 2 คน)

  • เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ อปท. จำนวน 2 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงานฯและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 54 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,350 บาท

  • ค่าเอกสาร, แฟ้มใส่เอกสาร,สมุด,ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 600 บาท

รวมเป็นเงิน 1,950 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1950.00

กิจกรรมที่ 9 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

รายละเอียดกิจกรรม

  • รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  • จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 57,314.00 บาท

หมายเหตุ :
#ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ตามความเป็นจริง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถลดอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
2. มีคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน
3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออก และให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในหมู่บ้าน/โรงเรียน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
5. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลายได้


>