กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมอนามัยแม่และเด็ก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สงเปือย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย

นายบุญทศประจำถิ่น
นางดรรชนีเขียนนอก
นางสาวสุวรรณีภูมูล

พร.สต.สงเปือย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่งต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต เด็กต้องได้รับการพัฒนาคุณภาพให้สมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และคุณธรรม เพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมจะนำพาประเทศไปสู่การแข่งขันจากคุณลักษณะดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสติปัญญาและอารมณ์เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญ ซึ่งกลุ่มที่สมควรได้รับการเสริมสร้างและพัฒนา คือเด็กปฐมวัย ซึ่งจะอยู่ในการดูแลของครู ผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครอง ดังนั้นครู ผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองจึงต้องมีความรู้ ความสามารถในการเสริมสร้างและพัฒนาเด็ก ทั้งทางด้านสติปัญญา (IQ) และอารมณ์ (EQ) ให้กับเด็กตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อปูพื้นฐานที่อบอุ่น อบอวลด้วยไอรักและอบรมกล่อมเกลาให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ไอคิว (IQ) หรือ Intelligence Quotient คือ ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา ซึ่งรวมไปถึงการคิด การเชื่อมโยง การใช้เหตุผล การคำนวณ สามารถวัดออกมาเป็นค่าสัดส่วนตัวเลขที่แน่นอนด้วยแบบทดสอบทางสติปัญญา ระดับของไอคิวปกติอยู่ใน ช่วง ๙๐-๑๐๐ คนที่มีระดับไอคิวสูงจะเป็นคนเก่งมีสมองรับรู้ว่องไว เรียนหนังสือเก่ง พ่อแม่ทุกคนจึงปรารถนาให้ลูกมีไอคิวสูง แม้ศักยภาพทางสมองนั้นเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ไม่ง่ายนัก แต่พ่อแม่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาสมองให้ลูกได้ การจัดการศึกษาปฐมวัยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง และผู้ใกล้ชิดเด็กเป็นผู้ช่วยเหลือให้เด็กมีพัฒนาการและความพร้อมอย่างเหมาะสม เนื่องจาก ช่วงวัยนี้เด็กยังต้องอยู่ในการดูแลของผู้ปกครอง ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่สมอง และพัฒนาการพื้นฐานด้านร่างกายต้องได้รับการเตรียมความพร้อมอย่างถูกต้องและครบถ้วน โดยจะต้องมีการส่งเสริมเด็กทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงเปือย ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสงเปือย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก เพื่อพัฒนาศักยภาพอสม.ในการดูแล กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด เด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมเด็กปฐมวัยไทยเติบโตเต็มศักยภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการขับเคลื่อนตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วม ของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่นระดับตำบล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

๑.เพื่อให้อสม.มีความรู้เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด เด็กปฐมวัยตามกลไก มหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน
๒.เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน
3.เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย มีการเจริญ เติบโต และมีพัฒนาการ สมวัย สูงดีสมส่วน
4.เพื่อขับเคลื่อนตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>