กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การอาบน้ำศพผู้เสียชีวิตตามหลักวิถีมุสลิมเพื่อเฝ้าระวังป้องกันการแพร่กระจายการติดเชื้อโรคในชุมชน ต.ตันหยงลุโละ ปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การอาบน้ำศพผู้เสียชีวิตตามหลักวิถีมุสลิมเพื่อเฝ้าระวังป้องกันการแพร่กระจายการติดเชื้อโรคในชุมชน ต.ตันหยงลุโละ ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุต.ตันหยงลุโละ

ตำบลตันหยงลุโละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วิถีการดำเนินชีวิตของชาวมุสลิมในพื้นที่ที่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อแบบฉบับอิสลามนั้น ที่ให้ความสำคัญกับหลักปฏิบัติต่างๆของมนุษย์ทุกคนซึ่งใช้ตำราหรือธรรมนูญสูงสุด นั้นคือคัมภีร์อัลกรุอ่าน มาใช้ในชีวิตประจำวัน การเสียชีวิตของมนุษย์หนึ่งคนนั้นก็จะมีหลักปฏิบัติที่ได้บัญญัติในอัลกุรอ่านนั้น มีวัตถุประสงค์ต้องการให้ผู้เสียชีวิตได้ไปสู่สุขคตินั้น ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ลักษณะศพผู้เสียชีวิต เช่น กรณีศพเสียชีวิตที่มีสาเหตุการตายจากโรคติดต่อร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคเอดส์ โรคโควิท และโรคติดต่อจากสารคัดหลั่ง เช่น เลือดน้ำเหลืองน้ำลาย หรือกรณีประสบอุบัติเหตุต่างๆ เป็นต้น และทีมงานหรือผู้จัดการศพ จะมีขั้นตอนในการจัดการศพที่เริ่มต้นด้วย การอาบน้ำศพ การห่อศพ การละหมาดศพ และขั้นตอนสุดท้ายคือการขุดหลุมเพื่อฝั่งศพ รวมไปถึงเครื่องมืออุปกรณ์การป้องกันต่างๆที่ใช้ในการจัดการศพ เช่น ถุงมือ น้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น ฉะนั้นจำเป็นจะต้องมีความรู้ด้านการป้องกันตนเองจากการสัมผัสศพ การปราศจากเชื้อโรค การป้องกันการติดต่อแพร่กระจายของเชื้อโรคระหว่างคนสู่คน มีความปลอดภัย จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง เช่น ทักษะการอาบน้ำละหมาดศพที่อาจต้องสัมผัสโดยตรงกับศพ ทักษะการห่อศพที่ต้องมีความพิถีพิถันในเรื่องความสะอาด เพราะลักษณะสภาพของศพผู้เสียชีวิตที่ผู้ปฏิบัติได้สัมผัสนั้นจะต้องปฏิบัติตามแล้วแต่กรณีศพนั้นๆ ดังนั้นชมรมผู้สูงอายุตำบลตันหยงลุโละได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้ความรู้ความเข้าใจในหลักการจัดการศพเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการสาธารณสุข ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการทำงานที่ถูกสุขอนามัย ป้องกันการติดเชื้อจากการสัมผัสศพที่ไม่คาดคิดส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีความเข้าใจในงานการจัดการศพที่เพียงพอต่อการบริการในพื้นที่ให้งานในการจัดการศพ มีความพึงพอใจและมีความสุขทั้งผู้บริการจัดการศพและญาติของผู้ที่เสียชีวิต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ญาติและทีมงานผู้จัดการศพในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ และการฝังศพได้อย่างถูกต้อง ตามหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

50.00 20.00
2 เพื่อเฝ้าระวังป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคสู่คน

สามารถเฝ้าระวังการจัดการศพไม่ให้มีการแพร่กระจายเชื้อโรคสู่คน ร้อยละ 100

20.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/08/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.รับสมัครผู้สนใจอาสาสมัครผู้จัดการศพผู้เสียชีวิต

ชื่อกิจกรรม
1.รับสมัครผู้สนใจอาสาสมัครผู้จัดการศพผู้เสียชีวิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 25 บาท x 6 คน x  1 มื้อ = 150 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 สิงหาคม 2566 ถึง 14 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ประชุมชี้แจง เพื่อจัดทำโครงการ
         - เปิดรับสมัครกลุ่มเป้าหมายผู้ที่สนใจ ทีมงานผู้จัดการศพ
         - จัดทำแผนงานโครงการเสนอ เพื่อขออนุมัติ/สนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
150.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และทักษะต่างๆในเรื่อง บทบาทมุสลิมเกี่ยวกับการจัดการศพผู้เสียชีวิตก่อนฝัง

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และทักษะต่างๆในเรื่อง บทบาทมุสลิมเกี่ยวกับการจัดการศพผู้เสียชีวิตก่อนฝัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 บาท x 30 คน x 1 มื้อ = 1,500  บาท     - ค่าอาหารว่าง จำนวน 25 บาท x 30 คน x  2 มื้อ = 1500 บาท     - ค่าสมนาคุณทีมวิทยากร จำนวน 2 คน x 6 ชม. x 600 บาท = 7,200  บ.    - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ผืน = 750 บาท    - ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม/สาธิต จำนวนเงิน = 1,000 บาท รวมเงิน 11,950 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
14 สิงหาคม 2566 ถึง 18 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • การอบรมให้ความรู้โดยการบรรยายเรื่องบทบาทหน้าที่ของมุสลิมในชุมชนที่เกี่ยวกับการจัดการศพผู้เสียชีวิต       - การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมอุปกรณ์ ขั้นตอนการอาบน้ำศพ การห่อศพ และการฝังศพตามวิถีมุสลิมและหลักศาสนา ที่ตรงตามหลักสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11950.00

กิจกรรมที่ 3 จัดตั้งชมรมผู้จัดการศพระดับตำบล

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งชมรมผู้จัดการศพระดับตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 25 บาท x 30 คน x  1 มื้อ = 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 สิงหาคม 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ขั้นการสรุปการดำเนินงาน      -  จัดตั้งชมรมผู้จัดการศพระดับตำบล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ทำให้ญาติหรือผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดการศพในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ และการฝังศพที่ถูกต้องตามวิถีมุสลิมและหลักศาสนาอิสลาม และได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
2.ทำให้ญาติหรือผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดการศพในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันโรคติดต่อในการจัดการศพ ตามหลักสุขลักษณะสามารถป้องกันการแพร่เชื้อที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการศพ


>