กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1. ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

 

4,513.00

สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกและของประเทศไทย ทั้งใน มิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม โดยเฉพาะสถานการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม จึงส่งผลให้เกิด การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพ เช่น ภาวะอ้วน ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ระดับไขมันในเลือดสูง และระดับ ความดันโลหิตสูง นำไปสู่อาการของโรคที่รุนแรงขึ้น อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ซึ่งส่วนสำคัญ ในการจัดการปัญหาสุขภาพดังกล่าวคือการพัฒนาระบบบริการของสถานบริการสาธารณสุขเพื่อจัดการ โรคไม่ติดต่อให้มีคุณภาพ และมีการดำเนินงานที่ครอบคลุมเข้าถึงผู้รับบริการ ทั้งนี้เครือข่ายสุขภาพและชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่ออีกด้วยจากการตรวจคัดกรองความเสี่ยงประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป (คัดกรองความดันโลหิตสูง)2563-2565 พบว่าในพื้นที่ตำบลท่าบอน ประชากร 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวาน 3,665 3,637 และ3587 คน คิดเป็นร้อยละ 99, 97และ93% พบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ปี2563-2565 จำนวน 51,47และ29 ราย
ประชากร 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง ปีพ.ศ.2563-2565จำนวน 3,016 3,044และ2,927 ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 99,97และ92 พบผู้ป่วย ความดัน รายใหม่84,124และ78 รายจะเห็นได้ว่า มีจำนวนกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี จากการใช้ชีวิตประจำวันที่ที่เร่งรีบ สะดวกสบาย รับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม ยังขาดการตระหนักในการในการปฏิบัติตัว จึงทำให้ประชาชนกลุ่มปกติเปลี่ยนเป็นกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มเสี่ยงเปลี่ยนเป็นกลุ่มป่วยมากขึ้นตามลำดับ และนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิต และโรคเบาหวานต่อไปและนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิต และโรคเบาหวานต่อไป
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพื่อประเมินภาวะสุขภาพ และถ้าเป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวานความดันโลหิตสูง เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป 4,513 คน (ไม่รวมผู้ป่วย)ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
  1. ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  2. ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับการจัดบริการเสริมทักษะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยง ร้อยละ 80
4513.00 4513.00
2 เพื่อให้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป(ไม่รวมผู้ป่วย) กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานซ้ำ
  1. เพื่อให้ผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาตามแนวทางที่กำหนด ร้อยละ 100
  2. อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง น้อยกว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยทั้งหมด
100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4,513
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมการจัดหาเครื่องมือในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมการจัดหาเครื่องมือในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1  ซื้อครุภัณฑ์ เครื่องวัดความดันโลหิต  จำนวน 33 เครื่อง   เครื่องละ 2,740 บาท                                                                                  รวมเป็นเงิน 90,420 บาท           1.2 ซื้อเข็มเจาะน้ำตาล (200 ชิ้น/กล่อง) จำนวน 19 กล่อง   กล่องละ 891 บาท                                                                                         รวมเป็นเงิน 16,929 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
107349.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1  แบบบันทึกการคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน
จำนวน 4,513 ชุด ชุดละ 2 บาท                          รวมเป็นเงิน  9,026 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง  ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ของประชากรกลุ่มเป้าหมาย
  2. ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับการจัดบริการเสริมทักษะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยง ร้อยละ 80
  3. เพื่อให้ผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาตามแนวทางที่กำหนด ร้อยละ 100
  4. อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง น้อยกว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยทั้งหมด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9026.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 116,375.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม มีสุขภาพดี อัตราการเกิดโรคเรื้อรังลดลง


>