กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
1. สร้างการสื่อสารในช่องทางต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ ที่สอดคล้องกับวัยและวิถีการทำงานของกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องสุขภาพจิต การส่งเสริมสุขภาพจิต การคัดกรองเบื้องต้นทางสุขภาพจิต การรับคำปรึกษา เช่น เสียงตามสายส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน วิทยุท้องถิ่น คลิปสั้น
2. เผยแพร่ช่องทางการเข้าถึงแหล่งช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตให้ทุกคนเข้าถึงได้
3. เสริมทักษะการตรวจเช็คตัวเองด้านสุขภาพจิต ทักษะการจัดการความเครียด การให้คำปรึกษา การเสริมพลังสุขภาพจิต
4. รณรงค์ลดการใช้แอลกอฮอล์และสารออกฤทธิ์ทางประสาทที่เป็นอันตรายในชุมชน
5. การให้ความรู้ครอบครัว ชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพจิตคู่ชีวิต และลูกหลาน การป้องกันการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ในผู้หญิงและเด็ก
6. ให้ความรู้ครูในการส่งเสริมสุขภาพจิต การงดใช้ความรุนแรงในโรงเรียนทุกรูปแบบ ทั้งการทำโทษ การทะเลาะเบาะแว้งในกลุ่มนักเรียน
7. พัฒนาเนื้อหาในหลักสูตรของโรงเรียน ในการฝึกทักษะชีวิตและบูรณาการพลังสุขภาพจิตในหลักสูตรของโรงเรียน
8. เพิ่มกิจกรรมและการเรียนรู้แก่ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลเพื่อป้องกันและจัดการภาวะสมองเสื่อม
stars
แนวทางดำเนินงาน : การเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาศักยภาพชุมชนในการเก็บข้อมูล ใช้ข้อมูล วางแผน พัฒนาโครงการเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต
2. ค้นหาผู้ที่มีความผิดปกติทางสุขภาพจิตและให้การช่วยเหลือตั้งแต่เนิ่นๆ ได้แก่ ความเครียด ความสุข พลังสุขภาพจิต การเบื่อหน่ายหมดไฟ โรคซึมเศร้า การเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
3. เสริมความตระหนักความเข้าใจทางด้านสุขภาพจิตเพื่อลดการตีตราและการ เลือกปฏิบัติต่อบุคคลและครอบครัวที่มีความผิดปกติทางจิต
4. ส่งเสริมและเพิ่มโอกาสในการเข้าสังคมแก่ผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต
5. เน้นการเสริมพลังชุมชนให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต การดูแลเบื้องต้น และ การส่งต่อในเครือข่าย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างสภาพแวดล้อมเอื้อที่ต่อสุขภาพจิต
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดที่พักผ่อนในหน่วยงาน สถานประกอบการ และในชุมชน
2. จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตในหน่วยงาน สถานประกอบการ และในชุมชน เช่น การจัดแข่งกีฬา การจัดงานสังสรรค์วันปีใหม่ การจัดงานประเพณีสงกรานต์ การจัดเต้นลีลาศเพื่อสุขภาพ การจัดร้องเพลงคาราโอเกะ
3. ใช้ศิลปะ ดนตรี เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต เช่น ดนตรีในสวน ศิลปะในสวน นิทรรศการศิลปะเพื่อสุขภาพจิต
4. นำโปรแกรมการส่งเสริมและดูแลสุขภาพจิตไปใช้ในที่ทำงาน ทำให้เกิดองค์กรแห่งความสุข
5. ลดการใช้สารเคมี เพื่อป้องกันการเป็นพิษต่อระบบประสาท การทำร้ายตัวเอง และการฆ่าตัวตาย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. กำหนดข้อตกลงร่วมกันในชุมชนในการไม่ล้อเลียนหรือตีตราผู้มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต
2. กำหนดนโยบายองค์กรเอกชนและในชุมชน ให้มีระบบการให้คำปรึกษา การส่งต่อช่วยเหลือผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิต และการสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อสุขภาพจิตที่ดี เช่น ห้องพักผ่อน ห้องน้ำชาในที่ทำงาน ห้อง ออกกำลังกาย สวนพักผ่อน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การปรับระบบ กลไก และกระบวนการ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาแกนนำในชุมชน เพื่อถ่ายทอดและเป็นผู้นำเรื่องสุขภาพจิต การให้คำปรึกษา ทักษะเบื้องต้นในการดูแลผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิต การคัดกรองการเจ็บป่วยทางจิตและการส่งต่อที่เหมาะสม
2. การเปิดสายด่วนให้คำปรึกษาเมื่อมีเรื่องไม่สบายใจโดยอาสาสมัคร พยาบาลเกษียณ สำหรับประชาชนทั่วไปที่ต้องการคำปรึกษา
3. สร้างเครือข่าย องค์กร หน่วยงานต้นแบบให้มีความสามารถในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพจิต
4. เปลี่ยนระบบการดูแลสุขภาพจิตจากเชิงสถาบันเป็นพื้นที่ของชุมชน เน้นการเสริมพลังชุมชนให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต การดูแลเบื้องต้น และการส่งต่อในเครือข่าย
5. พัฒนาระบบการส่งต่อปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน ระบบการฝึกการช่วยเหลือเบื้องต้นผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิตสำหรับอาสาสมัคร ระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินสำหรับ อสม., รพ.สต. ระบบการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต ทั้งออนไลน์และออนไซต์
6. พัฒนาระบบ เพื่อนช่วยเพื่อน สำหรับเยาวชน 16-25 ปี ในการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและยาเสพติด ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต แหล่งการให้การช่วยเหลือ และส่งต่อ
7. จัดตั้งเครือข่ายสุขภาพจิตภาคประชาชนและองค์กรต่างๆในชุมชนในการให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต
8. พัฒนาเครือข่ายสุขภาพจิตในชุมชน ให้สถาบันวิชาการบูรณาการร่วมมือกับสถาบัน ให้บริการทางสุขภาพจิต สนับสนุนการทำงานด้านสุขภาพจิตสำหรับหน่วยงาน ในท้องถิ่น เช่น รพ.สต. หน่วยงานบริการสุขภาพของท้องถิ่น อปท.
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 1 มุ่งเป้าลดการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสของผู้ใช้รถใช้ถนน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ลดพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกกลุ่ม (เมา หมวกนิรภัย เข็มขัดนิรภัย เบาะนิรภัยเด็ก มือถือ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอื่น ไม่มีใบขับขี่ ขับเร็ว หลับใน) ด้วยการเพิ่มจำนวนด่าน และให้ความรู้
1.1 เพิ่มการตรวจจับหรือจุดตั้งด่านตรวจจับผู้ใช้รถใช้ถนนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน (เช่น ดื่มแล้วขับ ใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอื่น ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่ใช้เบาะนิรภัยสาหรับเด็กและที่นั่งพิเศษสาหรับเด็ก ใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ขับเร็ว หลับใน)
1.2 กำกับดูแลผู้ขับขี่รถสาธารณะให้มีความพร้อมทางสภาพร่างกายก่อนและระหว่างการขับขี่
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของยานพาหนะ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จักรยานยนต์ปลอดภัย ด้วยการติดตั้ง ABS ตรวจสอบมาตรฐานหมวกนิรภัย และให้ความรู้การใช้รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย
1.1 ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับมาตรฐานรถจักรยานยนต์ รวมถึงการเลือกซื้อและการใช้รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและการเดินทางที่ยั่งยืน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ถนนปลอดภัย
1.1 เพิ่มมาตรการชะลอความเร็วในพื้นที่ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.2 ตรวจประเมินถนน ดำเนินมาตรการเชิงแก้ไข (Road side hazard) โดยปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพในจุดที่เคยเกิดอุบัติเหตุซึ่งเป็นพื้นที่ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. เพิ่มการเดินทางที่ยั่งยืน
2.1 ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อลดการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนารากฐานโครงสร้างการทำงาน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาการตอบสนองหลังเกิดอุบัติเหตุมีประสิทธิภาพและครอบคลุม
1.1 เพิ่มความครอบคลุมของการทำประกันภัยภาคบังคับตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
1.2 ลดเวลาตอบสนองหลังเกิดเหตุ (response time) ด้วยเบอร์ฉุกเฉิน
1.3 เพิ่มความครอบคลุมของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลในทุกตำบล
1.4 กำหนดแนวปฏิบัติที่ดีในสถานการณ์ฉุกเฉินทางถนนสำหรับผู้ขับรถสาธารณะ
2. เพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการทำงานด้านความปลอดภัยทางถนนแบบสหสาขา
2.1 มีการจัดประชุม ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ศปถ.อปท.) ในลักษณะการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน ไตรมาสละ 1 ครั้ง
2.2 มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยทางถนน