กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน
กลุ่มคน
1. นางนพรัตน์ แบนกอย เบอร์โทร 0630644031
2. นางสุนีย์ สันหลี เบอร์โทร 0897389428
3. นางสุดารัตน์ หวันสู เบอร์โทร 0816272860
4. นางสุมาลี หมายซ่อนกลาง
5. นางฉาเราะ ปากบารา
3.
หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป จากข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอละงู ปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-2 มิถุนายน 2566 พบรายงานผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 241 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 350.25 ต่อแสนประชากร มีผู้เสียชีวิต จำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 2.91 และสถานการณ์ในพื้นที่ตำบลกำแพง โดยสถานการณ์ไข้เลือดออกในพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน อัตราป่วยในปี 2566 มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 11 ราย ข้อมูล ณ วันที่ 1 ม.ค. - 6 ก.ค. ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเด็กนักเรียน ในช่วงอายุ 10-14 ปี รองลงมา 5-9 ปี และ 15-24 ปี ตามลำดับการระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในช่วง เดือน เมษายน – กันยายน ของทุกปีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นชุมชนอาจยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก อีกทั้งการเข้าถึงการควบคุมโรคยังล่าช้า เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องมือในการป้องกันโรคยังไม่เพียงพอ ยังต้องรอเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ เข้ามาป้องกันควบคุม ในชุมชนเองยังไม่สามารถดำเนินการป้องกันควบคุมโรคได้ทำให้เกิดความล่าช้าในการป้องกันควบคุมโรค ส่งผลให้เกิดการระบาดโรคไข้เลือดอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น ทางอาสาสมัครสาธารณสุข ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกจึงต้องมีการกระตุ้นให้ชุมชนโรงเรียนได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกได้

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
    ตัวชี้วัด : 1. อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร 2. คณะทำงาน ทีมเฝ้าระวัง มีแผนงานและมีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก 3. ร้อยละ 90 ประชาชนในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม 4. ร้อยละ 80 ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และ ค่า CI = 0
    ขนาดปัญหา 65.77 เป้าหมาย 80.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. จัดตั้งคณะทำงานทีมเคลื่อนที่เร็วในชุมชน
    รายละเอียด

    1.1 จัดตั้งคณะทำงานทีมป้องกัน ควบคุม เคลื่อนที่เร็วในชุมชน 1 ทีม

    - ประชุมคัดเลือกคณะทำงานและแต่งตั้งคณะกรรมการ

    • แบ่งครัวเรือนในความรับผิดชอบให้คณะกรรมการแต่ละคน

    • ชี้แจงรายละเอียดการทำงานภาระงานที่ได้รับมอบหมาย

    • จัดตั้งกลุ่มไลน์ของคณะทำงานเพื่อติดต่อประสานงาน และเก็บรวบรวมข้อมูลในการทำโครงการ

    กลุ่มเป้าหมาย

    • อสม. จำนวน 14 คน

    งบประมาณ

    • ไม่ใช้งบประมาณ


    1.2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 3 ครั้ง

    รายละเอียดกิจกรรม

    • ประชุมครั้งที่ 1 เดือนมกราคม 2567 รายงานผลการปฏิบัติงานครั้งที่ 1 สอบถามข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขในการปฏิบัติงานครั้งต่อไป
    • ประชุมครั้งที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2567 รายงานผลการปฏิบัติงานครั้งที่ 2 สรุปกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วและยังไม่ดำเนินการ สอบถามข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขในการปฏิบัติงานครั้งต่อไป
    • ประชุมครั้งที่ 3 เดือนสิงหาคม 2567 สรุปกิจกรรมโครงการทั้งหมด

    กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 16 คน

    • คณะทำงาน จำนวน 14 คน

    • ที่ปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ อปท. จำนวน 2 คน

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 16 คนคนๆละ 3 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
    • ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับคณะทำงาน จำนวน 14 คนๆละ 3 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท

      รวมเป็นเงิน 9,600 บาท
    งบประมาณ 9,600.00 บาท
  • 2. ประชุม/ชี้แจง
    รายละเอียด

    ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการทำงานการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก จำนวน 1 ครั้ง

    • ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้แก่แกนนำหมู่บ้านและแกนนำครอบครัวทราบวิธีการปฏิบัติงานของชุดคณะทำงานเคลื่อนที่เร็วในชุมชน ในการปฏิบัติการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

    • จัดตั้งกลุ่มไลน์แกนนำครอบครัวในความรับผิดชอบของคณะทำงานแต่ละคนเพื่อรวบรวมข้อมูลแต่ละครัวเรือนและใช้ในการให้ความรู้ คำแนะนำในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

