กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงและอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปี 2566 ตำบล ตำนาน

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงและอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปี 2566 ตำบล ตำนาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

รพ.สต.บ้านโตระ

หมู่บ้านในความรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านโตระ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

28.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

22.00

สภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากปัญหาการเจ็บป่วยของประชาชนในปัจจุบันมีแนวโน้มการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจกการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่การไม่ออกกำลังกาย และทานผัก ผลไม้ไม่เพียงพอ กินอาหารที่มีไขมันสูง อาหารหวานจัด เค็มจัด ทำให้เพิ่มความเสียงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งโรคเหล่านี้เมื่อเกิดการเจ็บป่วยจำเป็นต้องรักษา ด้วยการรับประทานยา เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ให้ความสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพแล้วก็ตามแต่ก็ยังพบว่ามีโรคที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพที่อาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย และจากการที่มีพฤติกรรมทางสุขภาพที่ยังไม่เหมาะสม โดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งพบว่าเป็นโรคที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัว เนื่องจากเป็นโรคที่ต้องใช้ระยะเวลาในการดูแลรักษายาวนาน และค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ หากได้รับการตรวจคัดกรอและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทางสุขภาพที่เหมาะสม และในกลุ่มที่มีภาวะของโรคหากได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก็สามารถ ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสูข จากรายงานกิจกรรมสาธารณสุขจำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนานมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก ดังนั้น รพ.สต.บ้านโตระดำเนินงานเน้นนโยบายเชิงรุก เร่งการป้องกันโรคโดยใช้เครือข่ายระหว่าง รพ.สต.กับอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านเพราะการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคที่เกิดจากพฤติกรรมของประชาชน จะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่องยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

28.00 25.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

22.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/08/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนที่มีความเสี่ยง โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุในการเจาะหาค่าน้ำตาลในเลือด ( ประกอบด้วย ชุดแถบตรวจน้ำตาล visa chek ( 50 แผ่น/ กล่อง) จำนวน 2000 ชิ้น เข็มเจาะเลือด accu chek safe T-pro UNO (200 ชิ้น/กล่อง) จำนวน 2000 ชิ้น ) พร้อม เครื่องตรวจน้ำตาล viva chek จำนวน 2 เครื่อง  รวมเป็น 2000 ชุด ๆละ 16 บาท   เป็นเงิน 32000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต / ผลลัพธ์
มีวัสดุ อุปกรณ์ในการใช้ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนที่มีความเสี่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / โรคความดันโลหิดสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / โรคความดันโลหิดสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / โรคความดันโลหิดสูงโดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้ ค่าตอบแทน - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 1800 บาท
ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน ๆละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาทรวมเป็นเงิน 2500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กันยายน 2566 ถึง 12 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต / ผลลัพธ์
มีกลุ่มเสี่ยงได้รับอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / โรคความดันโลหิดสูงจำนวน 100 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,300.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองและสามารถรู้ว่าตัวเองอยู่ในกลุ่ม ปกติกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มป่วย
2. ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงรายใหม่และลดภาวะโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ
3. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงเกิดความตระหนักและสนใจใตการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น
4. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่ป่วยเป็นโรคได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรค


>