กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หน้าถ้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองป้องกันโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หน้าถ้ำ

ชมรมอสม.ตำบลหน้าถ้ำ

1. นางอารี สุวรรณโพธิ์
2.นางลาตีพ๊ะ อะแซ
3. นางยารีเยาะ มะแอลีมา
4. นางณัฐวรรณ ทองดี
5 .นางโนรี ดือราแม

ต.หน้าถ้ำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่พบอัตราการป่วยและตายเพิ่มมากขึ้น และเป็นปัญหาที่คุกคามสุขภาพของสตรีไทย เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นโรคที่เป็นแล้วจะทำให้เกิดอาการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เป็นสาเหตุอันดับต้นๆของการป่วยและตายของสตรีไทย ทั้งท

 

80.00

โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบอัตราการป่วยและตายเพิ่มมากขึ้น และเป็นปัญหาที่คุกคามสุขภาพของสตรีไทย เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นโรคที่เป็นแล้วจะทำให้เกิดอาการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เป็นสาเหตุอันดับต้นๆของการป่วยและตายของสตรีไทย ทั้งที่โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม สามารถตรวจพบได้ ตั้งแต่ระยะแรกและรักษาให้หายขาดได้ แต่ส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในระยะลุกลามแล้ว ซึ่งยากต่อการรักษา ทำให้อัตราการป่วยและตายด้วยโรคมะเร็งในสตรีไทยสูงขึ้น
จากข้อมูลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหน้าถ้ำ ปี 2565พบว่า สตรีอายุ 30 – 60 ปี เป้าหมาย 649 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 165 คน คิดเป็นร้อยละ 25.42 และสตรีอายุ 30 - 70 ปี เป้าหมาย 805 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม 748 คน คิดเป็นร้อยละ 92.92 ปัจจุบันสตรีจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้ในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลหน้าถ้ำได้รับมอบหมายงานจาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหน้าถ้ำ ให้ช่วยรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ชาวบ้าน ได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อีกทั้งให้เน้นย้ำในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพมากกว่าการรักษา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนให้เข้าถึงบริการโดยทั่วกัน
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีที่มีอายุ 30 – 70 ปี มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

สตรีที่มีอายุ 30 – 70 ปี มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

30.00 30.00
2 . เพื่อให้สตรีที่มีอายุ 30 – 70 ปี สามารถตรวจคัดกรองเต้านมด้วยตนเองได้

สตรีที่มีอายุ 30 – 70 ปี สามารถตรวจคัดกรองเต้านมด้วยตนเองได้

30.00 30.00
3 เพื่อให้สตรีที่มีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

สตรีที่มีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

30.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่สตรี อายุ 30 -70 ปี

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่สตรี อายุ 30 -70 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ                 1. จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ
                2. จัดเตรียมข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย                3. จัดเตรียมความพร้อมด้านสถานที่สำหรับการอบรม
    ขั้นดำเนินการ                   1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม.และแกนนำชุมชน
                  2. จัดอบรมให้ความรู้แก่สตรีอายุ 30 – 70 ปี        กิจกรรม 1.  จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม.และแม่อาสา  จำนวน 40 คน 2.  จัดอบรมให้ความรู้แก่สตรี อายุ 30 -70 ปี        จำนวน 30 คน 3.  ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
5. งบประมาณ     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหน้าถ้ำ จำนวน 8,200 บาท  (แปดพันสองร้อยบาทถ้วน) รายละเอียด  ดังนี้
1.  จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม.และแกนนำชุมชน  จำนวน  40  คน     - จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 180 x 80 ซม.                       เป็นเงิน        500   บาท     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 40 คน X 35  บาท x 1 มื้อ          เป็นเงิน     1,400  บาท 2. จัดอบรมให้ความรู้แก่สตรี อายุ 30 -70 ปี  จำนวน 30 คน    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คน X 35  บาท x 2 มื้อ          เป็นเงิน     2,100  บาท    - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน  30 คน X 80  บาท                            เป็นเงิน      2,400  บาท    - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน x 6 ชั่วโมงๆละ 300 บาท           เป็นเงิน     1,800  บาท                                                     รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,200 บาท  (แปดพันสองร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อาสาสมัครสาธารณสุข สามารถจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้มากขึ้น
  2. สตรีอายุ 30 – 60 ปี  รับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกมากกว่าร้อยละ 60
  3. สามารถวินิจฉัยโรคได้ในระยะเริ่มแรกเพื่อจะได้รักษาและช่วยชีวิตผู้ป่วยได้
  4. สตรีอายุ 30 – 70 ปี สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมได้ด้วยตนเอง
  5. หากมีการตอบรับโครงการที่ดี  สามารถนำโครงการนี้มาดำเนินการในปีต่อๆไป  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย  ได้รับบริการครอบคลุมทั้งตำบล
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อาสาสมัครสาธารณสุข สามารถจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้มากขึ้น
2. สตรีอายุ 30 – 60 ปีรับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกมากกว่าร้อยละ 60
3. สามารถวินิจฉัยโรคได้ในระยะเริ่มแรกเพื่อจะได้รักษาและช่วยชีวิตผู้ป่วยได้
4. สตรีอายุ 30 – 70 ปี สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมได้ด้วยตนเอง
5. หากมีการตอบรับโครงการที่ดีสามารถนำโครงการนี้มาดำเนินการในปีต่อๆไปเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการครอบคลุมทั้งตำบล


>