กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม. ใกล้บ้านใกล้ใจ สูงวัยสุขภาพดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะออก

ประธานชมรม อสม. ตำบลรือเสาะออก

นางคอรีเป๊าะ ดอเลาะ ประธานชมรม อสม. หมู่ที่ 1
นายสะรี เปาะแซยือไร ประธานชมรม อสม. หมู่ที่ 2
นางสาวอานี ดือราแม ประธานชมรม อสม. หมู่ที่ 3
นางซากียะ สะอิ ประธานชมรม อสม. หมู่ที่ 4
นายกิริยา ตะละมะ ประธานชมรม อสม. หมู่ที่ 5

ตำบลรือเสาะออก อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อสม. มีบทบาทในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเชิงรุกอย่างเป็นระบบสอดคล้องกับกระทรวงสาธารณสุขที่ได้ประกาศนโยบายให้เป็นปีแห่งสุขภาพสูงวัยไทยตลอดปี พ.ศ. 2566 รวมทั้งกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ตระหนักเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จึงได้พัฒนาระบบการคัดกรองผู้สูงอายุในชุมชนผ่านแอปพลิเคชั่น “Smart อสม.” ให้บริการภายใต้นโยบาย 3 หมอ ดังนี้ (หมอคนที่1)ให้บริการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ในความรับผิดชอบ 9 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความคิดความจำ ด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย ด้านการขาดสารอาหาร ด้านการมองเห็น ด้านการได้ยิน ด้านภาวะซึมเศร้า ด้านการกลั้นปัสสาวะ ด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และด้านสุขภาพช่องปาก พร้อมบันทึกข้อมูลผลการคัดกรองสุขภาพของผู้สูงอายุในแอปพลิเคชัน “ Smart อสม.” หากพบความผิดปกติจะทำการส่งต่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข (หมอคนที่2) ทำการคัดกรองเชิงลึก หากพบว่าผิดปกติ ดำเนินการส่งต่อหมอเวชปฏิบัติ (หมอคนที่3) เพื่อทำแผนการดูแลรายบุคคลต้อไป ส่วนผู้สูงอายุที่ไม่พบความผิดปกติ อสม.จะให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันและส่งเสริมในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยตนเอง นอกจากนี้แล้ว อสม. ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะต้องเข้ารับการคัดกรองสุขภาพด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในการดูแลสุขภาพของตนเองให้แก่ประชาชน ซึ่งจะเห็นได้ว่า อสม. มีบาทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการดูแลผู้อายุในชุมชน สำหรับพื้นที่ตำบลรือเสาะออก พบว่า มีประชากรทั้งหมด 8,892 คน โดยมีผู้สูงอายุจำนวน 1,174 คน คิดเป็นร้อยละ 13.20 ทั้งนี้ จากข้อมูลการคัดกรองความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พบว่า ส่วนใหญ่เป็นผูสูงอายุกลุ่มติดสังคม รองลงมาเป็นกลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง ตามลำดับ ทั้งนี้ อสม. ในพื้นที่จำเป็นต้องดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ผู้สูงอายุ เช่น การคัดกรองผู้สูงอายุในชุมชนผ่านแอปพลิเคชัน “Smart อสม.” ให้บริการภายใต้นโยบาย 3 หมอ เพื่อดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุทุกกลุ่มต่อไป ดั้งนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขต อบต.รือเสาะออก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงจัดโครงการ อสม. ใกล้บ้านใกล้ใจ สูงวัยสุขภาพดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อให้ผู้สูงอายุทุกกลุ่มวัยในตำบลรือเสาะออกได้รับการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม และเข้าถึงที่มีคุณภาพ อสม. มีความมั่นใจในการปฏิบัติงานมากขึ้น รวมทั้งผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพได้รับการดูแลตามความเหมาะสม เช่น ภาวะสุขภาพ 9 ด้าน ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถนำข้อมูลด้านสุขภาพดังกล่าวมาวางแผนในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และเพิ่มทักษะของ อสม. ในการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน

ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และเพิ่มทักษะของ อสม. ในการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน ร้อยละ 70

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุในพื้นที่เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ

ผู้สูงอายุในพื้นที่เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ร้อยละ 70

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 1,174
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่ อสม. ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ อสม. ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 30 คน x 1 วัน  เป็นเงิน 1,500 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ x 30 คน x 1 วัน เป็นเงิน 1, 500 บาท ค่าวิทยากร 600 บาท x 5 ชั่วโมง x 1 คน x 1 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท
ค่ากระเป๋า 1 ใบ 90 บาท x 30 คน เป็นเงิน 2,700 บาท ค่าเอกสารประกอบการอบรม 50 บาท x 30 คน x 1 ชุด เป็นเงิน 1,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้านในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้านในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 40 คน x 3 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ x 40 คน x 3 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท ค่าวิทยากร 600 บาท x 1 ชั่วโมง x 1 คน x 3 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 13,800

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13800.00

กิจกรรมที่ 3 เยี่ยมเสริมพลังผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมเสริมพลังผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 1 มื้อ x 30 คน เป็นเงิน 750 บาท ค่าชุดดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 525 บาท x 10 ชุด เป็นเงิน 5,250 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุได้รับการประเมินและส่งเสริมสุขภาพ 9 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความคิด ความจำ ด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย ด้านการขาดสารอาหาร ด้านการมองเห็น ด้านการได้ยิน ด้านภาวะซึมเศร้า ด้านการกลั้นปัสสาวะ ด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และด้านสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่สอดคล้องตามปัญหาด้านสุขภาพตามความเหมาะสม


>