    เป้าหมาย จำนวน 32 คน

    • แกนนำหมู่บ้าน จำนวน 4 คน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน, สมาชิกสภา, ผู้นำศาสนา และตัวแทนบุคลากรโรงเรียน

    • แกนนำครอบครัว จำนวน 28 คน (เขตรับผิดชอบรับละ 2 คน)

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมและคณะทำงาน จำนวน 46 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,150 บาท
    • ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับคณะทำงาน จำนวน 14 คนๆละ 1 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท

    รวมเป็นเงิน 3,950 บาท

    งบประมาณ 3,950.00 บาท
  • 3. การนำเทคโนโลยีมาประยุกค์ใช้ในการติดต่อประสานงาน
    รายละเอียด
    • สร้างกลุ่มไลน์ หรือเฟสบุ๊ค เพื่อรายงานสถานการณ์การระบาดของโรค การป้องกันควบคุมโรค
    1. สร้างกลุ่มไลน์ประสานกับเขตบ้านที่รับผิดชอบ

    2. สร้างกลุ่มไลน์ประสานงานระหว่างคณะทำงานในทีม

    3. สร้างกลุ่มไลน์ประสานงานคณะทำงานทั้งตำบลรวมถึงเจ้าหน้าที่ ที่ปรึกษาโครงการ

    เป้าหมาย
    - คณะทำงาน จำนวน 14 คน

    • ครัวเรือนที่รับผิดชอบ 735 ครัวเรือน

    • เจ้าที่สาธารณสุขและ อปท.

    งบประมาณ

    • ไม่ใช้งบประมาณ
    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 4. สร้างผลิตภัณฑ์ไล่ยุง
    รายละเอียด

    จัดทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไล่ยุง

    • คณะทำงานศึกษาการทำผลิตภัณฑ์ไล่ยุง จากสูตรในอินเตอร์เน็ต

    • คณะทำงานร่วมกันจัดทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไล่ยุง/สเปรย์ไล่ยุง

    • นำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแจกจ่ายให้กับชุมชน/ผู้ที่มีความเสี่ยง

    กลุ่มเป้าหมาย

    • ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงในครัวเรือนจำนวน 735 ครัวเรือน

    งบประมาณ

    • ค่าน้ำมันยูคาลิบตัส 2 ขวดๆละ 1,000 บาทเป็นเงิน 2,000 บาท
    • ค่ามะนาว 25 กิโลกรัมๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
    • ค่าขวดสเปย์ ขนาด 50 ml จำนวน 15 แพคๆละ 350 บาท (แพคละ 50 ขวด) เป็นเงิน 5,250 บาท
    • ค่าตอบแทนคณะทำงาน จำนวน 14 คนๆละ 1 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท

    รวมเป็นเงิน 12,050 บาท

    งบประมาณ 12,050.00 บาท
  • 5. ประชาสัมพันธ์
    รายละเอียด
    • ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เรื่อง โรคไข้เลือดออก มาตรการการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยคณะทำงาน

    • ให้ความรู้กับประชาชน ในเรื่องปัจจัยที่ก่อให้เกิดการป่วย โดยการจัดการบ้านเรือนของตนเองไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และวิธีการปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าจะป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก อาจจะทำได้หลายช่องทาง

    1. การจัดทำป้ายไวนิลให้ความรู้

    2. การประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหอกระจายข่าวหมู่บ้าน

    3. ทางโรงเรียน โดยการให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ไปถ่ายทอด และไปปฏิบัติที่บ้าน

    4. แจกเอกสาร เช่น แผ่นพับ คู่มือ

    กลุ่มเป้าหมาย

    • ประชากร 735 ครัวเรือน จำนวน 2,007 คน

    • โรงเรียน ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน

    งบประมาณ

    • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร เป็นเงิน 432 บาท จำนวน 2 ป้าย เป็นเงิน 864 บาท

    • ค่าเอกสาร/แผ่นพับให้ความรู้ เป็นเงิน 1,000 บาท

    รวมเป็นเงิน 1,864 บาท

    งบประมาณ 1,864.00 บาท
  • 6. สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI
    รายละเอียด

    ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI โดยคณะทำงาน

    • ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โดยคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก พร้อมสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI ในหมู่บ้าน ประเมิน 2 เดือนครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน

    กลุ่มเป้าหมาย

    • คณะทำงาน 14 คน ดำเนินงานควบคุมป้องกัน 735 ครัวเรือน ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน

    งบประมาณ

    • ค่าแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย จำนวน 14 คนละ 53 ชุดๆละ 2 บาท เป็นเงิน 1,484 บาท

    • ค่าตอบแทนคณะทำงาน จำนวน 14 คนๆละ 3 ครั้งๆละ 120 บาท เป็นเงิน 5,040 บาท

    รวมเป็นเงิน 6,524 บาท

    งบประมาณ 6,524.00 บาท
  • 7. กิจกรรมควบคุม ป้องกัน
    รายละเอียด

    ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกกรณีเกิดการระบาด โดยการลงพื้นที่เคลื่อนที่เร็ว พ่นหมอกควัน กำจัดยุงลายและใส่ทรายอะเบททำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

    • จัดซื้อเคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ กระเป๋าเคลื่อนที่เร็วที่ใช้ในการกำจัดยุงลายและลูกน้ำยุงลาย โดยจัดกระเป๋าทั้ง 14 ใบตามจำนวนคณะทำงาน ในกระเป๋า 1 ใบ ประกอบไปด้วย
    1. สเปร์ไล่ยุง 2 กระป๋อง
    2. ไฟฉ่าย 1 กระบอก
    3. ถุงมือ 1 กล่อง
    4. หน้ากากอนามัย 1 กล่อง
    5. แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย 5 ชุด (สำรองเอกสารตามครัวเรือนที่รับผิดชอบ)
    6. แบบรายงานสอบสวนโรค 5 ชุด (สำรองเอกสารตามครัวเรือนที่รับผิดชอบ)
    7. ทรายอะเบท
    • รับรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ตำบลกำแพงจากศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลกำแพงและลงดำเนินการสอบสวนโรคให้ความรู้คำแนะนำ พร้อมควบคุมป้องกันโรคภายใน 24 ชั่วโมง โดยคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับหมู่บ้าน

    • ใช้สารเคมีพ่นในบ้านและบริเวณบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย 2 ครั้ง ภายใน 7 วันเพื่อควบคุมการระบาดของโรค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดยุงที่มีเชื้อไข้เลือดออกให้หมดไปเร็วที่สุด

    เป้าหมาย

    • คณะทำงาน 14 คน ดำเนินงานควบคุมป้องกัน 735 ครัวเรือน ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน คณะทำงาน 1 คน รับผิดชอบดูแลป้องกันควบคุม ประมาณ 53 ครัวเรือน

    งบประมาณ

    • สเปรย์ไล่ยุง จำนวน 28 กระป๋องๆละ 136 บาท เป็นเงิน 3,808 บาท

    • ไฟฉาย จำนวน 14 กระบอกๆละ 200 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท

    • ถุงมือ จำนวน 14 กล่องๆละ 200 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท

    • หน้ากากอนามัย จำนวน 14 กล่องๆละ 100 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท

    • กระเป๋า จำนวน 14 ใบๆละ 250 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท

    • ค่าแบบรายงานสอบสวนโรค จำนวน 14 คนละ 53 ชุดๆละ 3 บาท เป็นเงิน 2,226 บาท

    • ค่าตอบแทนในการป้องกันควบคุมโรค จำนวน 14 ครั้งๆละ 1 คนๆละ 120 บาท เป็นเงิน 1,680 บาท

    รวมเป็นเงิน 18,214 บาท

    งบประมาณ 18,214.00 บาท
  • 8. ประชุมถอดบทเรียน
    รายละเอียด
    • ประชุมถอดบทเรียน ติดตาม ประเมินผลการดเนินงาน ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 1 ครั้ง

    เป้าหมาย จำนวน 50 คน

    • คณะทำงาน จำนวน 14 คน

    • แกนนำหมู่บ้าน จำนวน 4 คน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน, สมาชิกสภา, ผู้นำศาสนา และตัวแทนบุคลากรโรงเรียน

    • แกนนำครอบครัว จำนวน 28 คน (เขตรับผิดรับละ 2 คน)

    • เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ อปท. จำนวน 2 คน

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงานฯและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท

    • ค่าเอกสาร, แฟ้มใส่เอกสาร,สมุด,ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 600 บาท

    รวมเป็นเงิน 1,850 บาท

    งบประมาณ 1,850.00 บาท
  • 9. รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    2. จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

    งบประมาณ

    • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

    #ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ตามความเป็นจริง

    งบประมาณ 1,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 21 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 55,052.00 บาท

หมายเหตุ : #ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ตามความเป็นจริง

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. สามารถลดอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  2. มีคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน
  3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออก และให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในหมู่บ้าน/โรงเรียน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
  5. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลายได้
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 55,052.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................